บทนำ
ระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 เป็นระบบที่เป็นมาตรฐานสากลที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นระบบที่ให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารงานแต่ละกระบวนการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีหลายองค์กร ไม่ว่าธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ หน่วยราชการ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลและองค์กรอื่นๆ ล้วนนำระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ดังนั้น การขับเคลื่อนองค์กรตามระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 ให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งตัวแทนฝ่ายบริหารQMRเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลขับเคลื่อนระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015 เพื่อให้แต่ละกระบวนการมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพและโอกาสในการปรับปรุงพัฒนา ผ่านการประเมินประเด็นปัจจัยภายในและภายนอก วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม มีการประเมินความเสี่ยงขององค์กรและแต่ละกระบวนการ มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย กำหนดนโยบายคุณภาพ กำหนดระบบเอกสารสารสนเทศและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ผ่านการตรวจติดตามภายใน และการทบทวนฝ่ายบริหาร ด้วยการตรวจประเมินรับรองระบบจากผู้ตรวจสอบจากภายนอกCertified Bodiesอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 จะต้องเกิดจากความร่วมมือในการบริหารงานแต่ละกระบวนการตามข้อกำหนดISO9001:2015 ตามหลักการEngagement of Peopleหมายถึงความร่วมมือของบุคลากรในองค์กร ได้แก่บุคลากรระดับบริหาร โดยเฉพาะระดับผู้จัดการซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการ ดังนั้น สมควรอย่างยิ่งที่องค์กรจะส่งเสริมให้บุคลากรระดับผู้จัดการมือใหม่New Managersรวมถึงบุคลากรที่กำลังจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมือใหม่ มีความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 และแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายคุณภาพQuality Policyวัตถุประสงค์และเป้าหมายObjective & Targetและกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กร Business Strategy
หลักสูตร "ISO9001:2015 [QMS] AwarenessสำหรับManagerมือใหม่" ได้รวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญทั้งข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติจริงที่บุคลากรระดับผู้จัดการ จะต้องรับรู้และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพได้ดีเยี่ยม สามารถจัดทำเอกสารให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง ยกระดับการบริหารกระบวนการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล ตามข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพ ISO9001:2015 อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บุคลากรระดับผู้จัดการมือใหม่ เกิดความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 สามารถดำเนินการบริหารจัดการแต่ละกระบวนการให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล
2. เพื่อให้ผู้จัดการมือใหม่สามารถจัดทำเอกสารให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง สามารถบริหารจัดการให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จ ตามที่กำหนดไว้ สามารถบริหารจัดการให้การตรวจติดตามภายในมีประสิทธิภาพ สามารถจัดทำรายงานสำหรับการทบทวนฝ่ายบริหารได้อย่างครบถ้วน ถูกต้องเหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้จัดการมือใหม่สามารถเตรียมความพร้อมรองรับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบจากภายนอก Certified Bodiesสามารถสร้างความมั่นใจการบริหารจัดการแต่ละกระบวนการให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบ ISO9001:2015
4. เพื่อให้ผู้จัดการมือใหม่สามารถทำการบริหารจัดการแต่ละกระบวนการในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงแก้ไขและสามารถสร้างรากฐานความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ให้มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
วิธีการฝึกอบรม
1. บรรยายเนื้อหาหลักทฤษฏี
2. อธิบายตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน
3. Workshop เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติงานจริงได้
4. Pre-test, Post-test
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. Manager มือใหม่,ผู้ที่กำลังจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมือใหม่
2. ผู้จัดการฝ่ายมือใหม่,ผู้จัดการแผนกมือใหม่
3. หัวหน้าฝ่าย,หัวหน้าแผนกของแต่ละหน่วยงานที่จะแต่งตั้งเป็น Managerมือใหม่
4. DCC เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร ที่กำลังจะได้รับการแต่งตั้งเป็นManager มือใหม่
5. QMR ตัวแทนฝ่ายบริหารมือใหม่,ผู้บริหารมือใหม่, ผู้จัดการโรงงานมือใหม่
6. ผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจระบบISO9001:2015
เนื้อหาหลักสูตร
บทที่ 1: หลักการบริหารงานคุณภาพของระบบISO9001:2015
· TimelineของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015
· หลักพื้นฐานของระบบการบริหารคุณภาพQuality Management Principle
· วงจรPDCAกับระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015
บทที่ 2: ข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015
· บริบทขององค์กรContext of the Organization
· ความเป็นผู้นำLeadership
· การวางแผนPlanning
· การสนับสนุนSupport
· การปฏิบัติการOperation
· การประเมินสมรรถนะPerformance Evaluation
· การปรับปรุงImprovement
บทที่ 3: แนวทางปฏิบัติจริงตามระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015
· การวิเคราะห์ประเด็นปัจจัยภายใน/ภายนอกInternal & External Factors
· การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามSWOT Analysis
· การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
· การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงและโอกาสRisk & Opportunity
· การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายObjective & Target
· การกำหนดความรู้ความสามารถของบุคลากรในแต่ละกระบวนการ
· การสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมTraining Needs
· การประเมินผลและการบันทึกประวัติการฝึกอบรมTraining Evaluation & Records
· การสื่อสารและการประสานงานCommunication & Co-operation
บทที่ 4: ระบบเอกสารสารสนเทศDocumented Information
· ความสำคัญและความจำเป็นของระบบเอกสารสารสนเทศ
· ประเภทของเอกสารสารสนเทศในระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015
· เทคนิคการจัดทำคู่มือคุณภาพQuality Manual
· เทคนิคการจัดทำระเบียบปฏิบัติงานProcedure
· เทคนิคการจัดทำวิธีปฏิบัติงานWork Instruction
· ความสำคัญและความแตกต่างของFormและRecord
· ความสำคัญและตัวอย่างเอกสารสนับสนุนSupport Document
· เคล็ดลับการควบคุมเอกสารสารสนเทศ,รหัสเอกสาร, Master List, Holder List
· Workshop#1: จัดทำระเบียบปฏิบัติงานProcedureของกระบวนการหลักในองค์กร
บทที่ 5: แนวทางปฏิบัติในกระบวนการตามระบบISO9001:2015
· การวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงาน (ข้อกำหนด 8.1)
· ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ (ข้อกำหนด 8.2)
· การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ (ข้อกำหนด 8.3)
· การควบคุมกระบวนการ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับจากผู้จัดหาภายนอก (ข้อกำหนด 8.4)
· การควบคุมกระบวนการผลิตและบริการ (ข้อกำหนด 8.5)
· การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ (ข้อกำหนด 8.6)
· การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและกิจกรรมการแก้ไข (ข้อกำหนด 8.7)
บทที่ 6: เทคนิคการตรวจติดตามภายในInternal Quality Audit
· หลักเกณฑ์ในการตรวจติดตามภายในInternal Audit Criteria
· คุณสมบัติสำคัญของผู้ตรวจติดตามภายในInternal Auditor
· เทคนิคการจัดทำAudit Check List
· เทคนิคการถาม-การตอบในการตรวจติดตามภายใน
· สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการตรวจติดตามภายใน
· หลักเกณฑ์การตัดสินใจออกCAR/PAR
· วิธีการเขียนใบCAR/PARสำหรับข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะ
· แนวทางการแก้ไขปรับปรุง ป้องกัน และการปิดCAR/PAR
· Workshop#2: จัดทำAudit Check Listในการตรวจติดตามภายใน
บทที่ 7: การทบทวนฝ่ายบริหารManagement Review
· ประเด็นที่จะต้องรายงานในการทบทวนฝ่ายบริหารManagement Review Input
· สิ่งที่ได้รับจากการทบทวนฝ่ายบริหารManagement Review Output
· Workshop#3: จัดทำ รายงานในการทบทวนฝ่ายบริหารManagement Review
บทที่ 8: การเตรียมพร้อมรองรับการตรวจประเมินจาก Certify Bodies
· โปรแกรมการตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอกCertified Bodies
· เทคนิคการเตรียมพร้อมรองรับการตรวจประเมินจากภายนอก
· ตัวอย่างประเด็นที่มักถูกตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอกCertified Bodies
· วิธีการตอบและรับมือการตรวจประเมินจากCertified Bodiesอย่างมืออาชีพ
· ตัวอย่างNCและวิธีการตอบNCตามข้อกำหนดของระบบที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
บุคคลทั่วไป ท่านละ 4,000 บาท
สมาชิก / โอนเงินก่อน 1 สัปดาห์ ท่านละ 3,700 บาท
ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,400 บาท
ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,000 บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]