Public Training : การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และกระบวนการการอนุมัติชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ (APQP & P

26 กันยายน 2567

IATF16949 คือ ระบบการจัดการด้านคุณภาพเทคนิคเฉพาะด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชื่อมโยงกับ มาตรฐาน ISO9001,โดยสามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นมาตรฐานสำหรับ โรงงานออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์  วิจัยและพัฒนา ผลิต ติดตั้ง หรือ บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ และ ชิ้นส่วนของยานยนต์ โดยการรับรองมาตรฐานISO/TS16949 นั้นเป็นข้อกำหนดสำคัญที่ถูกพัฒนาโดย สถาบันInternational Automotive Task Force ( IATF ),ซึ่งพัฒนาให้สอดคล้องไปกับ การพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกTS16949 ถูกพัฒนาตั้งแต่ คศ 1999 โดยIATFซึ่งได้ทำงานร่วมกับ ISO/TC176 ผู้เขียน มาตรฐานISO9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการรถยนต์ โดยมาตรฐานนี้มีเครื่องมือสำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้และเอาไปใช้ได้ เขาเรียกว่าCore Toolsที่ประกอบด้วย

 

ISO/TS16949:Core Tools

1.Advanced Product Quality Planning - APQP :การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า

2.Failure Mode and Effect Analysis - FMEA :การวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายและผลกระทบ

3.Statistical Process Control - SPC :การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ

4.Measurement System Analysis - MSA :การวิเคราะห์ระบบการวัด

5.Product Part Approval Process - PPAP :กระบวนการการอนุมัติชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์

 

AIAGได้จัดทำข้อกำหนด การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าAdvance Product Quality Planning (APQP) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers)ทุกลำดับขั้นได้นำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในองค์กรตามข้อกำหนด ISO/TS16949 (IATF16949) หลังจากที่ได้รับDrawingชิ้นงานตัวอย่าง และข้อกำหนดต่างๆ จากลูกค้าแล้ว ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้รับจ้างช่วงผลิตSuppliersนั้นในแต่ละขั้นตอน มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่เราจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบ การออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิต ขั้นตอนการTrialในแต่ละเฟส ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ (ทางกายภาพและสารปนเปื้อน) การยืนยันกระบวนการผลิต ไปจนถึงMass Production และที่สำคัญคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ดังนั้น

 

หลังจากที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จนได้คุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าแล้ว การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิตProduction Part Approval Process (PPAP)ภายใต้กรอบPPAP-AIAG ManualระดับการSubmissionเอกสาร และตามข้อกำหนดของลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นเอกสารที่มีผลตามข้อกำหนดของกฎหมาย

 

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1.      เพื่อให้เข้าใจหลักการดำเนินการขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่APQPตามข้อกำหนดAIAG

2.      เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการตีความข้อกำหนดตีความข้อกำหนดและจัดทำAPQPและขั้นตอนการทำPPAPตามAIAG Manualและข้อกำหนดลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

3.      เพื่อให้เข้าใจและทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานในการจัดทำAPQP & PPAP

4.      เพื่อให้สามารถตีความข้อกำหนดAPQP & PPAP ตามAIAG Manualได้อย่างถูกต้อง

5.      เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทำเอกสารPPAPทั้ง 18 Elementและยื่นSubmissionกับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

6.      เพื่อผู้เข้าอบรมมองภาพรวมและสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้อง

 

หัวข้อการสัมมนา

1.Advanced Product Quality Planning - APQP :การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า

ขั้นตอนหลักการทำAQAPดังนี้

1.     แต่งตั้งทีมงาน ที่อาจจะเป็นหลายทีม ของแบบนี้ต้องทำงานเป็นทีมครับ ก็ทีมCFAที่ผมเขียนไว้แล้วนั่นแหละ แต่ละทีจะต้องมาจากหลายหน่วยงานนะ ครับ มันจึงจะเป็นCFT (Cross Functional Team)ได้

2.      กำหนดขอบข่ายที่จะทำให้ชัดเจน

3.      วางระบบการสื่อสารระหว่างทีมงาน และการสื่อสารภายในอื่นๆ

4.     เริ่มวางระบบ โดยต้องมีลูกค้า ผู้ส่งมอบ และผู้รับจ้างช่วง หรือsubcontractor เข้าร่วมด้วย

การทำAPQPจะแบ่งออกเป็น 5 เฟส ดังนี้

1.     เฟสที่ 1 การวางแผนและระบุโปรแกรม -Plan and Define Program

2.     เฟสที่ 2 การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ -Product Design and Development

3.     เฟสที่ 3 การออกแบบและการพัฒนากระบวนการ -Process Design and Development

4.     เฟสที่ 4 การยืนยันความถูกต้องของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ -Product and Process Validation

5.     เฟสที่ 5 การป้อนกลับ การประเมิน และการปฏิบัติการแก้ไข -Feedback, Assessment and Corrective Action

 

2.Production Part Approval Process (PPAP)หรือ "การยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต"

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.     PPAP Submission Prototype Stages (การทดลองการผลิตชิ้นงานต้นแบบ)

2.     PPAP Submission Pre-Lunch Stages (การทดลองการผลิตเสมือนจริง)

3.     PPAP Submission Mass Production Stages (ผลิตจริง)

การจัดทำเอกสาร ระดับการSubmissionทั้งหมดตามข้อกำหนด PPAPและOEM

1.     Level1 -Part Submission Warrant (PSW) only submitted to the customer

2.     Level2 -PSW with product samples and limited supporting data

3.     Level3 -PSW with product samples and complete supporting data

4.     Level4 -PSW and other requirements as defined by the customer

5.     Level5 -PSW with product samples and complete supporting data available for review at the supplier's manufacturing location

 

ระยะเวลาในการอบรม 1 วัน (6 ชั่วโมง)

 

รูปแบบการอบรม     

บรรยาย 60 %

กิจกรรม 40 %

 

อาจารย์อนันต์ ภูพันคำ

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย 15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ 4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน 1 สัปดาห์ ท่านละ 3,700 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,400 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

26 กันยายน 2567 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 81 ครั้ง