วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันมีกรณีใดบ้างและการออกหนังสือเตือน - หนังสือสั่งพักงาน - ออกหนังสือเลิกจ้างเขียนให้ดีให้มีผลในทางกฎหมายต้องเขียนอย่างไร หรือการปฏิบัติตนผิดข้อบังคับในการทำงาน - ผิดสัญญาจ้างจะมีความผิดอย่างไร
2. เพื่อให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ตาม ม.33 ทราบสิทธิ เพื่อรับประโยชน์ตอบแทนกรณีนอกเหนือจากการทำงานให้กับนายจ้างตามกฎหมายประกันสังคมที่บัญญัติไว้ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิต่างๆ
3. เพื่อให้ทราบสิทธิของตนขณะปฏิบัติงานให้กับนายจ้างหรือขณะปกป้องทรัพย์สินของนายจ้าง กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจะได้รับสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนเงินทดแทนมีกรณีใดบ้าง
หัวข้อในการอบรม
หมวด 1 : กฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขใหม่ที่มีผลบังคับใช้ล่าสุด
1. กฎหมายแรงงานที่มีผลบังคับใช้ล่าสุด 7 กรณี มีอะไรบ้าง...?
· การได้รับสิทธิของลูกจ้าง กรณีลากิจได้รับค่าจ้าง
· การได้รับสิทธิกรณีลาตรวจครรภ์-คลอดบุตร
· การย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
· กรณีเปลี่ยนนายจ้างใหม่-เปลี่ยนนิติบุคคล
· การได้รับเงินเพิ่มค่าดอกเบี้ยที่นายจ้างผิดนัด
· การได้รับสิทธิเงินค่าชดเชย กรณีออกจากงาน
· การได้รับสิทธิเท่าเทียมกันของลูกจ้างชาย - ลูกจ้างหญิง
2. การแก้ไขข้อบังคับในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ต้องดำเนินการอย่างไร..?
3. ตำแหน่งงานที่นายจ้างมีสิทธิเรียก-รับเงินประกันการทำงานมีตำแหน่งงานใดบ้าง..?
4. นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างลูกจ้างมีหลักเกณฑ์การหักค่าจ้าง กรณีใดบ้าง..?
5. กรณีกองบังคับคดีมีหนังสือให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างตามคำพิพากษาของศาลการหักค่าจ้างลูกจ้างมีเงินอะไรบ้าง..?
6. กรณีลูกจ้างยื่นใบลาออกทำงานอยู่ไม่ครบ 30 วัน ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
7. กรณีนายจ้างมีนโยบายลดค่าจ้างลูกจ้างทุกตำแหน่งงาน 20% ของค่าจ้าง ต้องใช้เทคนิคอย่างไร.?
8. กรณีลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อมาลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าต่างๆ และบรรยายฟ้องว่าถูกบีบหรือถูกบังคับให้ลาออก เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาวต้องออกหนังสือการลาออกอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือลาออก แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
9. มีนโยบายปิดงานลูกจ้างเป็นบางส่วนเป็นเวลา 30 หรือ 60 วัน นายจ้างต้องออกหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
10. ลูกจ้างมาทำงานสายหักค่าจ้างไม่ได้ เทคนิคการทำให้นายจ้างหักค่าจ้างได้ต้องออกระเบียบปฏิบัติอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกระเบียบปฏิบัติ กรณีมาทำงานสาย แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
11. การออกหนังสือเตือนเขียนให้ดีให้มีผลต่อการทำผิดซ้ำคำเตือนตาม พ.ร.บ.2541 ม.119 (4) เพื่อเลิกจ้างต้องระบุข้อความในหนังสือเตือนอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือเตือน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
12. การออกหนังสือพักงานเขียนให้ครอบคลุมความผิดต้องเขียนอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือสั่งพักงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
13. กรณีลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรงนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ต้องออกหนังสือเลิกจ้างอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
14. กรณีนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาหลายเดือนจึงมีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิภายหลังนายจ้างต้องออกหนังสือเลิกจ้างและให้เหตุผลอย่างไร
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
15. กรณีนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างพนักงานโดยไม่มีความผิดให้ออกก่อนเกษียณอายุในการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิภายหลังนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร..?
· มีตัวอย่าง การออกหนังสือเกษียณงานตามโครงการ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
หมวด 2 : การได้รับสิทธิของลูกจ้างจากกองทุนประกันสังคม
16. วัตถุประสงค์ของกองทุนประกันสังคมและสิทธิของผู้ประกันตน ตาม ม.33 มีกรณีใดบ้าง..?
17. กรณีเจ็บป่วยปกติจะได้รับการรักษาและได้รับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างหยุดงานอย่างไร..?
18. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาโรงพยาบาลตามสิทธิไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไร..?
19. กรณีทันตกรรม-ถอนฟัน-อุดฟัน-ขูดหินปูน-ผ่าฟันคุด-ใส่ฟันเทียม จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
20. กรณีคลอดบุตร การได้รับสิทธิของผู้ประกันตนหญิงและผู้ประกันตนชาย จะได้รับสิทธิอย่างไร
21. กรณีทุพพลภาพหรือในกรณีตาย จะได้รับสิทธิจากกองทุนประกันสังคมอย่างไร..?
22. กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับสิทธิตามกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร..?
23. กรณีชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพ-เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
24. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนหรือ (5ปี) จะได้รับสิทธิอย่างไร.?
25. กรณีว่างงาน กรณีที่ 1 ถูกเลิกจ้าง-กรณีที่ 2 ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับสิทธิอย่างไร
หมวด 3 : การได้รับสิทธิของลูกจ้างจากกองทุนเงินทดแทน
26. กองทุนเงินทดแทนจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง..?
27. เงินสมทบของกองทุนเงินทดแทนมาจากที่ใด-เมื่อใดลูกจ้างได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
28. การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
29. การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
30. การสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
31. เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้างจะได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง..?
32. ในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไร..?
33. หน้าที่ของนายจ้างในการนำส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล ต้องปฏิบัติอย่างไร..?
34. ค่ารักษาพยาบาลตลอดระยะเวลาการรักษากองทุนเงินทดแทนมีอัตราจ่ายอย่างไร..?
35. ค่าทดแทนกรณีเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวและไม่สามารถทำงานได้ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
36. ยกตัวอย่าง การจ่ายค่าตอบแทน เพื่อเปรียบเทียบตามค่าจ้างในกรณีต่างๆ
37. ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร
38. ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
39. ค่าทดแทนกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
40. ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย กฎหมายบัญญัติให้ได้รับสิทธิมีใครบ้าง...?
· ถาม - ตอบ - แนะนำ
· ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - พนักงานทุกระดับ
· ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา "ฟรี" ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตรONLINE6 ชั่วโมง เวลา 09.00 - 16.00 น. (มีวุฒิบัตร)
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meetingบรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์PDFให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า
กำหนดการ วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 2,500 บาท
- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า