Public Training : เลขานุการบริษัท สำคัญไฉน !

5 กรกฎาคม 2567

ปัจจุบันธุรกิจมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขัน การตรากฎหมายเฉพาะแต่ละภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นเพียงประการเดียว จึงยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ เนื่องจากทั้งภาคธุรกิจและผู้ลงทุนต่างต้องการผลประกอบการที่ดี กิจการสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงได้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและสร้างคุณค่าให้กิจการได้อย่างยั่งยืน ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

·  เลขานุการบริษัท (Company Secretary)เป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรบริหารจัดการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

·  เป็นผู้ช่วยของคณะกรรมการและองค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

·  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งได้กำหนดบทลงโทษไว้ด้วย

·  ตำแหน่งเลขานุการบริษัทจึงเป็นตำแหน่งที่ต่อยอดความก้าวหน้าในอาชีพของเลขานุการทั่วไปได้

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.     ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของ ก.ล.ต. และ ตลท. ที่เกี่ยวข้องกับเลขานุการบริษัท

2.     สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.     สามารถช่วยยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น

4.     สามารถต่อยอดความก้าวหน้าในอาชีพของเลขานุการทั่วไป

 

เนื้อหาหลักสูตร

1.     หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code)

·       การกำกับดูแลกิจการที่ดี คืออะไร

·       วัตถุประสงค์ของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

·       หลักและแนวปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการ8 ประการ

2.     เลขานุการบริษัท" (Company Secretary) ตำแหน่งสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องมีในยุคปัจจุบัน

·       ความเป็นมาและแนวคิดเกี่ยวกับเลขานุการบริษัทในปัจจุบัน

·       กฎระเบียบของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวกับเลขานุการบริษัท

·       การแต่งตั้งและคุณสมบัติของเลขานุการบริษัทที่จำเป็นต้องมี

·       บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สู่การเป็นเลขานุการบริษัทมืออาชีพ

·       บทกำหนดโทษ

3.บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท ตามแนวปฏิบัติของ "ICSA Guidance on the Corporate Governance Role of the Company Secretary"และกรณีศึกษาบริษัทต่าง ๆ

4.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมการ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้น

·       บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของกรรมการ และคณะกรรมการ

·       โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการย่อยในชุดต่าง ๆ

·       สิทธิผู้ถือหุ้นและการจัดประชุมผู้ถือหุ้น

·       การประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อยบริษัท และการประชุมผู้ถือหุ้น

5.การประสานงานให้มีการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติคณะกรรมการบริษัท/ผู้ถือหุ้น ข้อกำหนดทางด้านกฎหมายและกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง

6.การจัดทำและเก็บรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ ของบริษัท อาทิ

·       ทะเบียนกรรมการ

·       หนังสือนัดประชุม

·       รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้น

·       รายงานประจำปีของบริษัท

·       รายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท

7.ความรับผิดชอบของกรรมการและผู้แทนนิติบุคคล ที่เลขานุการบริษัทต้องทราบ เพื่อการแนะนำการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

8.เลขานุการบริษัท กับแนวปฏิบัติการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของกรรมการ ผู้ถือหุ้น ตามแนวปฏิบัติพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

9.ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับเลขานุการบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

·      เลขานุการบริษัท

·      เลขานุการทั่วไป หรือ เลขานุการบริหาร

·      ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการ

·      CEO

 

อาจารย์พงศา  บุญชัยวัฒนโชติ

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

5 กรกฎาคม 2567 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 121 ครั้ง