Public Training : การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ AIAG-VDA 1st Edition

16 สิงหาคม 2567

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ในโลกแห่งการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันทุกๆองค์กรต่างพัฒนายกระดับคุณภาพของสินค้าของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับความต้องการและสามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า การควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในการที่จะทำให้องค์กรบรรลุถึงความต้องการดังกล่าวข้างต้นการควบคุมคุณภาพจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระบวนการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis) FMEAเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาความล้มเหลวในส่วนของขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อหาในหลักสูตรของ FMEAจะช่วยให้องค์กรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการเตรียมการเพื่อวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งการนำเทคนิคFMEAเข้ามาประยุกต์ใช้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการทำงาน

 

New FMEA Methods 7 steps (มาจากVDA)

1.     การวางแผนและเตรียมการ (Planning and Preparation)

2.     วิเคราะห์โครงสร้าง (Structure Analysis)

3.     วิเคราะห์หน้าที่ (Function Analysis)

4.     วิเคราะห์ความล้มเหลว (Failure Analysis)

5.     วิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)

6.     การจัดการให้ดีและเหมาะสมที่สุด (Optimization)

7.     การนำผลการวิเคราะห์ไปจัดทำเป็นเอกสาร (Results Documentation)

 

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1.      เพื่อให้เข้าใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ FMEA-VDA New Version 1St Edition

2.      เพื่อให้เข้าใจและทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานในการจัดทำ FMEA's

3.      เพื่อให้เข้าใจ Process - FMEAว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดข้อบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต

4.      เพื่อให้มีความเข้าใจในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบตามคู่มือมาตรฐานฉบับใหม่

5.      สามารถจัดทำProcess - FMEAที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดส่งมอบสู่ลูกค้า

 

เนื้อหาหลักสูตร / กำหนดการฝึกอบรม

·      ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ FMEA

·      วัตถุประสงค์ของ FMEA

·      ความหมายหมายของ FMEA

·      ประเภทของFMEA

·      การประยุกต์ใช้ FMEAตามมาตรฐานของระบบคุณภาพISO/TS16949:2009 (IATF 16949)

·      หลักการทำFMEAในแต่ละPhaseตามขั้นตอนAPQP

·      ประวัติความเป็นมาของการจัดทำ FMEAฉบับใหม่ (New FMEA-VDA 1St Edition)

·      รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงใน FMEAฉบับใหม่โดยเน้นในส่วนของPFMEA

·      วิธีการจัดทำFMEAแบบ7 ขั้นตอน (Seven Steps Approach) (New FMEA-VDA 1St Edition)

·      ตารางการประเมินคะแนนสำหรับผลกระทบ (Severity)โอกาสเกิด (Occurrence)และความสามารถในการตรวจจับ (Detection)

·      การจัดลำดับความความเสี่ยงด้วยตารางการจัดลำดับการดำเนินการ (Action Priority)

·      แบบฟอร์มใหม่ใน FMEAฉบับใหม่

·      การปรับเปลี่ยน FMEAปัจจุบันให้สอดคล้องกับFMEAฉบับใหม่

·      ข้อกำหนดเฉพาะลูกค้าสำหรับการใช้ FMEAฉบบัใหม่

·      ภาพรวมการวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ

·      วิธีการเขียนFMEAภาคปฏิบัติ

·      เทคนิคการลงบันทึกในเอกสาร FMEAฉบับใหม่

·  แนวคิดและเทคนิคของ Process FMEAและวิธีการนำไปใช้กับขั้นตอนการออกแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์

·      เกณฑ์การประเมินและให้คะแนนของค่าความรุนแรง,โอกาสเกิด และการตรวจจับตามคู่มือFMEA ฉบับใหม่

·      กรณีศึกษา + แบ่งกลุ่มทำWork shopและอภิปราย

 

ลักษณะการอบรม :

1.การบรรยายสื่อสาร2 ทาง โดยทฤษฎี40 %ปฏิบัติ60 %

2.ทำWorkshopกิจกรรมกลุ่ม

 

ระยะเวลา: หลักสูตร1 วัน  (6 ชั่วโมง)

 

อาจารย์พิทักษ์ บุญชม

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียนOnline คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]

โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

16 สิงหาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 062-3155283,02-1579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4,000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 125 ครั้ง