หลักการและเหตุผล
สภาวะชะงักงันทางด้านเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลก อีกทั้งปัจจัยทางด้านไวรัสโควิด-19, ภัยสงคราม ล้วนนำพาให้วงการธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ และรายย่อย ต้องดิ้นรนเพื่อแสวงหาทางออกที่งดงาม.. หนึ่งในกลยุทธ์และแผนธุรกิจคือการส่งออกและลงทุนในต่างประเทศ หรืออาจกล่าวได้ว่าค้นหาอุปทานใหม่ๆ จากตลาดต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงภัยการค้านานัปการภายในประเทศไทย.. ซึ่งตลาดประเทศกัมพูชา คือจุดหมายอันดับต้นๆ ที่เปิดกว้างสำหรับกลุ่มนักธุรกิจไทย และผู้ประกอบการรายย่อย
วัตถุประสงค์
เพื่ออธิบายกลยุทธ์ทางการค้าและสภาวะการแข่งขันในตลาดกัมพูชา ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ยิ่งยวดไปกว่าตลาดลาว, แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างโอกาสในตลาดกัมพูชาอาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปลงทุน หรือส่งออกสู่ดินแดนกัมพูชาได้อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องเข้าใจนวัตกรรมพฤติกรรมผู้บริโภค, โครงสร้างตลาดและการค้า ตลอดจนกระบวนการส่งออก-นำเข้า ที่มีความเป็นสากล และกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น
หัวข้อการอบรม
เวลา 09.00 - 10.30 บรรยายเรื่อง ภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจกับปัจจัยเสี่ยงของผู้บริโภคกัมพูชา
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมตลาดค้าปลีกที่เติบโตก้าวกระโดด
เงื่อนไขการนำสินค้าเข้าสู่ Modern Trade
โอกาสผลิตภัณฑ์สู่ความเป็น Luxury แต่ตอบสนอจริงหรือไม่
เวลา 10.30 - 10.45 พัก15นาที
เวลา 10.45 - 12.00 บรรยายเรื่อง การเลือกใช้นวัตกรรข้อมูล(Big Data)สู่การส่งออก
กลยุทธ์Customer Centricลึกซึ้งถึงกลุ่มเป้าหมาย
การวิเคราะห์ความต้องการ และกระบวนการCPD
วิธีการสร้างLoyalty Expansionให้กับผู้บริโภค
เวลา 12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 - 14.30 บรรยายเรื่อง ความเข้มงวดของพิธีการศุลกากรและมาตรฐานการนำเข้า
ความเข้มงวดของพิธีการศุลกากร และความเตรียมพร้อมด้านเอกสาร
เรื่องของเศรษฐกิจพิเศษกับการสนับสนุนนักลงทุน
กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยเทคนิคDigital & MarTech
เวลา 14.30 - 14.45 พัก15นาที
เวลา 14.45 - 16.00 บรรยายเรื่อง กลยุทธ์ผู้นำเข้า กับปัจจัยเสี่ยงของผู้ส่งออกไทย
วางแผนการตลาดรองรับระบบห่วงโซ่อุปทาน
การคำนวณโครงสร้างต้นทุน Logistic & Supply Chainสู่ตลาดค้าปลีก-ส่ง
เทคนิคAgileขับเคลื่อนการตลาดด้วยROI, KPIและOKR
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ภาคธุรกิจผู้ประกอบการ, บุคคลทั่วไป, นักศึกษา
คุณวรเกษมสันต์ สิริศุภรัชต์