Public Trainingหลักสูตร: กฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับการจ้างเหมาแรงงานแบบOutsourcingต้องบริหารอย่างไร..?อบรม วันที่11กันยายน2567
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นายจ้าง,ผู้บริหาร หรือ HR.ทราบถึงการจ้างแรงงานระหว่างพนักงานประจำของบริษัทฯ กับการจ้างแรงงานที่ผ่านบริษัทรับเหมาOutsourceแตกต่างกันอย่างไร.. เช่น กรณีลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน,การลงโทษทางวินัย,การย้ายหน่วยงาน หรือการเลิกจ้าง
2. เพื่อให้ทราบถึงการกำหนดสภาพการทำงานให้ลูกจ้างที่นำเข้าผ่านบริษัท Outsourceนายจ้างมีสิทธิกำหนดให้ทำงานแตกต่างไปจากลูกจ้าง ประจำของบริษัทฯได้มากน้อยเพียงใด และมีการเลือกปฏิบัติได้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้ทำงานต้องเข้าทำงานตามกะเช้า กะบ่าย,กะดึก,หรือ ต้องออกไปปฏิบัติงานตามไซต์งาน,ออกไปปฏิบัติงานตามสาขาต่างๆ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เรียนรู้ และเป็นกรณีศึกษาในกรณีนายจ้างมีการบริหารงานผิดพลาดเกี่ยวกับ เรื่องการจ่ายค่าจ้าง,ค่าล่วงเวลา หรือ การจ่ายสวัสดิการไม่เป็นไปตามสิทธิของลูกจ้างที่ได้รับตามกฎหมายกำหนด จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้ติดตามทวงถาม เช่น การเรียกร้องสิทธิทางแรงงานจังหวัด หรือ ฟ้องศาลแรงงาน องค์กรจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง..?
หัวข้อในการอบรม
1. วัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจของบริษัทรับเหมาค่าแรงOutsource มีอะไรบ้าง..?
2. บริษัทฯจะต้องมีหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อพนักงานในองค์กรตามกฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง..?
· เช่น วันทำงาน - การจ่ายค่าจ้าง - การจ่ายสวัสดิการ - การลงโทษทางวินัย - การเลิกจ้าง - การจ่ายค่าชดเชย ในกรณีต่างๆ
3. ผู้บริหาร หรือHR.ต้องมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการจ้างงาน และประเภทของสัญญาจ้างแรงงาน อะไรบ้าง..?
· เช่น สัญญาจ้างแรงงานปลายเปิด- สัญญาจ้างแรงงานปลายปิด - สัญญาจ้างทำของ - ผู้รับเหมาช่วง หรือ ตัวแทนจำหน่าย
4. การทำสัญญาจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงOutsourceเพื่อให้นำแรงงานเติมเต็มให้กับองค์กร หรือ เพื่อการทำสัญญาจ้างให้ถูกต้องและ เป็นธรรมต้องกำหนดเงื่อนไขการจ้างไว้ในสัญญาจ้างอย่างไร..?
· เช่น ระยะเวลาการจ้าง - การจ่ายค่าจ้าง - การจ่ายสวัสดิการ - การส่งคืนลูกจ้างกรณีเกิดปัญหาในการทำงาน
· มีตัวอย่าง :การเขียนสัญญาจ้างแจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
5. การจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541มาตรา11/1กรณีให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการทีเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?
· เช่น การจ่ายค่าจ้าง - จ่ายเงินเพิ่มจากการทำงาน - การจ่ายสวัสดิการ - การปรับค่าจ้าง - การกำหนดให้ได้รับสิทธิจากเงินกองทุนต่างๆ
6. สภาพการจ้าง และสภาพการทำงานมีความจำเป็นต้องให้ทำงานเหมือนกับพนักงานประจำของบริษัทฯหรือไม่ เพราะอะไร..?
· การได้รับสิทธิวันหยุด ,วันลาต่างๆ,การทำงานประจำกะเช้า,ต้องเข้ากะบ่าย,กะดึก
7. ขอบเขตการบริหารจัดการ หรือการลงโทษทางวินัยพนักงานที่นำเข้าจากบริษัทOutsourceทำได้เพียงใด..?
· เช่น การปฏิบัติงานที่ไม่ผ่านทดลองงาน - การย้ายหน่วยงาน - การลงโทษทางวินัย - การเลิกจ้างเพราะเหตุต่างๆ
8. กรณีนายจ้างมี นโยบายสั่งให้ลูกจ้างกักตัว14วัน เพื่อเฝ้าดูอาการติดเชื้อจากcovid- 19ระบาด ต้องบริหารจัดการ อย่างไร..?
· ลูกจ้างที่ผ่านบริษัทOutsource จะได้รับค่าจ้างจากใคร.. จะได้รับสิทธิการว่างงานหรือไม่เพราะอะไร..
9. กรณีนายจ้างประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจจากcovid-19ระบาด จนเกิดวิกฤต ลูกจ้างไม่มีงานทำ,นายจ้างไม่มีรายได้ บริษัทฯ มีนโยบายให้ลูกจ้างหยุดงาน30หรือ60วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ ต้องบริหารจัดการ อย่างไร..?
· การแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐ -การได้รับสิทธิการว่างงานของลูกจ้างจากกองทุนประกันสังคม
· มีตัวอย่าง : การทำหนังสือ แจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
10.เมื่อนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากcovid-19 ระบาด จึงมีนโยบายยกเลิกสัญญาจ้าง บริษัทรับเหมาOutsourceก่อนครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร..?
· ต้องรับผิดต่อบริษัทOutsource กรณีบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนดหรือไม่..- การบริหารส่งมอบแรงงานคืนต่อบริษัทOutsource 11.กรณีนายจ้างส่งมอบลูกจ้างคืนต่อบริษัทOutsourceไปแล้ว เมื่อบริษัทOutsourceไม่สามารถจัดส่งลูกจ้างไปทำงาน ณ ที่บริษัทฯ แห่งใหม่ได้ลูกจ้างจะรับสิทธิอะไรบ้าง..?
· ลูกจ้างไม่ได้ทำงานจะได้รับค่าจ้างจากใคร.. จะได้รับการว่างงานจากประกันสังคมหรือไม่..
12.กรณีบริษัทOutsourceจัดส่งลูกจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน นายจ้างต้องตรวจสอบอะไรบ้าง..?
· หนังสือเดินทาง (Visa ) -ใบอนุญาตให้ทำงาน - บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว - บัตรพิสูจน์สัญชาติ
13.กรณีลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัทOutsourceตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในบริษัทฯ องค์กรจะได้รับผลกระทบ อะไรบ้าง..?
14.กรณีลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัทOutsourceทำความเสียหายต่องาน แล้วออกจากงานไป ใครคือผู้รับผิดชอบ ในทางเสียหายต่องาน
15.เมื่อลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัทOutsourceประสบอันตราย,เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากการทำงาน องค์กรจะได้รับผลกระทบอย่างไร..?
16.ข้อเปรียบเทียบการจ้างแรงงานที่นำเข้าผ่านบริษัทOutsource เกิดผลดี และแตกต่างจากการจ้างแรงงานประจำของบริษัทฯอย่างไร..?
17.กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้าง,จ่ายสวัสดิการให้กับลูกจ้างผ่านบริษัทOutsource เมื่อบริษัทOutsourceไม่จ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
หัวหน้างาน พนักงาน ผู้สนใจ