DISC สำหรับหัวหน้างาน (DISC Model for Leadership)

18 สิงหาคม 2563


หลักการและเหตุผล

             การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

         การพัฒนาระดับความสามารถ ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

           หลักสูตรนี้ได้นำเอาหลักของ DISC มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรมการแสดงออกทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น ซึ่งจะนำไปสู่ การยอมรับตนเอง รับรู้ เข้าใจถึงความแตกต่างและความถนัดของบุคคลในแต่ละคุณลักษณะ เข้าใจถึงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละคุณลักษณะบุคคล สามารถนำเอาหลักการและความเข้าใจเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพิ่มทักษะในการพัฒนาขีดความสามารถของทีมงาน ใช้ประโยชน์จากความแตกต่างบุคคล สร้างแนวทางการครองใจสมาชิกในทีมด้วยรูปแบบที่เหมาะสมของตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนเองและของทีมงานจากการที่ทุกคนในทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน รู้แนวทางความถนัดของสมาชิกในทีม เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ สร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

 

 

วัตถุประสงค์

1.             เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ด้วยรูปแบบของกลุ่มพฤติกรรมที่แตกต่างกัน -DISC Model

2.             เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ช่วยค้นหาจุดเด่น และสิ่งที่ควรพัฒนา เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองของผู้นำที่ดี ให้มีภาวะของผู้นำ

3.              เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

 4.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยหลักของDISC

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก

6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ "ตัวตน" ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง ด้วยDISC Model อีกทั้งสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ลักษณะของการอบรม

       เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่านWork Shopและกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และODที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

1.             บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำWork Shopและกิจกรรมกลุ่ม

2.             การใช้เครื่องมือDISC Model และOD toolsและเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น

·         Ai (Appreciative Inquiry)

·         Dialogue สุนทรียะสนทนา

·         เกมพฤติกรรม

·         Work Shop

·         Clip VDOและอื่นๆ

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

·       หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยDISC Model

§ แนวคิดเรื่องพฤติกรรมมนุษย์และการแสดงออก

§ ความหมายของD-I-S-Cและความสำคัญในการเข้าใจเรื่องD-I-S-C

§ ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ

§ ศึกษากรณีศึกษาของบุคคลต่างๆ กับพฤติกรรมการแสดงออกของเขา

§ สาเหตุของความแตกต่างของมนุษย์

§ การสำรวจบุคลิกความแตกต่างของพฤติกรรมแต่ละคน

§ การค้นหาความแตกต่างของแต่ละคน

§ การสื่อสารและการแสดงออกของคนในแต่ละประเภท

§ การประยุกต์ใช้D-I-S-Cกับอิริยาบถของการทำงาน

§ การจัดทำWork Shop

·       ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)

§  ความเข้าใจใน บุคลิกภาพ (Personality) และการรับรู้ (Perception)

§  ประเมินคุณลักษณะและพฤติกรรมของตนเอง (Self-Assessment-Your)

§  รู้จัก เข้าใจคุณลักษณะบุคคลใน4 มิติ (DISC Model)

§  เรียนรู้จุดแข็ง ข้อจำกัด ของแต่ละคุณลักษณะบุคคล :Workshop

§  การอ่าน/วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้อื่น (Reading Others) จากการฟัง /สังเกต

§  เทคนิคการสื่อสาร บริหาร ประสานงานกับบุคคลแต่ละคุณลักษณะ :Workshop

·       Teamwork (การทำงานเป็นทีม)

·       Achievement Motivation(แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)

·       Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย

§ มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others)

§ มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)

§ สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)

§ กล้าตัดสินใจ (Decision Making)

§ มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)

§ สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)

·       Continuous Learning(การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)

·       Creativity (ความคิดสร้างสรรค์)

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

 

  1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ด้วยรูปแบบของกลุ่มพฤติกรรมที่แตกต่างกัน -DISC Model

2.ผู้เข้าอบรมได้ช่วยค้นหาจุดเด่น และสิ่งที่ควรพัฒนา เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองของผู้นำที่ดี ให้มีภาวะของผู้นำ

3.ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยหลักของDISC

5.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก

6.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ "ตัวตน" ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง ด้วยDISC Modelอีกทั้งสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหาร,ผู้จัดการ,หัวหน้างาน,พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม,เดี่ยว/ ทำแบบAssessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30%

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop    70%


วิทยากร


วิทยากร อาจารย์อนุภาพ  พันชำนาญ



สถานที่อบรม (VENUE)

จัสมินซิตี้ สุขุมวิท 23 ใกล้ BTS อโศก กทม. ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

18 สิงหาคม 2563 09.00-16.00

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 591 ครั้ง