Public Training : จิตวิทยาการบริหารและการจูงใจลูกน้อง

7 เมษายน 2566

หลักการและเหตุผล

ท่านเคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่?

- ปัญหาระหว่างลูกน้องกับลูกพี่ หรือพนักงาน ในการทำงาน

- ลูกพี่ควรให้ลูกน้องทำ แต่ลูกพี่ก็ต้องลงมือทำงานเสียเอง

- ลูกพี่สอนงานแล้ว ลูกน้องไม่ทำหรือทำไม่ได้ตามที่ต้องการ

- ทำให้งานต่างๆ ต้องกลับมาแก้ไขใหม่

- ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ยังไม่พร้อม

 

สภาพงานในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่บ่งชัดว่านับวันอัตราการขยายตัวจะยิ่งสูงขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม การบริการ ตลอดจนภาครัฐหรือเอกชน อันเป็นงานที่นอกจากจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ แล้ว ยังจำเป็นที่ต้องมีพื้นฐานของทัศนคติหรือจิตสำนึกที่ดี (ใช้จิตวิทยา) เพื่อเป็นแนวทางในการสื่อสาร และแสดงทักษะมาประสานกันอย่างมีขั้นตอน เป็นระบบ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยเฉพาะเพื่อการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และความเป็นมืออาชีพ เสมือนหนึ่งเป็นการร่วมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

         

ดังนั้น "วิธีการทำงานร่วมกันเป็นทีม" จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานอยู่ตลอดเวลา โดยอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ว่า ทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือกัน สนับสนุนการให้กำลังใจซึ่งกันและกันเลิกเกี่ยงงาน เลิกกล่าวโทษผู้อื่น และปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเต็มความสามารถโดยยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

        

จากแนวคิดดังกล่าว บุคลากรในองค์กรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ ทั้งในเรื่องงาน และเรื่องเกี่ยวกับคน มีการรับฟัง และยอมรับซึ่งกันและกัน รู้ซึ้งถึงแก่นแท้ในธรรมชาติของมนุษย์ และใช้จิตวิทยาในการทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จต่อองค์กร

       

สรุปแล้ว ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ละเอียดอ่อน แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถจะทำความเข้าใจได้ ถ้ามีโอกาสได้ประเมินและวิเคราะห์ถึงมาตรฐานและกลยุทธ์ ตลอดจนศึกษา และทดลองปฏิบัติเสมือนหนึ่ง "การใช้จิตวิทยาการทำงานเป็นทีม"

        

ดังนั้น หลักสูตร "จิตวิทยาการบริหาร และการจูงใจลูกน้อง" จึงเป็นประสิทธิผลหนึ่งในศักยภาพความเป็นยุคใหม่ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีคุณภาพ ชนะใจลูกน้อง นำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าตลอดไป

 

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบ

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจบทบาทผู้บริหารยุคใหม่ ซึ่งสามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมขององค์กร

2. เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมกลุ่มและสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน

3. เพื่อเพิ่มมาตรฐานการสร้างภาพลักษณ์ผู้บริหารยุคใหม่ในองค์กร

4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เพื่อหาข้อตกลง/มาตรฐานร่วมกัน

5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้หลักการในการบริหารงานต่างๆ เพื่อการบริหารงานที่มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้ร่วมประสานงานรอบทิศ

 

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ความหมายของ "จิตวิทยา" และ "ทีมงาน"

2. องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการใช้จิตวิทยา

3. บทบาทผู้ปฏิบัติงานยุคใหม่ (หัวหน้าและลูกน้องตลอดจนผู้นำ) ซึ่งสามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์กร

4. เทคนิคจิตวิทยา "การจูงใจ" "แก้ไข" และ "พัฒนา"

5. เพิ่มมาตรฐานการสร้างภาพลักษณ์บุคลากรในองค์กร

6. ทักษะในการสื่อสารที่เกิดผลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

7. การเสริมสร้างบรรยากาศและบริหารความขัดแย้งในการทำงาน

8. แนวทางในการทำกิจกรรมกลุ่มในโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ ด้วยหลักการการทำงานที่เรียกว่า "Teamwork"

9. การนำเสนอผลงานกลุ่ม (Group Presentation)

10. การประเมินผลงานกลุ่ม (Evaluation)

11. สรุป คำถาม - คำตอบ (Q & A - Summary)

 

วิธีการฝึกอบรมเชิงวิเคราะห์ข้อมูลและฝึกปฏิบัติด้วยกรณีศึกษา

บรรยายสรุป อภิปราย กรณีศึกษา แบ่งกลุ่มย่อยฝึกปฏิบัติ และLearning Gamesการนำเสนอผลงานหน้าห้องฝึกอบรม

 

อาจารย์ประภาภรณ์ พนัสพรประสิทธิ์

 

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์ประภาภรณ์ พนัสพรประสิทธิ์



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท20

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 เมษายน 2566 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-157-9083, 062-315-5283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 264 ครั้ง