Public Training : การนำเข้าและจ้างแรงงานต่างด้าว...อย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU.

11 ตุลาคม 2567

วัตถุประสงค์

·    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และมีความเข้าใจสามารถนำแรงงานต่างด้าวที่ผ่านระบบ MOU.หรือผ่านบริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมายหรือกรณีมีลูกจ้างมาสมัครงานเองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติก็จะสามารถรับเข้าและตรวจสอบเอกสารหรือนำ แรงงานไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

·    เพื่อให้ทราบถึงการดำรงรักษาแรงงานทีดี ให้อยู่กับองค์กรได้นานๆและบริหาร จัดการให้แรงงานต่างด้าวปฏิบัติตนให้ถูกกฎหมายหรือนำกฎหมายแรงงานไปบังคับใช้กับพนักงานได้อย่างถูกต้อง

·    เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปบริหารจัดการกับปัญหาทีเกิดขึ้นทั้งในองค์กรและนอกองค์กรกรณีแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวเกิดปัญหาขณะปฏิบัติงานร่วมกันให้ปัญหานั้นยุติลงได้และให้อยู่ร่วมกันอย่างมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

 

หัวข้อในการอบรม

1.ปัญหาที่ทำให้นายจ้างต้องจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กรมาจากอะไร.?

2.การนำแรงงานต่างด้าวที่ผ่านระบบMOU.เข้ามาทำงานโดยนายจ้างนำเข้ามาเองหรือนำเข้าผ่านบริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศมีขั้นตอนของการนำเข้าอย่างไร..?

การเตรียมเอกสารของบริษัทฯ - ของนายจ้าง - การติดต่อบริษัทฯนำเข้าแรงงานต่างด้าว - การทำสัญญาจ้าง - การยื่นคำร้องต่อภาครัฐ - การส่งเอกสารไปที่ประเทศต้นทาง - การรับสมัครงาน - คัดเลือก - การชำระค่าคำขอ - ค่าธรรมเนียม - วางเงินประกัน - การแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง - การรับต่างด้าวที่ศูนย์รับแรกเข้า - การอบรมต่างด้าว - การออกวีซ่า - ออกหนังสือใบอนุญาตทำงาน - การส่งมอบแรงงานต่างด้าว - การแจ้งที่พัก - การตรวจร่างกาย - การแจ้งการจ้างคนต่างด้าว การรายงานตัว

3.การจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานในองค์กรจ้างให้ถูกกฎหมายต้องดำเนินการอย่างไร..?

4.บทลงโทษ  นายจ้าง กรณีทำผิดกฎหมาย พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง - ทางอาญา อย่างไร..?

5.บทลงโทษ  ลูกจ้างแรงงานต่างด้าว -บริษัทนำเข้า - กรณีทำผิดกฎหมาย พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง - ทางอาญา อย่างไร..?

6.ผู้ที่หลอกลวงแอบอ้างผู้อื่นว่าสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับ นายจ้างในประเทศได้หรือหาแรงงานต่างด้าวให้กับนายจ้างได้จะมีความผิดได้รับโทษทางแพ่ง-ทางอาญา อย่างไร..?

7.ผู้ที่สนับสนุนการทำผิดกรณีหลอกลวงแอบอ้างการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง - ทางอาญา อย่างไร..?

8.ค่าใช้จ่าย ในการจ้างบริษัทนำเข้า-จ่ายให้หน่วยงานภาครัฐเพื่อการนำเข้าแรงงานระบบMOU. -ระบบพิสูจน์สัญชาติมีอัตราเท่าใด..?

9.จ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านบริษัทรับเหมาoutsourceโดยมาจากระบบMOU. หรือผ่านระบบพิสูจน์สัญชาติ นายจ้างทำได้หรือไม่..?

10.ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำแรงงาน -ไทย -พม่า - ลาว และกัมพูชาหรือในประเทศอาเซียน มีอัตราและแตกต่างกันอย่างไร..?

11.ต่างด้าว3 สัญชาติที่ผ่านระบบMOU.และผ่านการพิสูจน์สัญชาติมีสิทธิ์ทำงานประเภทใดบ้าง..?

12.ต่างด้าว3 สัญชาติขณะทำงานในราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานตาม พ.ร.ก. อะไรบ้าง.?

13.ต่างด้าวที่ผ่านระบบMOU.ต้องการเปลี่ยนนายจ้างใหม่ จะต้องมีองค์ประกอบตามกฎหมาย อะไรบ้าง..?

14.หน้าที่ของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างต่างด้าวขณะปฏิบัติงานและอยู่ในเวลาสัญญาจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?

15.การนำแรงงานต่างด้าวระดับฝีมือชำนาญการเข้ามาทำงานกับนายจ้างอย่างถูกกฎหมายมีขั้นตอนการนำเข้าอย่างไร..?

16.บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมีความมั่นคงและมีบทบาทหน้าที่ - มีความรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างอย่างไร..?

17.แรงงานต่างด้าว3 สัญชาติ ที่เข้ามาทำงานกับนายจ้างแรงงานชาติใด.. ทำงานถูกใจนายจ้างมากที่สุด (ในภาพรวม)

18.แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวปฏิบัติงานหรือปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไร..?

19.กรณีต่างด้าวไปทำงานนอกพื้นที่ - ไปทำงานตามสาขา - ไปตามไซด์งานที่เป็นธุรกิจของนายจ้างและเมื่อพบปัญหากรณีมีหน่อยงานภาครัฐเข้าตรวจสอบ ต้องดำเนินงานอย่างไร..?

20.การจ้างแรงงานต่างด้าวขณะปฏิบัติงานปัญหาที่พบมากที่สุดมีอะไรบ้าง..?

21.กรณีนายจ้างจัดที่พักให้ต่างด้าว กรณีต่างด้าวแอบเอาญาติหรือผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองมาพักอยู่ด้วย - นายจ้าง - ต่างด้าว - ผู้อาศัย - จะมีความผิดอย่างไร..?

22.จ้างแรงงานต่างด้าวให้ค่าจ้าง สวัสดิการแตกต่างไปจากแรงงานไทยทำได้หรือไม่... เพราะอะไร..?

23.กรณี แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวชกต่อยกัน (เป็นกรณีร้ายแรง) นายจ้างเลิกจ้างคนเดียวทำได้หรือไม่. เพราะอะไร..?

24.นายจ้างนำหน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจร่างกายพนักงานเพื่อหาสารเสพติดพบลูกจ้างไทยหรือต่างด้าวมีสารเสพติดในร่างกายเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 (เป็นยาบ้า) นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่.. เพราะอะไร..?

25.ในกรณีลูกจ้างไทยหรือต่างด้าวชุมนุมในเวลางานเพื่อกดดันนายจ้างในการจ่ายโบนัสประจำปีผู้บริหารงานบุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร.?ให้ปัญหายุติลง

26.การออกหนังสือเตือนการทำผิดให้พี่ไทยหรือต่างด้าวเขียนให้ดี ให้มีผลต่อการผิดซ้ำคำเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา119 (4)ให้มีผลต่อการถูกเลิกจ้างและยกขึ้นต่อสู้คดีในชั้นศาลได้ต้องเขียนอย่างไร.?

27.ลูกจ้างไทย - ต่างด้าวทำผิดวินัยในการทำงานไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน ผู้บริหาร หัวหน้างาน ต้องจัดการอย่างไร..?

28.ในวันหยุดนายจ้างหรือหัวหน้างานให้ต่างด้าวไปทำงานที่บ้านตนเองเพื่อต่อเติมบ้านโดยจ่ายค่าจ้างให้ทำได้หรือไม่เพราะอะไร..?

29.การแต่งตั้งแรงงานต่างด้าวเพื่อการสื่อสาร (เพื่อทำหน้าที่เป็นล่าม) หรือเพื่อให้แก้ปัญหาต่างๆ ให้กับองค์กร

30.กรณีต่างด้าวลางานกลับภูมิลำเนาหลายวันหรือไปเยี่ยมญาตินอกพื้นที่ทำงานต้องแจ้ง (สตม.) หรือดำเนินการอย่างไร..?

31.การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมและสิทธิต่างๆ ที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตาม พ.ร.ก. ต่างด้าวมีสิทธิอะไรบ้าง..?

32.การกระทำอันไม่เป็นธรรมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวมีลักษณะของการกระทำอย่างไร..?

33.นายจ้างได้กำหนดวันให้ลูกจ้างลาหยุดพักผ่อนประจำปีภายในปีให้หมดเมื่อลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิลาตามที่นายจ้างกำหนด ทำไม...... (นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้) ในกรณีนายจ้างไม่ได้กำหนดวันให้ลูกจ้างลาและลูกจ้างก็ไม่ได้ลาลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือไม่..?

34.กรณีทำสัญญาจ้างงานปีต่อปีเมื่อครบ1 ปีแล้วมีการต่อสัญญากันใหม่เมื่อสิ้นสุดสัญญา ฉบับสุดท้ายแล้วไม่มีการจ้างกันต่อไปอีกลูกจ้างมีสิทธิได้รับสิทธิค่าชดเชย - ค่าเสียหายหรือไม่ เพราะอะไร..?

35.นายจ้างทำสัญญาจ้าง-ออกคำสั่งให้ลูกจ้างไทยหรือให้ลูกจ้างต่างด้าวที่ขัดต่อกฎหมายไม่มีผลบังคับใช้ (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?

36.สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เมื่อลูกจ้างออกจากงานมักจะเอาไปรวมกับค่าจ้างเพื่อเป็นฐานของค่าจ้างมีสวัสดิการอะไรบ้าง..?

37.ความผิดที่นายจ้างพิจารณาลงโทษทางวินัยเป็นกรณีร้ายแรงและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ เป็นความผิดลักษณะใดๆ

38.การออกหนังสือเลิกจ้างที่มีความผิดทางวินัยเป็นกรณีร้ายแรงตาข้อบังคับในการทำงาน ตามระเบียบปฏิบัติหรือตามคำสั่งต่างๆ ต้องให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างและต้องระบุเป็นการปฏิบัติตนผิดกรณีอะไรบ้าง..?

39.การสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของแรงงานต่างด้าวมีกรณีใดบ้าง..และนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร..?

40.ในกรณีลูกจ้างไทยฟ้องนายจ้าง - แรงงานต่างด้าวฟ้องนายจ้าง -นายจ้างฟ้องลูกจ้าง (กรณีที่ฟ้องในกรณีต่างๆ) คดีเกิดขึ้นในศาลแรงงาน ผู้บริหารต้องเตรียมหมัดเด็ดอย่างไร..?

·    ถาม - ตอบ - แนะนำ ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - บุคคลทั่วไป

 

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย15

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน1 สัปดาห์ ท่านละ3,700 บาท

ลงทะเบียน3 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,400 บาท

ลงทะเบียน5 ท่านขึ้นไป ท่านละ3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

11 ตุลาคม 2567 09.00 - 16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 062-3155283, 02-1579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 113 ครั้ง