Online Training : เจาะลึกการค้นหา รากเหง้าของปัญหา ให้ตรงจุดตรงประเด็น

16 สิงหาคม 2566

มีความรู้ในการใช้เครื่องและเทคนิคในการกำหนดปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และวางแผนการแก้ไขรวมทั้งการป้องกันปัญหา

 

การทำงานของพนักงานทุกระดับล้วนแต่ต้องมีการแก้ปัญหาตลอดเวลา แต่เมื่อต้องแก้ปัญหาจริงๆ เรามักเกิดอาการกลัวปัญหา หนีปัญหา เห็นเป็นเรื่องยุ่งยาก แก้ไม่จบ จนบางครั้งเลิกแก้ปัญหาถึงแม้แก้ปัญหาได้แล้ว ก็ผิดพลาด ล้มเหลว แก้ปัญหาไม่ตรงจุด แก้ไขปัญหาผิดพลาด ทำให้เกิดความเสียหาย เสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลา เพราะความสามารถในการแก้ปัญหาที่แท้จริงหรือวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ (Root Cause Analysis)และสามารถวางมาตรการการแก้ไข รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นทำให้เกิดประสิทธิผล เป็นทักษะที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารงาน เนื่องจากการปฏิบัติงานไม่ว่าในตำแหน่งหน้าที่ใดจะต้องเผชิญกับปัญหาและสภาวการณ์ที่จะต้องแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรนี้มุ่งเน้นอยู่บนหลักการ และข้อมูล การคิดวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง  การแก้ปัญหา การวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหาโดยใช้พื้นฐานการจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ ประยุกต์ใช้กับเครื่องมือต่างๆให้เกิดเป็นทักษะและความชำนาญในการแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ได้อย่างประสบความสำเร็จ

 

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.     เข้าใจถึงความสำคัญของการกำหนดปัญหาและเจาะจงปัญหา

2.     มีความรู้และสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง(สาเหตุรากเหง้า)ได้อย่างเป็นระบบ

3.     มีความรู้ในการใช้เครื่องและเทคนิคในการกำหนดปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และวางแผนการแก้ไขรวมทั้งการป้องกันปัญหา

4.     รู้จักคิดในเชิงเหตุ และผล การคิดในเชิงระบบ อันเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาในเชิงป้องกัน และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

หัวข้อการฝึกอบรม

Module 1 :  Systematic Thinking Skill in action

·      การเชื่อมโยงระหว่างความรู้ ความคิดเห็น และความเป็นจริง

·      ระบบกระบวนการคิดของสมองอย่างเป็นระบบทั้ง 3 มิติ

·      มิติที่1 : Analytical Thinking

·      มิติที่2 : Logical Thinking

·      มิติที่3 : Creative Thinking --> Workshop

Module 2 :  Root Cause Analysis Skill in action

·      ทำความเข้าใจในปัญหา และสาเหตุที่แท้จริง(รากเหง้า)

·      ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

·      ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหา -->Identify Cause

      Workshop : Cause and Effect Analysis

·      ความสัมพันธ์สาเหตุของปัญหา -->Relation Cause

Workshop : Cause Relation Analysis

·      ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา -->Root Cause

      Workshop : Why-Why Analysis (5-Whys)

Module 3 : Solution and Prevention Skill in action

·      มาตรการการแก้ปัญหา --> Alternative/Measure

Workshop :  Tree Diagram

·      ชั่งน้ำหนักมาตรการที่ดีที่สุดและจัดลำดับ

Workshop :  1) Weigh Score Diagram (เชิงปริมาณ)  

                    2) Metrix Diagram (เชิงประสิทธิภาพ)

·      ตรวจวัดความก้าวหน้า

-กำหนดจุดPNR (Point of No Return)

-มาตรการสำรอง (Scenario Alternative)        

·      การวางแผนป้องกันและลดปัญหาที่เกิดซ้ำ

***สรุปทบทวนบริบทที่สำคัญของหลักสูตร และการนำไปใช้จริง

 

ผู้เข้าฝึกอบรม   ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานทุกระดับของหลายๆหน่วยงานในองค์กร

 

รูปแบบการฝึกอบรม

- Virtual Class Online Training by Zoom Meeting

-อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนแนวคิดร่วมกัน

-สรุปทบทวนบริบทที่สำคัญและเปิดช่วงถาม-ตอบ

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)  หลักสูตรONLINE 3 ชั่วโมง เวลา13.00 - 16.00น.

 

รูปแบบการอบรม (Methodology)

1.      Zoom Online Meeting

2.     อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนแนวคิดร่วมกัน

3.     สรุปทบทวนบริบทที่สำคัญและเปิดช่วงถาม-ตอบ

4.     เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDFให้ก่อนวันอบรม2-3 วัน

 

อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา

 

กำหนดการ   วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566

สถานที่          ZOOMออนไลน์

ราคา           1,500 บาท

ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย3%

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียนOnline คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา



สถานที่อบรม (VENUE)

Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

16 สิงหาคม 2566 13.00-16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-157-9083, 062-315-5283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 204 ครั้ง