Public Training : เรียนรู้นพลักษณ์กับการบริหารและส่งเสริมความสัมพันธ์ในองค์กร

13 มิถุนายน 2567

การบริหารความสัมพันธ์ในองค์กรเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของพนักงานในองค์การในแต่ละระดับ เพื่อนำไปสู่การสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างเติบโตและยั่งยืนในองค์การ นพลักษณ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานและได้รับความนิยมในหลายวงการ เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้ตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น การเปิดใจ รับฟัง และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยลดอคติ ความเป็นตนเองน้อยลง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร นพลักษณ์ที่สร้างขึ้นในองค์กรจะสร้างสรรค์วัฒนธรรมและค่านิยมที่เป็นไปได้สูง ซึ่งมีผลกระทบในหลายด้านด้วยกัน นอกจาก นพลักษณ์จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรแล้ว ยังก่อให้เกิดการเติบโตและพัฒนาขององค์กรได้ เมื่อคนในองค์กรมีความรู้สึกถึงค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน จะส่งผลให้มีความร่วมมือและสัมพันธ์ที่ดีกันอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ละคนเมื่อเข้าในเรื่องนพลักษณ์และยอมรับความแตกต่างที่สร้างพลวัต จะเข้า ประสานงานอย่างเต็มกำลัง คนในองค์กรจะรู้สึกมั่นใจและไว้วางใจในพันธมิตรและทีมงานของตนเอง ทำให้มีการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นและมุ่งหวังสู่ผลลัพธ์ที่ดี

 

วัตถุประสงค์ (Objective)

1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนพลักษณ์ในองค์กร : หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับนพลักษณ์และแนวคิดที่เกี่ยวข้องในองค์กร ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์และรับรู้นพลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์กรของตนเอง ความแตกต่าง จุดแข็ง จุดอ่อน และค่านิยมของแต่ละลักษณ์ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และเข้าใจด้วยตนเอง

2. เพื่อพัฒนาทักษะในการบริหารและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร : หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในการบริหารความสัมพันธ์ในองค์กร ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสาร สร้างความร่วมมือ และสัมพันธ์ที่ดีในทีมงาน รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร

 

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)   พนักงานทุกระดับ

 

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)

·       ความท้าทายขององค์การในยุคปัจจุบัน

·       ความสำคัญของการสร้างและบริหารสัมพันธภาพในองค์การ

-        ต่างคนต่างอยู่ หรือสร้างประสบการณ์ชีวิตทำงานร่วมกัน

·       ความหมายและแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนพลักษณ์

·       การเข้าใจและวิเคราะห์นพลักษณ์คนในองค์กร

-        เราเป็นอย่างไร ลูกน้องเรา และหัวหน้าเรา

·       การเชื่อมโยงความเข้าใจของนพลักษณ์ไปสู่การบริหารความสัมพันธ์

Workshopแบบทดสอบการวิเคราะห์นพลักษณ์

·       การรับรู้และเข้าใจความแตกต่างของแต่ละลักษณ์ในองค์กร

-        แนวคิด จุดแข็ง จุดอ่อน ค่านิยม

·       การสื่อสาร ประสานงานตามวิถีของลักษณ์ต่างๆเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน

-        Get the result done!

Workshop

·      การบริหารจุดแข็ง และสร้างแนวทางพัฒนาตนองในแต่ละลักษณ์ / ลูกน้อง

-         ส่งเสริมและผลักดันแบบถูกใจ ถูกจริต !

·      การสร้างสมดุลยภาพในการทำงาน และชีวิตในแต่ละลักษณ์

·      ประเด็นความขัดแย้ง และข้อควรรู้ของแต่ละลักษณ์

สรุปการเรียนรู้

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)           1 วัน 9.00 - 16.00 น.

 

รูปแบบการอบรม (Methodology)

เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้ทั้งการสอนCoaching, Storytelling, Dialogue, Micro learning, Appreciative InquiryและPositive Psychologyเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์แบบ Activeโดยใช้หลักการและทฤษฎีTransformative learning, Experiential learning etc.เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน เพื่อฝึกการคิด การระดมสมอง การลองปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การเข้าใจองค์ความรู้ด้วยตนเองและนำไปประยุกต์ได้ สัดส่วนการบรรยายและฝึกปฏิบัติ 70:30

 

อาจารย์ชัญญชิตา ศรีชัย

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

13 มิถุนายน 2567 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 189 ครั้ง