Public Training : การจัดทำและควบคุมเอกสารสำหรับ ISO ทุกระบบ (Document Control for Any ISO)

11 พฤศจิกายน 2567

บทนำ

ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมถึงหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจทั้งมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ได้มีการนำระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการในองค์กร เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ทิศทางและกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร และสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ซึ่งระบบการบริหารจัดการที่ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับระดับโลก ได้แก่ระบบการบริหารจัดการที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานInternational Organization for Standardizationซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับแต่ละระบบ อาทิ

·        ISO9001:2015 ระบบการบริหารคุณภาพQuality Management System

·        ISO14001:2015 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมEnvironmental Management System

·        ISO45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยOccupational Health & Safety Management System

·        ISO50001:2018 ระบบการจัดการพลังงานEnergy Management System

·        IATF16949:2016 ระบบการบริหารคุณภาพสำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์

"การจัดทำและควบคุมเอกสารDocument Control" นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการนำระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานสากลข้างต้นนี้มาประยุกต์ใช้ โดยมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารและการควบคุมเอกสาร ซึ่งระบุเป็นข้อกำหนด 7.5 ว่าด้วยเรื่องเอกสารสารสนเทศDocumented InformationของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 เพื่อใช้เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการจัดทำเอกสาร และการปรับปรุงให้ทันสมัยCreating & Updatingตามข้อกำหนด 7.5.2 และการควบคุมเอกสารสารสนเทศControl of Documented Informationตามข้อกำหนด 7.5.3 เพื่อใช้เป็นคู่มือการบริหารจัดการManualระเบียบปฏิบัติงาน ProcedureวิธีปฏิบัติงานWork Instructionแบบฟอร์มForm /บันทึกRecordและเอกสารสนับสนุนSupport Documentสำหรับระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลอื่นๆ ก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้นำหลักการและแนวปฏิบัติเรื่องเอกสารสารสนเทศDocumented Informationข้อกำหนด 7.5 ของระบบการบริหารคุณภาพISO9001:2015 นี้ ไปบังคับใช้ในหลักการและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

สำหรับหลักสูตร "การจัดทำและควบคุมเอกสารDocument ControlสำหรับISOทุกระบบ" นี้เป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องเอกสารสารสนเทศ Documented Informationของแต่ละระบบ อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทั้งการจัดทำและการปรับปรุงให้ทันสมัยCreating & Updatingการจัดทำคู่มือของระบบ ได้แก่ คู่มือคุณภาพQuality Manual,คู่มือสิ่งแวดล้อมEnvironmental Manualและคู่มือระบบการบริหารจัดการอื่นๆ การเขียนระเบียบปฏิบัติงานProcedure,วิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instruction,การกำหนดแบบฟอร์ม FormการกำหนดเอกสารสนับสนุนSupport Documentสำหรับแต่ละกระบวนการ รวมถึงการควบคุมเอกสารControl of Documented Informationการกำหนดรูปแบบ รหัสเอกสาร การจัดทำMaster List, Holder Listการจัดทำและการใช้ใบ DARการขอออกเอกสารใหม่New Issueการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง Revise - ChangeการขอยกเลิกเอกสารในระบบCancelled Documentการกำหนดตารางควบคุมบันทึกคุณภาพ การบันทึกการเปลี่ยนแปลงเอกสารRevision Record การขออนุมัติทำลายเอกสารในระบบ เอกสารควบคุมและเอกสารไม่ควบคุมControl & Uncontrol Documentการเก็บสำรองข้อมูลBack upและการจัดเก็บเอกสารทางอิเล็คทรอนิกส์

 

ในหลักสูตรนี้ ยังอธิบายความเหมือนและความแตกต่างในการจัดทำเอกสาร และการควบคุมเอกสารสารสนเทศของแต่ละระบบ พร้อมยกตัวอย่างและเทคนิคในการจัดทำและควบคุมเอกสารหลายระบบในคราวเดียวกันแบบควบรวม Integrated Document Control for Any ISOเพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการทำงาน สามารถจัดทำและควบคุมเอกสารหลายๆ ระบบในคราวเดียวกันด้วยบุคลากรชุดเดียวกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรในทิศทางเดียวกัน และยังทำให้เกิดความพร้อมในการตรวจติดตามภายในInternal Auditและการตรวจประเมินจาก Certifyอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจระบบเอกสารสารสนเทศ และสามารถจัดทำและการควบคุมเอกสารของแต่ละระบบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ทั้งการกำหนดประเภทเอกสาร การกำหนดรูปแบบและภาษาที่ใช้ในเอกสาร การกำหนดรหัสเอกสาร การขอออกเอกสารใหม่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การยกเลิกเอกสารในระบบ การจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารในระบบ การชี้บ่งความทันสมัยของเอกสาร การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ การทบทวนและการอนุมัติเอกสารแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดความพร้อมของเอกสารที่จำเป็นต้องมีในแต่ละกระบวนการอย่างถูกต้องครบถ้วน

2.      เพื่อให้สามารถควบคุมเอกสารในระบบ ทั้งการเข้าถึง การค้นหา การจัดเก็บ การแจกจ่าย การใช้งาน การสำรองข้อมูล การขออนุมัติทำลายเอกสารแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน สามารถบันทึก วิเคราะห์ ประเมินผลและสอบกลับได้

3.      เพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถจัดทำและควบคุมเอกสารสารสนเทศของแต่ละระบบได้ในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการบริหารจัดการอย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นการเตรียมพร้อมในการตรวจติดตามภายใน และตรวจประเมินจากCertifyอีกด้วย

 

เนื้อหาหลักสูตร:

บทที่ 1 : ระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลInternational Organization for Standardization

·      ความเป็นมา ประเภท และTime Lineของระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล

·      ข้อกำหนดระบบการบริหารคุณภาพ ISO9001:2015

·      ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001:2015

·      ข้อกำหนดระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO45001:2018

·      ข้อกำหนดระบบการจัดการพลังงาน ISO50001:2018

·      ข้อกำหนดระบบการบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ IATF16949:2016

·      ข้อเหมือนและข้อแตกต่างของระบบการบริหารจัดการแต่ละระบบ

บทที่ 2 : ระบบเอกสารสารสนเทศDocumented InformationสำหรับISOทุกระบบ

·      ความสำคัญ และความจำเป็นของระบบเอกสารสารสนเทศDocumented Information

·      ประเภทของเอกสารสารสนเทศในระบบการบริหารจัดการสำหรับ ISOแต่ละระบบ

·      หลักเกณฑ์ในการกำหนดรูปแบบ ภาษา รหัสเอกสารในระบบเอกสารสารสนเทศที่เหมาะสม

·      การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ การทบทวน และการอนุมัติเอกสารแต่ละประเภท

บทที่ 3 : การจัดทำคู่มือคุณภาพ คู่มือสิ่งแวดล้อม และคู่มือระบบบริหารจัดการสำหรับISOทุกระบบ  

·      ความหมายและความสำคัญของคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOทุกระบบ

·      องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีในคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOแต่ละระบบ

·      รูปแบบการเขียนคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOแต่ละระบบ

·      ตัวอย่างในการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ สำหรับISOแต่ละระบบ

·      ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOแต่ละระบบ

·      สรุปความเหมือนและความแตกต่างของคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOแต่ละระบบ

·      เคล็ดลับสำคัญของการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ ManualสำหรับISOแต่ละระบบที่ดี

บทที่ 4 : การจัดทำระเบียบปฏิบัติงานProcedure สำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและความสำคัญของระเบียบปฏิบัติงาน Procedure

·      องค์ประกอบสำคัญของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure

·      รูปแบบการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure

·      ตัวอย่างของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedureที่ถูกต้อง

·      ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียน ทบทวน และอนุมัติProcedureที่เหมาะสม

·      สรุปความเหมือนและความแตกต่างของระเบียบปฏิบัติงาน ProcedureของISOแต่ละระบบ

·      เคล็ดลับสำคัญของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedureที่ดี

บทที่ 5 : การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน - ขั้นตอนปฏิบัติงานWork Instruction - WIสำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและความสำคัญของวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instruction

·      องค์ประกอบสำคัญของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instruction

·      รูปแบบการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instruction

·      ตัวอย่างของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instructionที่ถูกต้อง

·      ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียน ทบทวน อนุมัติวิธีปฏิบัติงานWork Instructionที่เหมาะสม

·      สรุปความเหมือนและความแตกต่างของวิธีปฏิบัติงาน Work InstructionของISOแต่ละระบบ

·      เคล็ดลับสำคัญของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน)Work Instructionที่ดี

บทที่ 6 : การจัดทำแบบฟอร์มFormและบันทึกRecordสำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและความสำคัญของแบบฟอร์ม Form

·      องค์ประกอบสำคัญของการกำหนดแบบฟอร์ม Formแต่ละระบบ

·      รูปแบบการกำหนดแบบฟอร์ม Formที่ดี

·      ตัวอย่างของการกำหนดแบบฟอร์ม Formที่ถูกต้องสำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและความสำคัญของบันทึก RecordสำหรับISOทุกระบบ

·      ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแบบฟอร์ม FormและบันทึกRecord

บทที่ 7 : เอกสารสนับสนุนSupport DocumentสำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและความสำคัญของเอกสารสนับสนุน Support Document

·      ประเภทของเอกสารสนับสนุน Support Document

·      ตัวอย่างของเอกสารสนับสนุน Support DocumentสำหรับISOแต่ละระบบ

·      เคล็ดลับการควบคุมเอกสารสนับสนุน Support Documentอย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 8 : การควบคุมเอกสารDocument Controlอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับISOทุกระบบ

·      เทคนิคในการควบคุมเอกสาร Document Control

·      เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสาร Master ListสำหรับISOทุกระบบ

·      ตัวอย่างของการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสาร Master Listที่ถูกต้อง

·      เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองเอกสารในระบบ Holder Listที่ดี

·      เทคนิคในการUpdateเอกสารสารสนเทศในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 9 : เทคนิคการออกเอกสารใหม่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการยกเลิกเอกสารโดยใช้ใบDAR

·      ความหมายและความสำคัญของใบ DAR

·      ขั้นตอน เงื่อนไขและผลลัพธ์ในการใช้ใบDAR

·      ตัวอย่างการเขียนใบ DARที่ถูกต้อง

บทที่ 10 : เทคนิคการกำหนดตารางควบคุมเอกสาร สำหรับISOทุกระบบ

·      ความหมายและประโยชน์ของตารางควบคุมเอกสาร

·      เทคนิคในการกำหนดตารางควบคุมเอกสารสำหรับ ISOทุกระบบ

·      ตัวอย่างตารางควบคุมเอกสารของระบบการบริหารที่ถูกต้อง เหมาะสม

บทที่ 11 : เทคนิคการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ สำหรับISOทุกระบบ

·      สาเหตุที่ต้องมีการขออนุมัติทำลายเอกสารสารสนเทศในองค์กร

·      ประเภทของเอกสารสารสนเทศที่มีการขออนุมัติทำลาย

·      ขั้นตอนในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศในองค์กร

·      แนวทางปฏิบัติจริงในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ

·      ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ

บทที่ 12 : เทคนิคการควบคุมเอกสารด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับISOทุกระบบ

·      ประเภทเอกสารสารสนเทศในระบบอิเล็คทรอนิกส์

·      การจัดทำและการควบคุมเอกสารในระบบอิเล็คทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ

·      การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ และควบคุมเอกสารในระบบอิเล็คทรอนิกส์

·      ตัวอย่างของการควบคุมเอกสารสารสนเทศในระบบอิเล็คทรอนิกส์

Workshop :  แบ่งกลุ่มย่อยเป็นทีมในการระดมสมอง เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในการจัดทำและควบคุมเอกสารสารสนเทศ สำหรับISOทุกระบบ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการฝึกอบรม

 ·      บรรยายเนื้อหา หลักทฤษฎี อธิบายตัวอย่างประกอบ

 ·      Workshopเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

 ·      Pre-test, Post-test

 

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

1.     DCC - Document Control Centerเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร และDCCแต่ละแผนก

2.     QMR - EMR - MRตัวแทนฝ่ายบริหารของแต่ละระบบการบริหารจัดการ

3.     Management Team & Working Partyคณะกรรมการและคณะทำงานระบบการบริหารจัดการ

4.     Supervisor, Foreman, Leaderหัวหน้างาน หัวหน้าแผนก ของแต่ละแผนก

5.     Internal Auditorsผู้ตรวจติดตามภายในสำหรับISOทุกระบบ

 

อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช

 

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ 4,000 บาท

สมาชิก / โอนเงินก่อน 1 สัปดาห์ ท่านละ 3,700 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,400 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,000 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียนOnline คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]

โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

11 พฤศจิกายน 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 062-3155283,02-1579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4,000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 43 ครั้ง