Online Training : การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

7 สิงหาคม 2566

หลักการและเหตุผล :

องค์กรต่างๆ หรือ องค์กรชั้นนำของโลกมากมายทั้งที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาทิGoogle, Apple, Phillips, P&GและAirbnbเป็นต้น ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้และทำให้บริษัทเติบโตและมีผลกำไรที่ดีอย่างมากมาย ผมกำลังพูดถึงหัวข้อแนวคิดวันนี้ครับ ซึ่งก็คือ การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)ตามชื่อเรื่องในวันนี้เลยครับ และก่อนที่เราจะไปเรียนรู้แนวความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)เรามาดูที่มาและที่ไปของความคิดนี้ก่อนนะครับ

 

ก่อนที่เราจะเข้าถึงเรื่องDesign Thinking เราต้องมาทำความเข้าใจคำว่า Designหรือการออกแบบ กันใหม่ก่อน หลายคนมักมองว่า การออกแบบ คือ การสร้างสิ่งของใหม่ๆ เช่น การสร้างของใช้ การสร้างเฟอร์นิเจอร์ การสร้างบ้าน และการวาดรูป เป็นต้น ใช่ครับนั่นเป็นความเข้าใจที่ถูก แต่เป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงส่วนเดียวSimon (1968) ได้กล่าวไว้ว่า การออกแบบ ไม่ได้เป็นแค่การสร้างสิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่คือความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ในอนาคต ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีเครื่องบิน เราใช้เรือหรือรถเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไกลๆ การสร้างเครื่องบินนี่ไม่ใช่แค่การทำให้การเดินทางเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ แก้ปัญหาการขนส่ง และเพิ่มโอกาสต่างๆ อีกมากมายให้กับโลกใบนี้ นี่แหละครับ การออกแบบที่แท้จริงคือ การพัฒนาบางอย่างและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

 

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)คือ การคิดแก้ปัญหาที่สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก "ความคิดสร้างสรรค์" (creativity) คือDesign Thinkingจะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ "คน" การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือHuman centered designที่คนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา โดยเน้นทำความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก "ปัญหา"

 

หรืออีกนัยยะหนึ่งDesign Thinking คือ "กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ"

 

Design Thinkingมีหลายโมเดลด้วยกัน เพราะในแต่ละSchoolก็จะมีตัวFrameworkของDesign Thinking ที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ คือDesign Thinking ProcessของStanford d.schoolและThe Double Diamond Design ProcessของUK Design Council ซึ่งในฉบับนี้เราจะใช้หลักการ Stanford d.schoolในการเรียนรู้กันครับ

 

Design thinkingของStanford d.schoolได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่Empathize, Define, Ideate, Prototype,และTestจากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (EmpathizeและDefine)เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate)คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย และขั้นตอนที่สี่และห้า (PrototypeและTest)คือ ขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)และสามารถนำไปใช้งานได้

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

หัวข้อการอบรม

Module1: ความหมายของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         คิด...อย่างนักออกแบบ (Designer/Architect)

·         การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)จะเกิดขึ้นเมื่อใด

·         เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         ความหมายของคำว่าการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         องค์ประกอบของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)กับการทำงาน

·         ความสำคัญของ การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)กับการพัฒนาตนเอง

·         องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         กระบวนการของDesign Thinkingที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม

·         ทำไมการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)จึงมีความสำคัญกับองค์กรในยุคปัจจุบัน

·         ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ

Module2: ปัญหาและการวิเคราะห์ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         ปัญหาคืออะไร และอะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

·         การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้

·         เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

·         วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)เพื่อนำไปใช้

Module3: ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

1.     Empathizeคือ การทำความเข้าใจจริงๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการฟังจากคนที่มีปัญหา

·       หลักในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายแบบ Outside-in

·       วิธีการในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

·       เครื่องมือที่ใช้ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

·         ฝึกปฏิบัติทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

2.     Defineคือ การนำปัญหาที่เจอแล้วดูว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด นำมาเข้าสู่กระบวนการที่จะแก้ปัญหาก่อน

·       วิธีการในการสังเคราะห์เพื่อระบุประเด็นสำคัญ

·       เครื่องมือที่ใช้ในการในการสังเคราะห์เพื่อระบุประเด็นสำคัญ

·       ฝึกปฏิบัติการสังเคราะห์ประเด็นเพื่อระบุประเด็นสำคัญ

3.     Ideate (Idea + create)หรือการbrainstormingเป็นการระดมสมอง ระดมความคิด แนวทางในการแก้ปัญหา

·       วิธีการในการคิดสร้างทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญ

·       เครื่องมือที่ใช้สำหรับการระพลังความคิดเพื่อสร้างทางเลือก

·       ฝึกปฏิบัติการระพลังความคิดเพื่อสร้างทางเลือก

4.     Prototypeต้นแบบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา

·       วิธีการในการในการสร้างแบบจำลองต้นแบบ

·       คุณลักษณะของแบบจำลองต้นแบบชนิดต่าง ๆ

·       ฝึกปฏิบัติการสร้างแบบจำลองต้นแบบ

5.     Testคือ ขั้นตอนใช้จริงๆ เพื่อทดสอบการใช้งานของสินค้าโดย ผู้บริโภคได้ใช้กันจริงๆ

·       วิธีการในการทดสอบแบจำลองต้นแบบ

·       เครื่องมือในการทดสอบแบบจำลองต้นแบบ

·       ฝึกปฏิบัติทดสอบแบบจำลองต้นแบบ

Module4: การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)กับการทำงาน

·       การมององค์รวม (Holistic view)ในการทำงาน

·       คิดอย่าง "เข้าใจ" ปัญหาอย่างแท้จริงที่เกิดขึ้นในการทำงาน

·       คิดแบบ "ไม่มีกรอบ" ในการแก้ปัญหาของการทำงาน โดยใช้วิธีของIdeate (Idea + create)หรือการbrainstorming

·       คิดเร็ว ทำเร็ว เพื่อแก้ปัญหาของงานที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

·       ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype)หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ร่วมกันคิดมาแล้ว โดยยึดหลักทดลองหลายๆ ครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวให้เร็ว เพื่อจะได้รีบเรียนรู้ความผิดพลาด

o  Fail Cheapเพื่อให้ความผิดพลาดนั้นมีราคาถูก

o  Fail Fastเพื่อให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเร็วแต่เนิ่นๆ

o  Fail forwardเพื่อให้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไป

·       นำต้นแบบ (Prototype)หรือ แนวทางในการแก้ปัญหาที่ร่วมกันคิดมาแล้ว มาทดสอบ (Test)ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของการทำงาน 

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)  หลักสูตรONLINE3 ชั่วโมง เวลา 13.00 - 16.00 น.

 

รูปแบบการอบรม (Methodology)

1.     Zoom Online Meetingบรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม

2.      เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์PDFให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน

 

อาจารย์อนุภาพ พันชำนาญ

 

กำหนดการ   วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566

สถานที่          Zoom Online Meeting

ราคา           1,500 บาท

-ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

-นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

 

ลงทะเบียน Online คลิ๊ก !!


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์อนุภาพ พันชำนาญ



สถานที่อบรม (VENUE)

Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 สิงหาคม 2566 13.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283,021579083

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 367 ครั้ง