"HACCP:
Hazard Analysis & Critical Control Points"คือระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม
เป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัยที่ใช้ควบคุมในกระบวนการผลิตอาหาร
เพื่อให้มั่นใจว่าจะปราศจากอันตราย ทั้งจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี
และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
โดยยึดหลักมาตรฐานสากลตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารFAO/WHO (Codex Alimentarius
Commission)ที่ประเทศต่างๆ
ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อสร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ระบบHACCP : Hazard Analysis & Critical Control Pointsนี้เป็นมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตอาหาร โดยใช้หลักในการดำเนินการเชิงวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ12ขั้นตอน ได้แก่5 Primary Stepsและ7 Basic Principlesตั้งแต่การจัดตั้งทีมHACCP TeamและการจัดทำHACCP Planการจัดทำรายละเอียดผลิตภัณฑ์Describe Productการจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต Flow Diagramการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยงConduct a Hazard Analysisการหาจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมIdentify the Critical Control Pointsด้วยแผนผังการตัดสินใจDecision Treeการกำหนดค่าวิกฤติ และการตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤติMonitor Control of the CCPsการแก้ไขเมื่อพบว่ามีจุดวิกฤติที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมCorrective Actionsการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบVerification to control the HACCP Systemรวมทั้งระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติงานและบันทึกข้อมูลต่างๆ ในระบบDocumentation and Records Keepingซึ่งจะครอบคลุมถึงคู่มือการปฏิบัติงาน ProcedureวิธีการปฏิบัติงานWork InstructionและเอกสารสนับสนุนSupport Documents
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการของระบบ HACCPทั้ง12ขั้นตอนอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยมีหลักการขั้นต้น5ขั้นตอน (5 Primary Steps)และหลักการพื้นฐาน7ขั้นตอน (7 Basic Principle)รวมถึงประเภทของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับกระบวนการผลิตอาหาร และหลักการประเมินความเสี่ยงจากอันตรายต่ออาหารRisk Assessment
2.เพื่อให้สามารถดำเนินการตามระบบ HACCPตั้งแต่การตั้งทีมHACCP TeamการเขียนแผนHACCP Planและดำเนินการในแต่ละขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้ทัดเทียมระดับสากล ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความสามารถและทักษะให้กับบุคลากรในวงการอุตสาหกรรมอาหารให้ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารและสามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1.เจ้าของบริษัทผู้ผลิตอาหาร และผู้บริหารในธุรกิจผลิตอาหาร ได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน,ผู้จัดการฝ่าย,ผู้จัดการแผนกที่รับผิดชอบเรื่องการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัย
2.หัวหน้างาน พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานและดูแลด้านระบบความปลอดภัยของอาหารทั้งระบบHACCP, GMPและISO 22000
3.ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารทั้งนำเข้าและส่งออก ผู้ที่อยู่ในวงการอาหารแต่ละขั้นตอน รวมถึงผู้บริโภคที่มีความสนใจในระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหาร
วิธีการฝึกอบรม
1.บรรยายเนื้อหา,ตัวอย่างประกอบ
2. Workshop
3. Pre-test, Post-test
เนื้อหาหลักสูตร:
บทที่1: HACCPคืออะไร,ความเป็นมาของระบบHACCP
· HACCPคืออะไร
·ความเป็นมาของระบบHACCP
บทที่2:วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ระบบHACCP
·วัตถุประสงค์หลักของการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
·ประโยชน์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
·ความจำเป็นและประโยชน์ที่อุตสาหกรรมอาหารไทยจะได้รับจากระบบ HACCP
บทที่3: GMP & HACCPความสัมพันธ์และความแตกต่าง
·หลักการและแนวปฏิบัติของ GMP
·หลักการและแนวปฏิบัติของระบบ HACCP
·ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของระบบ GMP & HACCP
บทที่4:ประเภทและชนิดของอันตรายในอุตสาหกรรมอาหาร
·อันตรายทางชีวภาพBiological Hazard
·อันตรายจากสารเคมีChemical Hazard
·อันตรายทางกายภาพPhysical Hazard
บทที่5:หลักการ12ขั้นตอน ของระบบHACCP
· 5 Primary Steps
· 7 Basic Principles
บทที่6:การจัดตั้งHACCP Team
·องค์ประกอบสำคัญของ HACCP Team
·คุณสมบัติที่พึงมีของบุคลากรใน HACCP Team
·บทบาท หน้าที่และความรับผิดชองของหัวหน้าทีม
·บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิกในทีม
บทที่7:การจัดทำรายละเอียดผลิตภัณฑ์Describe Product
·วิธีการอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง สมบูรณ์
·รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องระบุ
·วิธีการเขียนวัตถุดิบและส่วนผสม
·วิธีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิต
บทที่8:การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิตFlow Diagram
·หลักการพิจารณาขั้นตอนการผลิต
·วิธีการทำแผนภูมิกระบวนการผลิต
·การจัดลำดับขั้นตอนการผลิต
บทที่9:การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิตVerification
·ใครควรเป็นผู้ทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต
·วิธีการทวนสอบแผนภูมิกระบวนการผลิต
·หากพบความไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ต้องทำอย่างไร
บทที่10:การวิเคราะห์อันตรายConduct a Hazard Analysis
·หลักการระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการผลิต
·การประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย Risk Assessment
·การระบุมาตรการควบคุมอันตราย
บทที่11:การหาจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมIdentify Critical Control Points
·วิธีกำหนดจุดปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำการควบคุม
·หลักการของแผนผังการตัดสินใจ Decision Tree
·ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการดำเนินการและตัดสินใจตามแผนผัง Decision Tree
บทที่12:การกำหนดค่าวิกฤติCritical Limits
·หลักเกณฑ์ในการควบคุมจุด CCPs
·วิธีการกำหนดค่าจำกัดวิกฤติ และมาตรการควบคุมจุดวิกฤติ
บทที่13:การทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของระบบHACCP
·การจัดทำแผนการทวนสอบระบบโปรแกรมพื้นฐาน GMP
·การทวนสอบความถูกต้องและสภาพการใช้การได้ของระบบ
·การทวนสอบโดยการตรวจติดตามภายใน Internal Audit
·การส่งผลิตภัณฑ์ตรวจสอบภายนอก Finished Product Testing
บทที่14:การจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีปฏิบัติและบันทึกของระบบHACCP
·ประเภทเอกสารในระบบ HACCP
·วิธีการจัดทำเอกสาร การควบคุมและการจัดเก็บเอกสาร
·บันทึกที่มีความสำคัญในระบบ HACCP
·การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมเอกสารของระบบ HACCP
·การกำหนดอายุการจัดเก็บเอกสารในระบบ HACCP
บทที่15:เคล็ดลับแห่งความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ระบบHACCP
·ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
·อุปสรรคที่ทำให้การประยุกต์ใช้ระบบ HACCPไม่ประสบความสำเร็จ
บทที่16:แนวทางการต่อยอดของอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่มาตรฐานสากล
·ระบบมาตรฐานด้านอาหาร GMP, HACCP, ISO 22000:2018
·การรับรองระบบGMP - Certificate GMP
·การรับรองระบบHACCP - Certificate HACCP
·การรับรองระบบISO - Certificate ISO - 22000:2018
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท26
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่
4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]
โทร. :02-191-2509,062-315-5283
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช