Public Training : เทคนิคการจัดทำข้อบังคับการทำงานตามกฎหมายแรงงาน (ฉบับสมบูรณ์-กระชับ-และเป็นปัจจุบัน

18 เมษายน 2567

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 108 : ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็น "ภาษาไทย" และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้

         (1) วันทำงาน / เวลาทำงานปกติ / และเวลาพัก

         (2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

         (3) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

         (4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง / ค่าล่วงเวลา / ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

         (5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา

         (6) วินัยและโทษทางวินัย

         (7) การร้องทุกข์

         (8) การเลิกจ้าง / ค่าชดเชย / และค่าชดเชยพิเศษ

 

ให้ "นายจ้าง" ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานที่ประกอบกิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา และให้ส่งสำเนาข้อบังคับให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 7 วัน นับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว

 

ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้นายจ้างแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ขัดต่อกฎหมายให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

 

ให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและดูได้โดยสะดวก

 

ทั้งนี้ ถ้านายจ้างผู้ใดไม่จัดทำข้อบังคับการทำงานตามกฎหมาย ก็จะมีระวางโทษปรับถึง 20,000 บาท (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 146) ดังนั้น นายจ้างต้องจัดทำ "ข้อบังคับการทำงาน" ให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ

 

หัวข้อการบรรยาย

         1. ข้อความทั่วไป

         2. เงื่อนไขการว่าจ้างและการบรรจุพนักงาน

         3. วันทำงาน เวลาทำงาน และเวลาพัก

         4. วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด

         5. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด

         6. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

         7. วันลา และหลักเกณฑ์การลา

         8. วินัยและโทษทางวินัย

         9. แนวทางในการพิจารณาโทษทางวินัย และการพักงาน

         10. การร้องทุกข์ และการพิจารณาข้อร้องทุกข์

         11. การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

         12. การโยกย้าย และการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่งาน

         13. บทเฉพาะกาล

 

ประเด็นสำคัญพิเศษ : อาทิ

ให้การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง และกรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดอายุการเกษียณให้นับว่า 60 ปี ถือเป็นการเกษียณอายุหรือไม่ และนายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่ หากนายจ้างที่จงใจฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินชดเชย จะต้องถูกลงโทษทั้งจำทั้งปรับ ทั้งคิดค่าดอกเบี้ยในการจ่ายเงินล่าช้าปีละ 15 % และสามารถคิดอัตราค่าปรับเพิ่มเติมอีก 15 % ของเงินต้นทุกๆ 7 วัน เป็นต้น

 

การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 118 กำหนดอัตราค่าชดเชย กรณีนายจ้างเลิกจ้าง สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไปได้ค่าชดเชย 400 วัน จากเดิมกำหนดไว้ 10 ปีขึ้นไปได้ค่าชดเชย 300 วัน

 

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 กำหนดให้ลูกจ้างเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตร เพิ่มเติมนอกเหนือจากการลาเพื่อคลอดบุตร

 

เพิ่มเติมมาตรา 59 โดยกำหนดให้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นหญิงมีครรภ์ในวันลา เพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตรด้วย กล่าวคือแรงงานหญิงจะไปตรวจครรภ์ก็สามารถลาและได้ค่าจ้างด้วยเช่นกัน ให้รวมทั้งค่าจ้างต้องจ่ายให้ตามกฎหมาย เป็นต้น

 

เพิ่มมาตรา 55/1 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพิ่มกิจธุระอันจำเป็น ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน ไม่ว่าจะลาบวชหรือลาเพื่อกิจธุระใดก็ตาม

 

รองศาสตราจารย์เพิ่มบุญ  แก้วเขียว

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ 4,500 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน 1 สัปดาห์ ท่านละ 4,000 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,500 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

18 เมษายน 2567 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 141 ครั้ง