Public Training : การบริหารงาน-บริหารคน ของนายจ้างในบริษัทเอกชน

28 มิถุนายน 2567

วัตถุประสงค์ของการอบรมสัมมนา

·    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบ และเข้าใจแนวทาง การเขียนสัญญาจ้างตำแหน่งงานต่างๆ การออกระเบียบปฏิบัติ การออกหนังสือเป็นประกาศ หรือออกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่ขัด หรือแย้งต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและฎหมายแรงงาน

·    เพื่อให้นายจ้าง ผู้บริหาร หรือผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริง ต่อการใช้เทคนิคในการสอบสวนความผิดทางวินัย ต่อการจัดทำบันทึกข้อตกลง การออกหนังสือเตือน หนังสือเลิกจ้าง หรือให้สิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างต่างๆ เขียนให้ดีมีเนื้อหา หรือให้มีข้อความที่คอบคุมความผิด ให้มีผลทางกฎหมายแรงงานต้องเขียนอย่างไร..?

 

หัวข้อของการอบรมสัมมนา

1.การทำสัญญาจ้างพนักงาน ต้องกำหนดการทดลองงาน การขยายรระยะเวลาการทดลองงาน การจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการอย่างไร?

2.ทำสัญญาจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เมื่อถึงวันทำงานลูกจ้างไม่มาทำงานหรือนายจ้างไม่รับเข้าทำงานจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร?

3.รับลูกจ้างเข้าทำงานด้วยวาจา ด้วยลายลักษณ์อักษร บอกเลิกจ้างด้วยวาจา ด้วยลายลักษณ์อักษร มีผลตามกฎหมายอย่างไร?

4.นายจ้างกำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าสวัสดิการให้ลูกจ้างอย่างไร...ไม่ให้มีผลต่อการเอาไปรวมเป็นค่าจ้าง (ในกรณีออกจากงาน)

5.ลูกจ้างมาทำงานสายบ่อยๆ หักค่าจ้างโดยไม่ให้ผิดกฎหมายแรงงาน ต้องปฏิบัติอย่างไร..ลงโทษ/เลิกจ้างต้องทำอย่างไร?

6.การจ้างแรงงานตำแหน่งงานแม่บ้านที่ทำงานในออฟฟิศ ต้องกำหนดเงื่อนไขการจ้าง สภาพการจ้างและจ่ายสวัสดิการอย่างไร?

7.การเขียนสัญญาจ้าง การกำหนดค่าจ้าง สวัสดิการพนักงานในตำแหน่งฝ่ายการขายสินค้า (เซลล์ขายสินค้า) ต้องกำหนดอย่างไร?

8.เมื่อผ่านการทดลองงานแล้ว ต้องกำหนดเงื่อนไขการจ่ายสวัสดิการ หรือข้อห้ามไว้ในสัญญาจ้างตามข้อบังคับฯอย่างไร?

9.ในกรณีนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อกฎหมายนำไปปฏิบัติไม่ได้ (เป็นโมฆะ) คือการทำสัญญาจ้างอย่างไร?

10.ตำแหน่งงานที่นายจ้างมีสิทธิ์เรียกรับเงินประกันการทำงาน หรือต้องมีผู้ค้ำประกันการทำงานมีตำแหน่งงานใดบ้าง?

11.การเขียนสัญญาจ้างที่ปรึกษาด้านต่างๆ เขียนให้มีผลในสภาพการจ้างที่ไม่ผูกพันกับกฎหมายแรงงานต้องเขียนอย่างไร?

12.การทำสัญญาจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรง (outsource)เพื่อให้นำแรงงานเข้ามาทำงานให้กับองค์กรต้องกำหนดอย่างไร?

13.การจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการ ลงโทษหรือเลิกจ้าง พนักงานของบริษัท (outsource)ที่ส่งมาทำงานในองค์กรต้องกำหนดอย่างไร?

14.กรณีลูกจ้างลาออกแล้วปฏิบัติงานไม่ถึง30 วันตามที่กำหนดไว้ในหนังสือลาออก ต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร?

15.เมื่อลูกจ้างออกจากงานนายจ้างไม่ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายต่อลูกจ้างอย่างไร?

16.ในแต่ละปีลูกจ้าง ลากิจ ลาป่วยมาก (ลาป่วยเท็จ)นายจ้างมีนโยบายเลิกจ้าง การเตรียมความพร้อมต้องจัดการอย่างไร?

17.การเขียนระเบียบปฏิบัติ การลากิจ การลาพักผ่อน หรือวันลาพักผ่อนที่สะสม ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การลาอย่างไร?

18.การเขียนระเบียบปฏิบัติการลาป่วย เพื่อให้นายจ้างมีสิทธิ์เข้าตรวจสอบวันลาป่วยของลูกจ้างได้ ต้องกำหนดอย่างไร?

19.การเขียนระเบียบการจ่ายเงินโบนัสประจำปี เพื่อให้มีผลต่อการทำผิดวินัยในการทำงานและบวกได้ลบได้ ต้องเขียนอย่างไร?

20.ใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์โนตบุ๊ค ในเวลาทำงาน อันมิใช่เรื่องจากการทำงาน การลงโทษ หรือจะเลิกจ้างต้องทำอย่างไร?

21.การออกหนังสือลงโทษพนักงานทำผิดวินัย เช่น หนังสือตักเตือน หรือสั่งพักการทำงาน ต้องระบุความผิดอย่างไร?

22.กรณีพนักงานไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมลงนามในหนังสือลงโทษทางวินัย (หนังสือเตือน) นายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

23.กรณีขับรถรับ ส่งสินค้าประวิงเวลาเพื่อเรียกค่า (OT)หรือนำรถยนต์ของนายจ้างไปใช้ส่วนตัว ลงโทษลูกจ้างอะไรได้บ้าง?

24.เมื่อนายจ้างส่งลูกจ้างไปอบรมสัมมนา กรณีลูกจ้างไม่เข้ารับการอบรมเต็มเวลาตามที่สถาบันกำหนด ลงโทษอะไรได้บ้าง?

25.กรณีเครื่องจักรเกิดปัญหาในการใช้งาน ได้ทำการสอบสวนแล้วพบว่าขาดการบำรุงรักษา ลงโทษทางวินัยใครได้บ้าง?

26.กรณีส่งสินค้าตามเวลากำหนด ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพของตีกลับ มีความเสียหายเกิดขึ้นเป็นแสนๆ ลงโทษใครได้บ้าง?

27.กรณีหัวหน้างานมีพฤติกรรมเรียก หรือรับเอาทรัพย์สินอื่นใด กับผู้มาติดต่องานกับนายจ้าง ลงโทษทางวินัยอะไรได้บ้าง?

28.ระดับผู้บริหารปฏิบัติงานไม่ได้คุณภาพ ขาดความรับผิดชอบไม่ปฏิบัติงานตามคำสั่ง มีนโยบายเลิกจ้างต้องทำอย่างไร?

29.มีคำสั่งย้ายระดับผู้จัดการไปปฏิบัติงานตามหน่วยงาน ตามสาขาฯลูกจ้างไม่ไปตามคำสั่งนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

30.ผู้บริหารอนุมัติการเบิกจ่ายค่าต่างๆไม่เป็นไปตามความจริง เทคนิคการสอบความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย ต้องทำอย่างไร?

31.ผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน อนุมัติการลางานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ (เป็นอาจิณ) จะมีความผิดอย่างไร?

32.กรณีลูกจ้างในบริษัทฯนำความลับทางการค้าของนายจ้างไปเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอก จะมีความผิดทางวินัยอย่างไร?

33.ทำความเสียหายแล้วออกจากงานไป ค่าจ้าง เงินประกัน หรือการรับผิดในทางค้ำประกันจะรับผิดตามกฎหมายอย่างไร..?

34.ผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน การกำหนดความผิดทางวินัยเป็นกรณีที่ร้ายแรง หรือเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงพิจารณาจากอะไร?

35.ทำผิดร้ายแรงนายจ้างไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างลาออกการป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลภายหลัง ต้องทำบันทึกข้อตกลงอย่างไร?

36.การออกหนังสือเลิกจ้าง กรณีลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรง เขียนให้มีผลในการต่อสู้คดีในชั้นศาลแรงงาน ต้องเขียนอย่างไร?

37.การออกหนังสือเลิกจ้างพนักงานที่เกษียณงานก่อนกำหนด (ให้ออกตามโครงการจากกันด้วยดี) ต้องดำเนินการอย่างไร?

38.เมื่อเปลี่ยนนายจ้างใหม่ เปลี่ยนนิติบุคคล ในกรณีนายจ้างตั้งกฎขึ้นมาใหม่เมื่อลูกจ้างไม่เห็นด้วย นายจ้างต้องทำอย่างไร?

39.กรณีลูกจ้างเข้าร้องทุกข์ต่อผู้ตรวจแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องเงินต่างๆ นายจ้างต้องเตรียมหมัดเด็ดอย่างไร?

40.เมื่อนายจ้าง แก้ไข ปรุบปรุง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน ต้องดำเนินการอย่างไร?

·    ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหารงานบุคคล - บุคคลทั่วไป

·    ถาม - ตอบ - แนะนำ...ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา " ฟรี " ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย

 

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

28 มิถุนายน 2567 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 133 ครั้ง