OKRs & Performance Management for Supervisor
OKRs และการประเมินผลงานสำหรับหัวหน้างาน (27 มี.ค. 62)
บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของหัวหน้างาน นั่นก็คือ "การกำหนดเป้าหมายและทิศทางที่องค์กรมุ่งหวัง และการกำกับผลปฏิบัติการปฏิบัติงานให้ลุล่วงตามแผนงานที่ตั้งไว้" อาจมาจากวิสัยทัศน์จนถึงแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) รวมถึงแผนการดำเนินงาน (Action Plan) ของแต่ละส่วนงาน ซึ่งปัจจุบันหลากหลายองค์กรต่างให้ความสนใจกับ OKRs (Objective and Key Results) เครื่องมือใหม่ที่องค์กรต่างๆ เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น ดังนั้น การสร้าง OKRs ที่สามารถสร้างตัวชี้วัดได้ชัดเจนเพื่อผลการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่หัวหน้างานต้องรู้ เพื่อกำหนด OKRs ให้ได้สอดคล้องกับแผนงานและกระบวนการทำงาน (Business Process) ของส่วนงานตน ในหลักสูตร "OKRs และการประเมินผลงานสำหรับหัวหน้างาน" นี้ จึงว่าด้วยเรื่องการกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนเพื่อการประเมินผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเป้าหมายและทิศทางที่องค์กรมุ่งหวังไว้
Key Contents
1. บทบาทของหัวหน้างานต่อการตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
2. ความสำคัญและประโยชน์ของการกำหนดเป้าหมายการทำงาน
3. OKR คืออะไร ทำไมถึงนิยมใช้ในปัจจุบัน
4. ความแตกต่างของ KPI กับ OKR คืออะไร
5. องค์กรควรเตรียมความพร้อมอย่างไรก่อนเริ่มใช้ OKR
6. ความแตกต่างระหว่าง Purpose Goal และ Objectives
7. การจัดการเชิงกลยุทธ์ต้องมีการวัดผลแบบ OKR หรือไม่
8. การกำหนดเป้าหมายโดยใช้หลัก S.M.A.R.T. KPI & F.A.S.T. ACTION ทำอย่างไร
9. ถ้าจะให้การวัดผลประสบความสำเร็จ Mindset ของพนักงานต้องปรับอย่างไร
10. การประเมินแบบสมดุล (Balance Score Card) โดยใช้ KPI จะเลิกใช้ไปจริงหรือ
11. ควรผูกผลตอบแทนของพนักงานกับ OKR หรือ KPI หรือไม่
12. แนวทางการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
Key Benefits
1. เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญและเข้าใจแนวคิดของ OKRs ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
2. เพื่อให้ทราบหลักการและขั้นตอนในการสร้าง OKRs อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและการทำงานของหน่วยงาน
3. สามารถนำ OKRs ไปประยุกต์ใช้กับการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
หัวหน้างาน, ผู้บริหาร และบุคคลทั่วไปและผู้ที่สนใจ
ดร.ภูษิต วงศืหล่อสายชล
- อาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- Managing Director (Cold Storage), Agri World.,Ltd