Online Training : การควบคุมเครื่องมือวัดตามระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015

18 ตุลาคม 2567

ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ หน่วยงานQC/QAมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดMeasuring Instrumentsในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณสมบัติ ขนาด ชนิด สี ความยาว ความกว้างตามที่กำหนด ทั้งในขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพการรับเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์QC Incoming Inspectionที่สั่งซื้อและรับจากผู้ขาย Suppliers,การตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตQC In-Process Inspectionการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย QC Outgoing Inspectionสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบคุณภาพคือ เครื่องมือวัดMeasuring Instrumentsจะต้องมีความเที่ยงตรง แม่นยำเหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ เนื่องจากเครื่องมือวัดเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่จะทำการส่งมอบให้กับลูกค้า และนำมาซึ่งความพึงพอใจCustomer Satisfaction

 

สำหรับองค์กรที่นำระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานแต่ละกระบวนการ ย่อมมีความได้เปรียบในการดำเนินการควบคุมเครื่องมือวัดMeasuring Instruments Controlหากองค์กรนั้นๆ มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015 ซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือวัดโดยตรง ได้แก่ ข้อกำหนด7.1.5 ทรัพยากรทางด้านการเฝ้าติดตาม และการตรวจวัดMonitoring and Measuring Resourcesสามารถตีความได้ว่าเป็นการควบคุมเครื่องมือวัด Measuring Instruments Controlซึ่งหมายความถึง การสอบเทียบเครื่องมือวัดCalibrationเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่จะส่งมอบให้ลูกค้าจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยเครื่องมือวัดที่ผ่านการสอบเทียบแล้วเท่านั้น 

 

หลักสูตร การควบคุมเครื่องมือวัดตามระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015 นี้ได้บรรจุเนื้อหาสาระสำคัญๆ เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องวัดไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของเครื่องมือวัด,ประเภทของเครื่องมือวัด ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องทำการสอบเทียบ,การจัดทำทะเบียนเครื่องมือวัด,การจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือวัด,การจัดทำทะเบียนผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด,การชี้บ่งและสอบกลับ,การจัดทำประวัติการสอบเทียบเครื่องมือวัด,เทคนิคในการควบคุมเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับเข้า การจัดเก็บ การใช้งาน และการขออนุมัติทำลายเครื่องมือวัด การกำหนดผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลเครื่องมือวัดที่เหมาะสม เพื่อให้การควบคุมเครื่องมือวัดมีประสิทธิภาพ และพร้อมกับการใช้งานอยู่เสมอ,การเตรียมพร้อมรองรับการตรวจติดตามภายในInternal Audit,การตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอกCertified Bodiesเกี่ยวกับเครื่องมือวัด

 

วัตถุประสงค์:

1.     เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจนในข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015 ที่เกี่ยวกับข้อ7.1.5 ทรัพยากรด้านการเฝ้าติดตามและการตรวจวัด สามารถตีความและนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริงและเห็นผล สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

2.     เพื่อให้บุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมดูแลเครื่องมือวัด มีความรู้ความเข้าใจประเภทของเครื่องมือวัด การจำแนกเครื่องมือวัดที่ต้องทำการสอบเทียบและไม่จำเป็นต้องทำการสอบเทียบ สามารถจัดทำทะเบียนเครื่องมือวัด จัดทำแผนการสอบเทียบ ทั้งการสอบเทียบภายในและสอบเทียบภายนอก การชี้บ่งและสอบกลับได้ รวมถึงจัดทำประวัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

3.     เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการควบคุมเครื่องมือวัดและการใช้เครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบให้ลูกค้า และมั่นใจในการเตรียมพร้อมรองรับการตรวจติดตามภายใน และการตรวจประเมินจากภายนอก

4.     เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพในแต่ละกระบวนการ ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

5.     เพื่อให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เกิดโอกาสในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และระดับคุณภาพขององค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามนโยบาย ทิศทางธุรกิจ ในระบบการบริหารคุณภาพอย่างยั่งยืนขององค์กร

 

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

1.       QC/QA Manager -ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ และฝ่ายประกันคุณภาพ

2.       QMR -ตัวแทนฝ่ายบริหาร, DCCเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร

3.       Supervisor, Foreman, Leaderหัวหน้างานแผนกควบคุมคุณภาพ

4.      เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัด และผู้เกี่ยวข้อง

 

เนื้อหาหลักสูตร

บทที่1:เครื่องมือวัดMeasuring Instruments  

·      ความหมายของเครื่องมือวัด Measuring Instruments

·       ความสำคัญและประโยชน์ของเครื่องมือวัด Measuring Instruments

·      การจำแนกประเภทชองเครื่องมือวัด Kinds of Measuring Instruments

·      การจัดทำทะเบียนเครื่องมือวัด Measuring Instruments Lists

บทที่2:ข้อกำหนดระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015

     ·      ระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015

     ·      วงจรPDCAกับระบบการบริหารคุณภาพ

     ·      แนวคิดเชิงกระบวนการ Process Approach 

     ·      ข้อกำหนด7.1.5 ทรัพยากรด้านการเฝ้าติดตาม และการตรวจวัด

     ·      การตีความข้อกำหนด 7.1.5 ทรัพยากรด้านการเฝ้าติดตาม และการตรวจวัด

     ·      การกำหนดแนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนด 7.1.5

     ·      การวิเคราะห์Input - Process - Outputในกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด

บทที่3:การสอบเทียบเครื่องมือวัด Calibration

     ·      ความหมายของการสอบเทียบเครื่องมือวัด

     ·      ประโยชน์ของการสอบเทียบเครื่องมือวัด

     ·      ประเภทของการสอบเทียบเครื่องมือวัด

     ·      หลักเกณฑ์สำคัญในการสอบเทียบเครื่องมือวัดตามระบบ ISO 9001:2015

     ·      การจัดทำทะเบียนเครื่องมือวัด Measuring Instruments Lists

     ·      การจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือวัด 

     ·      คุณสมบัติของผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด

     ·      การจัดทำทะเบียนผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด

     ·      การชี้บ่งและสอบกลับเครื่องมือวัด

     ·      เทคนิคการจัดทำประวัติการสอบเทียบเครื่องมือวัด

 บทที่4:เทคนิคการควบคุมเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ

·      ความหมาย และความสำคัญของการควบคุมเครื่องมือวัด

·      เทคนิคการสั่งซื้อ และการตรวจรับเข้าเครื่องมือวัด

·      เทคนิคการจัดเก็บเครื่องมือวัด และการเบิกใช้เครื่องมือวัด

·      การควบคุมการใช้งานเครื่องมือวัดอย่างถูกต้องเหมาะสม

·      การส่งคืนเครื่องมือวัดหลังการใช้งาน

·      การขออนุมัติทำลายเครื่องมือวัดที่ชำรุดเสียหาย และเสี่อมสภาพ

·      การกำหนดผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลเครื่องมือวัดที่เหมาะสม

บทที่5:การเตรียมพร้อมรองรับการตรวจติดตามภายในเรื่องเครื่องมือวัด

·      การจัดทำแผนการตรวจติดตามภายใน Internal Audit Plan

·      หลักเกณฑ์การตรวจติดตามภายใน Internal Audit Criteria

·      ผลการตรวจติดตามภายใน Internal Audit Result

·      หลักฐานการตรวจติดตามภายใน Internal Audit Evidence

·      หัวใจหลัก3Pในการตรวจติดตามภายใน

·       Audit Check Listประเด็นคำถามสำหรับการตรวจติดตามภายในที่เกี่ยวข้อง

·      ตัวอย่างAudit Check Listสำหรับข้อกำหนด7.1.5

·      เทคนิคการเตรียมพร้อมและการตอบสำหรับข้อกำหนด 7.1.5

·      ประเด็นข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการตรวจติดตามภายในเกี่ยวกับเครื่องมือวัด

·      ตัวอย่างCAR/PARที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดMeasuring Instruments

·      ตัวอย่างการปรับปรุงแก้ไขป้องกัน และการปิดCAR/PAR

บทที่6:การเตรียมพร้อมรองรับการตรวจประเมินจาก Certified Bodies

    ·      โปรแกรมการตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอก Certified Bodies

    ·      หลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอก

    ·      เทคนิคการเตรียมพร้อมรองรับการตรวจประเมินจากภายนอก

    ·      ตัวอย่างประเด็นที่มักถูกตรวจประเมินจากผู้ตรวจสอบภายนอก Certified Bodies

    ·      วิธีการตอบและรับมือการตรวจประเมินจาก Certified Bodiesอย่างมืออาชีพ

    ·      ตัวอย่างNCและวิธีการตอบNCตามข้อกำหนดของระบบที่เกี่ยวข้อง

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)หลักสูตรONLINE 3 ชั่วโมง เวลา13.00 - 16.00 น.

 

รูปแบบการอบรม (Methodology)

1.      Zoom Online Meetingบรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม

2.     เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDFให้ก่อนวันอบรม2-3 วัน

 

อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช

 

กำหนดการ    วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567

สถานที่            Zoom Online Meeting

ราคา            1,500 บาท

ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย3%

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียนOnline คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

สถานที่อบรม (VENUE)

Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

18 ตุลาคม 2567 13.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 43 ครั้ง