เป้าหมายหรือผลลัพธ์จากการฝึกอบรม :
1. เพื่อทำความเข้าใจประเด็นกฎหมาย ที่แก้ไขใหม่ และการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน
2. เพื่อให้สามารถบริหารงานบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป้าหมายสูงดสุดขององค์กร
ช่วงเช้า >> ประเด็นสำคัญที่มีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 :
ประเด็นสำคัญ
- การจ่ายดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม กรณีนายจ้างจ่ายเงินล่าช้า มีเงื่อนไขใหม่อย่างไร
- การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ตามหลักกฎหมายแก้ไขใหม่ แตกต่างจากเดิมอย่างไร
- หากนายจ้างจะโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทในเครือ ต้องให้ลูกจ้างยินยอมหรือไม่
- การาบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อบอกเลิกสัญญาจ้าง มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอะไรบ้าง
- การลาเพื่อกิจธุระ อันจำเป็น มีลักษณะอย่างไร นายจ้างต้องจ่ายเงินจำนวนกี่วัน
- หากเดิม นายจ้างให้สิทธิลากิจไว้มากกว่าที่กฎหมายใหม่กำหนด จะลดลงได้หรือไม่
- ลูกจ้างสามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ได้ปีละกี่วัน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างทุกวันหรือไม่
- การจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างกรณีนายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว มีเงื่อนไนอย่างไร
- การคำนวณค่าชดเชยอัตราใหม่ 400 วัน สำหรับอายุงาน 20 ปี มีหลักการคำนวนอย่างไร
- กรณีลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย จะคิดค่าชดเชยอย่างไร
- การย้ายสถานประกอบกิจการ แตกต่างจากการโอนย้ายที่ทำงานของลูกจ้างหรือไม่ อย่างไร
- หากลูกจ้าง ไม่ต้องการย้ายไปทำงานในสถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ลูกจ้างมีสิทธิอะไรบ้าง
- การย้ายสถานประกอบกิจการ แตกต่างจากการโอนย้ายที่ทำงานของลูกจ้างหรือไม่ อย่างไร
- หากลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานในสถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ลูกจ้างมีสิทธิอะไรบ้าง
- นายจ้างทุกคน ต้องยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างหรือไม่ หากต้องยื่น แต่หลงลืม จะมีโทษหรือไม่
ช่วงบ่าย >> ประเด็นสำคัญที่นายจ้างและ HR จำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันปัญหาด้านแรงงาน
- สรุปหลักฎหมายแรงงาน 4 ฉบับสำคัญ ที่นายจ้างและ HR จำเป็นต้องรู้
- การประยุกต์ใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์มีหลักการอย่างไร
- สัญญาจ้างงาน มีหลายแบบ หลายประเพท แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ทำไมนายจ้างต้องกำหนดเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้าง เช่น การปรับลดค่าจ้างทำได้หรือไม่ อย่างไร
- นายจ้างจะทำสัญญาจ้างแรงงานให้แตกต่างจากข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานได้หรือไม่
- ทำไมนายจ้างต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อนที่จะลงโทษเพื่อเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
- หากลูกจ้างประท้วงหยุดงาน เพื่อเรียกร้องขอเงินโบนัสเพิ่ม เอาผิดทางวินัยได้หรือไม่
- กรณีที่ลูกจ้างทำผิดวินัย นายจ้างจะออกหนังสือเตือน พร้อมกับลงโทษพักงานได้หรือไม่
- หากจ้างคนที่เคยเกษียณอายุมากแล้ว เมื่อมีการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกครั้งหรือไม่
- ทำไมต้องนำเงินค่าโทรศัพท์ และค่าน้ำมันรถแบบเหมาจ่ายมาคำนวณค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
- หากลูกจ้างลาออก แต่ยังมีวันหยดพักร้อนคงเหลือ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินให้แทนหรือไม่
- เงิน 3 ประเภทที่นายจ้างอาจต้องจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้าง คืออะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่
- หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จะฟ้องขอให้ศาลสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานได้หรือไม่
อาจารย์สัจพล