หลักการและเหตุผล
จุดอ่อนของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องก็คือไม่สามารถวิเคราะห์ Root Cause หรือรากเหง้าของปัญหาได้ ส่วนมากจะวิเคราะห์กันเพียงระดับอาการ (Symptom) ของปัญหา ถ้าหากเราไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ ก็จะส่งผลให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และปัญหาเดิมๆจะกลับมาเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจปัญหาที่รากเหง้า ดังนั้นการคิดการสร้างมาตรการป้องกันแก้ไขจึงไม่เกิดขึ้น การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงล้มเหลว วงจร PDCA (Plan-Do- Check-Analysis) จึงหมุนไม่ได้เพราะไปชะงักตรง Analysis ดังนั้น Plan หรือการวางแผนสร้างมาตรการปับปรุงแก้ไขจึงทำไม่ได้
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คือการที่ผู้บริหารระดับสูง มีความคิดริเริ่มในการนำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องPDCA
มาใช้ เพื่อให้ประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าหรือบริการได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการแปลงนโยบายไปให้ผู้บริหารระดับกลางทำแผนปฏิบัติ และพนักงานระดับปฏิบัติการทำตามแผน
แต่ถ้าหากผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติไม่มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก
จึงแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนไม่ได้ Root cause analysis training course เป็นการศึกษาและทำ workshop
ภาคปฏิบัติในการเพิ่มขีดความสามารถผู้บริหารระดับกลาง
และผู้ปฏิบัติให้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การสัมมนาในครั้งนี้
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้เรียนทั้งหลักทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จนสามารถนำ Root Cause Analysis
ไปใช้แก้ปัญหาได้ทันทีหลังจากการฝึกอบรมเสร็จ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้องค์กรผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้กระบวนการสร้างทีม Kaizen พัฒนาความสามารถพนักงานระดับปฏิบัติมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาทำให้เกิดการปรั บปรุงอย่างต่อเนื่องมีความยั่งยืน
เป็นการสร้างวิธีแปลงนโยบายจากผู้บริหารองค์กร หรือผู้บริหารระดับกลางไปสู่ผู้ปฏิบัติอย่างมีระบบ โดยพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน วิศวกร หัวหน้างาน ให้สามารถแก้ปัญหาเองได้
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้ว่าจะเริ่มต้นทำการวิเคราะห์ Root cause analysis เมื่อไร ที่จุดไหน ทำอย่างไร
เพื่อเป็นการกระจายความสามารถจากผู้บริหารระดับสูงไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง และสู่ผู้ปฏิบัติ
ลดอัตราของเสีย ลดอัตราเครื่องเสีย เพิ่มคุณภาพงาน
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
องค์กรเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
องค์กรสามารถขยายธุรกิจเพิ่มผลกำไร
สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้
1. ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับปรัชญาการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบ P-D-C-A ของ ดร. Edward Deming และ Kaizen ของ Masaaki Imai และ เครื่องมือ Root cause analysis หัวใจของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. จะเริ่มต้น สร้างทีม RCA อย่างไร ใครควรจะเป็นสมาชิก
3. ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root cause analysis
4. ได้เรียนรู้เรื่อง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล Defects โดย Pareto diagram, Top 3 defects, Gemba
5. ได้เรียนรู้เรื่อง เครื่องมือ RCA เช่น Brainstorming method, Fishbone diagram, Fault tree analysis, why-why analysis, How-How analysis, Action Plan และ follow up template
6. ได้เรียนรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยน Mindset ในการแก้ปัญหาแบบ Kaizen
7. การสร้างวัฒนธรรมการปรับปรุงงานด้วย Kaizen, Gemba
8. การสร้าง Kaizen steering committee, RCA cross functional team
อาจารย์พิสิทธิ์ ชูยงค์