วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบการเปลี่ยนแปลงและรายละเอียดของกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้
2.เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริงต่อการบริหาร - การจัดการงานต่างๆ ในองค์กร
3.เพื่อให้ทราบและเป็นกรณีศึกษาถึงแนวทางการตัดสินคดีแรงงานตามคำพิพากษาของศาลฎีกา
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - เจ้าของกิจการ - ผู้บริการ -HR.
หมวด : การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ล่าสุดปี2562
1.กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีผลบังคับใช้ล่าสุด 7ประการ
1.1การได้รับสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างลูกจ้างชายกับลูกจ้างหญิง
·การทำงาน........... ตำแหน่งงาน.......
·ค่าจ้าง.......... ค่าสวัสดิการ.......
1.2การลากิจธุระอันจำเป็นโดยได้รับค่าจ้างตามกฎหมายใหม่
·ลากิจได้ปีละ.........วัน ผู้มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามกฎหมายใหม่ใครบ้าง.?
·เดิมลูกจ้างลากิจได้รับค่าจ้างอยู่แล้ว 6วันต้องทำอย่างไร..? .....ต้องนำไปผูกพันกับการลาเพื่อมาสายหรือไม่.?
1.3สิทธิในการลาคลอด - ลาหลังคลอดบุตรสำหรับลูกจ้างหญิง
·กรณีลาตรวจครรภ์ได้รับค่าจ้างอย่างไร..?.....ลาหลังคลอดบุตรได้รับค่าจ้างอย่างไร..?
·ค่าคลอดบุตร เบิกได้อย่างไร..?ใครจ่าย .....การลาไม่ครบ ตามกฎหมายกำหนดจะเกิดปัญหาอะไร..?
1.4การย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
·เหตุที่นายจ้างย้ายมีกรณีใดบ้าง.?.....ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างไร..?
·ไม่ย้ายตามไปได้รับค่าชดเชย - ค่าสวัสดิการอย่างไร..? ..การย้ายจะได้รับค่าจ้างอย่างไร..?
ค่าสวัสดิการอย่างไร..?
1.5การเปลี่ยนนายจ้างใหม่หรือเปลี่ยนนิติบุคคล
·จะมีการรับทราบเอกสารจากนายจ้างอย่างไร..? .....ค่าจ้าง-สวัสดิการ จะได้รับในสภาพเดิมหรือไม่.?
·ถ้านายจ้างใหม่สร้างกฎขึ้นมาเองทำได้หรือไม่.? .....ถ้าลูกจ้างไม่ยินดีกับนายจ้างใหม่ ทำอะไรได้บ้าง.?
1.6การจ่ายค่าจ้าง - ค่าตอบแทนในการทำงาน
·องค์ประกอบที่สำคัญของคำว่าค่าจ้าง คืออะไร..?.....จะต้องจ่ายในอัตราเท่าใด.?
·ถ้าไม่จ่ายหรือจ่ายไม่ครบจะมีความผิดอย่างไร..? .....การเสียดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่ต้องจ่ายอย่างไร..?
1.7ค่าชดเชยในอัตราใหม่ที่ประกาศใช้ตามกฎหมายใหม่
·มีหลักเกณฑ์6อัตราอะไรบ้าง.?.......ผู้มีสิทธิที่จะได้รับมีใครบ้าง.?
·ผู้ที่จะเกษียณ31ธ.ค.2562จะได้รับสิทธิอย่างไร..?กรณีฟ้องคดีอยู่ที่ศาลยังไม่สิ้นสุดจะได้รับสิทธิอย่างไร..?
หมวด : การนำกฎหมายใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสภาพการจ้างเดิม
2 .การแก้ไข - เปลี่ยนแปลง - หรือเพิ่มสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายใหม่เข้าในข้อบังคับในการทำงานต้องทำอย่างไร..?ต้องแจ้งลูกจ้างหรือภาครัฐหรือไม่ เพราะอะไร..?
·พิจารณาถึงกฎหมายใหม่ที่ให้สิทธินายจ้าง
3 .การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ ภาคปฏิบัติจริงต้องทำอย่างไร..?
·แนวทางการปฏิบัติในองค์กรเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหากับพนักงานภายหลัง
4 .หลักเกณฑ์การกำหนดวันหยุดตามประเพณีพิจารณาจากอะไร.?ถ้ากำหนดไปแล้วต้องการสลับกับวันอื่น ต้องทำอย่างไรบ้าง..?
·พิจารณาถึงหน่วยงานภาครัฐและการเห็นชอบจากลูกจ้าง
5 .การจัดเวลาพักในวันทำงานปกติ - ทำงานล่วงเวลา - ทำงานในวันหยุด ต้องจัดอย่างไร..?
·พิจารณาถึงหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พร้อมคำอธิบาย
6 .การลากิจเพื่ออุปสมบท - แต่งงาน - ครอบครัวเสียชีวิต - รับราชการทหารหรือระหว่างนายจ้างให้ไปบำบัดสารเสพติด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ เพราะอะไร..?
·มีคำแนะนำตามหลักกฎหมาย - ระเบียบปฏิบัติขององค์กรต่างๆ พร้อมคำอธิบาย
7 .กรณีออกจากงาน - เกษียณงาน - หรือนายจ้างปลดออก -ไล่ออก สิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือลากิจได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างจะได้รับสิทธิอย่างไร..?
·มีคำแนะนำ พร้อมคำอธิบายการได้รับสิทธิที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
8 .เมื่อลูกจ้างทำผิดนายจ้างได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยไม่สมควรแก่การเลิกจ้างแต่นายจ้างเลือกที่จะเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง.?
·ยกตัวอย่าง การเลิกจ้าง8กรณี พร้อมคำอธิบายหลักการพิจารณาและสิทธิที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย
9 .นายจ้างมีสิทธิฟ้องลูกจ้าง - อดีตลูกจ้าง - ว่าที่ลูกจ้าง - หรือ ลูกจ้างฟ้องว่าที่นายจ้าง - เป็นหมื่นหรือเป็นแสนๆ ที่เกิดข้อพิพาทกันในศาลแรงงานมีกรณีใดบ้าง..?
·มีตัวอย่าง เป็นกรณีศึกษาที่ฟ้องกันในศาล พร้อมคำอธิบาย
10.กรณีปลดออก - ไล่ออก - เลิกจ้าง ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มีกรณีใดบ้าง - ออกหนังสือเลิกจ้างอย่างไร..?
·ยกตัวอย่าง10กรณี
· (มีตัวอย่างการออกหนังสือเลิกจ้างที่ระบุข้อความที่ครอบคลุมความผิดแจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย)
11.เลิกจ้างลูกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า มีกรณีใดบ้าง?
·ยกตัวอย่าง การเลิกจ้างในกรณีต่างๆ
12.เลิกจ้างลูกจ้างที่จะ ต้องจ่ายค่าชดเชย มีกรณีใดบ้าง.?
·ยกตัวอย่าง การเลิกจ้างในกรณีต่างๆ
13.ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ตามกฎหมายมีกรณีใดบ้าง..?
·ยกตัวอย่าง การห้ามเลิกจ้างในกรณีต่างๆ
หมวด : คดีแรงงานที่ตัดสินจากคำพิพากษาฎีกา พร้อมคำอธิบาย
14.ตามใบสมัครงาน มีข้อความว่าในระหว่างเป็นลูกจ้าง ข้าฯ จะไม่ไปทำงาน - นำความลับของนายจ้างไปเปิดเผย - ไปถือหุ้น กับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดอย่างไร..?จะชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร..?
·มีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
· (มีตัวอย่างการเขียนสัญญาจ้างที่ระบุข้อห้ามไว้ในสัญญาจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย)
15.สัญญาจ้างที่นายจ้างทำขึ้นกับลูกจ้าง ที่ขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ นายจ้างนำไปปฏิบัติไม่ได้เป็นสัญญาจ้างลักษณะใด.?
· (ยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 5คดี) ที่ตัดสินคดีลักษณะนี้ พร้อมคำอธิบาย
16.ข้อบังคับในการทำงานเกษียณงานอายุ60ปี นายจ้างย้ายไปอยู่ในบริษัทในเครือ ที่เกษียณ55ปี ลูกจ้างจะได้รับสิทธิใด.?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
17.ใช้ของแหลมมีคมกรีดรถยนต์เพื่อนร่วมงานซึ่งจอดอยู่ในบริเวณที่จอดรถตามที่นายจ้างจัดให้เป็นความผิดที่นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่ เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
18.ลูกจ้างเสพสิ่งมึนเมาแล้วเข้ามาทำงานโดยไม่ได้ ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างมีสิทธิลงโทษได้เพียงใด.?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
19.ลูกจ้างชายกระทำการล่วงเกินทางเพศลูกจ้างหญิงด้วยวาจา - ทั้งทำกิริยา - ท่าทางประกอบหลายครั้ง จนรู้สึกอาย ทำไม...?เลิกจ้างเป็นความผิดร้ายแรงได้.?เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
20.ลูกจ้างนำภาพถ่ายที่เปลือยระหว่างตนกับหญิงขณะร่วมประเวณีกัน ที่ตนบันทึกไว้ ออกเผยแพร่เพื่อประจานหญิงจนเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ซึ่งระบุว่าตนเป็นพนักงานฝ่ายช่างซ่อมบำรุงของนายจ้าง ซึ่งเป็นการกระทำนอกโรงงาน - นอกเวลางาน ทำไม..?นายจ้างเลิกจ้างได้ เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
21.ลูกจ้างแจ้งลาออกต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมิใช่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างจะมีผลเมื่อใด..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
22.ลูกจ้างฟ้องเป็นคดีความเกิดขึ้นที่ศาลมากมาย กรณีนายจ้างไม่ออกใบผ่านงานให้กับลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างทดลองงาน - ลูกจ้างประจำ - ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง นายจ้างต้องรับผิดในทางเสียหายต่อลูกจ้างอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
23.ลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรง นายจ้างมีนโยบายเลิกจ้าง วิธีที่จะทำให้ลูกจ้างไม่ไปฟ้องศาลภายหลัง หรือไปเรียกร้องค่าใดๆ ไม่ได้ ต้องทำข้อตกลงระหว่าง - นายจ้าง - ลูกจ้าง อย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
· (มีตัวอย่างการเขียนข้อตกลงที่จะทำให้ลูกจ้างไม่ไปฟ้องศาลภายหลังได้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย)
24.มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสารเสพติด นายจ้างจะลงโทษอะไรได้บ้าง..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
25.เป็นหัวหน้างานชักชวนหญิงที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาไปเที่ยวในเวลาค่ำคืนนอกเวลาทำงาน หากไม่ไปจะไม่เสนอความเห็นไม่ยอมให้ผ่านทดลองงาน หัวหน้างานจะมีความผิดอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
26.ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ -ให้การเท็จต่อผู้บังคับบัญชาทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ลูกจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
27.อาศัยความเป็นลูกจ้าง - ตำแหน่งงาน - รับเอาหรือเรียกเอาผลประโยชน์กับบุคคลภายนอก เพื่อให้เข้ามาประมูลงาน - ผ่านการประมูล - เพื่อเข้าทำงาน - หรือเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ลูกจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
28.ค่าจ้างหรือเงินที่ลูกจ้างสำรองจ่ายในการบริหารงาน เมื่อนายจ้างค้างจ่ายต้องทำอย่างไร..?กรณีลูกจ้างทำความเสียหายแล้วออกงานไป นายจ้างหักเงินลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ทำได้หรือไม่..?เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
29.ลูกจ้างลาออกในเดือน มิ.ย. ของปี ได้ใช้สิทธิลาพักผ่อนไปแล้ว10วัน ปกติได้รับสิทธิ ลาพักผ่อนปีละ12 วัน กรณีคิดตามส่วนลูกจ้างลาพักผ่อนเกินไป 4วัน นายจ้างจะหักเงินค่าจ้างในส่วนที่เกินไป4วันนั้น ทำได้หรือไม่..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
30.ลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้างผู้มีอำนาจทราบแล้วแต่ยังไม่อนุมัติ จะมีผลเมื่อใด หรือในวันต่อมาลูกจ้างขอยกเลิกใบลาออกตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายทำได้หรือไม่..?เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
31.มีนโยบายให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิดและจ่ายเงินช่วยเหลือตามอายุงาน - ตามกฎหมายกำหนดและทำบันทึกข้อความร่วมกัน เพื่อประกอบกับหนังสือเลิกจ้าง - เป็นการป้องกันลูกจ้างไม่ให้ไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยภายหลัง
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
· (มีตัวอย่างการเขียนหนังสือเพื่อประกอบการเลิกจ้างแจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาพร้อมคำอธิบาย)
32.จ่ายเงินค่าเดินทางให้ไปทำงานนอกสถานที่เป็นรายครั้ง - ต่อมาให้เหมาจ่ายเป็นรายเดือนเป็นการให้ตามตำแหน่งงานเมื่อเลื่อนตำแหน่งงาน ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับหรือไม่ จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่..?เพราะเหตุใด..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
33.เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หมายถึงเลิกจ้างลูกจ้างในลักษณะใด..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
34.ระเบียนการจ่ายเงินโบนัสทำงานครบ1ปีจ่ายเต็มตามกำหนด ถ้าไม่ครบ1ปีจ่ายตามส่วนของอายุงานแต่ต้องทำงานถึงวันที่จ่ายโบนัส ลูกจ้างเข้าทำงานเดือนสิงหาคม2544 ออกจากงานเดือนกรกฎาคม2545จะมีสิทธิได้รับโบนัสอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
35.การกำหนดหรือจ่ายเงินโบนัสจะจ่ายด้วยวิธีการ - หลักเกณฑ์หรือมีเงื่อนไขอะไร มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือไม่..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
· (มีตัวอย่างการเขียนระเบียบและเงื่อนไขการจ่ายเงินโบนัส - ที่เฉียบคม - แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย)
36.ทำสัญญาจ้างปีต่อปีเมื่อครบสัญญาจ้าง1ปีแล้วมีการต่อสัญญาจ้างใหม่ เมื่อสิ้นสุดสัญญาฉบับสุดท้ายแล้วไม่มีการจ้างกันต่อไป ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ค่าบอกกล่าว - ค่าชดเชย - ค่าเสียหายอย่างไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
37.มีร่างกายอ่อนแอกว่าลูกจ้างอื่นที่ทำงานด้วนกัน - นายจ้างปรับลดตำแหน่งงาน - ตัดโบนัส - ลากิจ - ลาป่วยมา ลูกจ้างหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน นายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
38.ลูกจ้างไม่มีน้ำใจต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน - เป็นคนหัวร้อน - ใช้แต่อารมณ์ในการทำงาน - ทำงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานอื่นไม่ได้ นายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?
·มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
39.ภายในปีลูกจ้างลางานและขาดงานประมาน22วันคิดเฉลี่ยเดือนละ 2วัน ถือว่าหยุดงานมากเกินขอบเขตหรือไม่..?เพราะอะไร..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
40.นายจ้างมีผลกำไรแต่ละปีไม่เพียงพอชำระหนี้หมุนเวียน ต้องลดขนาดการประกอบธุรกิจลง - ไม่มีการรับพนักงานใหม่เพิ่ม กรณีมีนโยบายเลิกจ้างพนักงานต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?
·มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย
ถาม - ตอบ - แนะนำ
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า
โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท26
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า