IATF 16949 คือ
ระบบการจัดการด้านคุณภาพเทคนิคเฉพาะด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชื่อมโยงกับ มาตรฐาน
ISO 9001,โดยสามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นมาตรฐานสำหรับ
โรงงานออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์
วิจัยและพัฒนา ผลิต ติดตั้ง หรือ บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ และ
ชิ้นส่วนของยานยนต์ โดยการรับรองมาตรฐานISO/TS 16949
นั้นเป็นข้อกำหนดสำคัญที่ถูกพัฒนาโดย สถาบันInternational
Automotive Task Force ( IATF ),ซึ่งพัฒนาให้สอดคล้องไปกับ
การพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกTS 16949
ถูกพัฒนาตั้งแต่ คศ1999 โดยIATFซึ่งได้ทำงานร่วมกับISO/TC 176 ผู้เขียน
มาตรฐานISO 9001
ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการรถยนต์
โดยมาตรฐานนี้มีเครื่องมือสำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้และเอาไปใช้ได้ เขาเรียกว่าCore Toolsที่ประกอบด้วย
ISO/TS 16949: Core Tools
1. Advanced Product Quality Planning - APQP :การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า
2. Failure Mode and Effect Analysis - FMEA :การวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายและผลกระทบ
3. Statistical Process Control - SPC :การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ
4. Measurement System Analysis - MSA :การวิเคราะห์ระบบการวัด
5. Product Part Approval Process - PPAP :กระบวนการการอนุมัติชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์
AIAGได้จัดทำข้อกำหนด การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าAdvance Product Quality Planning (APQP) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers)ทุกลำดับขั้นได้นำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในองค์กรตามข้อกำหนด ISO/TS 16949 (IATF 16949) หลังจากที่ได้รับ Drawingชิ้นงานตัวอย่าง และข้อกำหนดต่างๆ จากลูกค้าแล้ว ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้รับจ้างช่วงผลิตSuppliersนั้นในแต่ละขั้นตอน มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่เราจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบ การออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิต ขั้นตอนการTrialในแต่ละเฟส ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ (ทางกายภาพและสารปนเปื้อน) การยืนยันกระบวนการผลิต ไปจนถึงMass Production และที่สำคัญคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ดังนั้น
หลังจากที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จนได้คุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าแล้ว การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิตProduction Part Approval Process (PPAP)ภายใต้กรอบPPAP-AIAG ManualระดับการSubmissionเอกสาร และตามข้อกำหนดของลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นเอกสารที่มีผลตามข้อกำหนดของกฎหมาย
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการดำเนินการขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ APQPตามข้อกำหนดAIAG
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการตีความข้อกำหนดตีความข้อกำหนดและจัดทำ APQPและขั้นตอนการทำPPAPตามAIAG Manualและข้อกำหนดลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้เข้าใจและทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานในการจัดทำ APQP & PPAP
4. เพื่อให้สามารถตีความข้อกำหนด APQP & PPAPตามAIAG Manualได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทำเอกสาร PPAPทั้ง18 Elementและยื่นSubmissionกับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
6. เพื่อผู้เข้าอบรมมองภาพรวมและสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการสัมมนา
1. Advanced Product Quality Planning - APQP :การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า
ขั้นตอนหลักการทำAQAPดังนี้
1. แต่งตั้งทีมงาน ที่อาจจะเป็นหลายทีม ของแบบนี้ต้องทำงานเป็นทีมครับ ก็ทีมCFAที่ผมเขียนไว้แล้วนั่นแหละ แต่ละทีจะต้องมาจากหลายหน่วยงานนะ ครับ มันจึงจะเป็นCFT (Cross Functional Team)ได้
2. กำหนดขอบข่ายที่จะทำให้ชัดเจน
3. วางระบบการสื่อสารระหว่างทีมงาน และการสื่อสารภายในอื่นๆ
4. เริ่มวางระบบ โดยต้องมีลูกค้า ผู้ส่งมอบ และผู้รับจ้างช่วง หรือsubcontractor เข้าร่วมด้วย
การทำAPQPจะแบ่งออกเป็น5 เฟส ดังนี้
1. เฟสที่1 การวางแผนและระบุโปรแกรม -Plan and Define Program
2. เฟสที่2 การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ -Product Design and Development
3. เฟสที่3 การออกแบบและการพัฒนากระบวนการ -Process Design and Development
4. เฟสที่4 การยืนยันความถูกต้องของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ -Product and Process Validation
5. เฟสที่5 การป้อนกลับ การประเมิน และการปฏิบัติการแก้ไข -Feedback, Assessment and Corrective Action
2. Production Part Approval Process (PPAP)หรือ "การยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต"
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. PPAP Submission Prototype Stages (การทดลองการผลิตชิ้นงานต้นแบบ)
2. PPAP Submission Pre-Lunch Stages (การทดลองการผลิตเสมือนจริง)
3. PPAP Submission Mass Production Stages (ผลิตจริง)
การจัดทำเอกสาร ระดับการSubmissionทั้งหมดตามข้อกำหนด PPAPและOEM
1. Level 1 - Part Submission Warrant (PSW) only submitted to the customer
2. Level 2 - PSW with product samples and limited supporting data
3. Level 3 - PSW with product samples and complete supporting data
4. Level 4 - PSW and other requirements as defined by the customer
5. Level 5 - PSW with product samples and complete supporting data available for review at the supplier's manufacturing location
ระยะเวลาในการอบรม1 วัน (6 ชั่วโมง)
รูปแบบการอบรม
บรรยาย60 %
กิจกรรม40 %
อาจารย์อนันต์ ภูพันคำ
โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย15
บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท
สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท
ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท
ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283