เทคนิคการประยุกต์ใช้ Automotive Core Tools ภาคปฏิบัติ
(APQP & Control, PPAP, FMEA, MSA, SPC)
หลักการและเหตุผล
การที่บริษัทในกลุ่มของอุตสาหกรรมยานยนต์จะสามารถปรับปรุงด้านระบบคุณภาพให้มีประสิทธิผลสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้นั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องนําเอาระบบการบริหารจัดการด้าน IATF 16949:2016 มาประยุกต์ใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งประเด็นปัญหาที่พบบ่อยในการดำเนินการตามระบบ ก็คือ ทางผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายๆ บริษัท มักจะยังขาดทักษะความรู้เกี่ยวกับ เงื่อนไขของข้อกําหนดเฉพาะของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องนํามาปฏิบัติในระบบของ IATF 16949:2016 หรือที่เรียกกันว่า Core Tools Technique ซึ่งมักจะเป็นประเด็นที่เป็นจุดอ่อนสําคัญที่จะเกิดข้อบกพร่องได้ง่าย และพบบ่อยจากการตรวจสอบโดยหน่วยงานของบริษัทที่เข้ามาตรวจประเมินองค์กร ซึ่งเนื้อหาหลักของหลักสูตรนี้จะเน้นเพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ให้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกันกับ ข้อกำหนดของระบบ โดยสามารถนําเอาหลักการของ Core Tools และข้อกําหนดที่ได้ศึกษามาแล้วนั้น กลับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน New Model ให้เกิดมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องสอดคล้องตามความต้องการขององค์กร
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจข้อกำหนดต่างๆของ IATF 16949:2016 ที่เกี่ยวข้องกับ core tools และการนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. เข้าใจขั้นตอนของการดำเนินการ core tools แต่ละตัว
3. ทราบแนวทางการตรวจประเมินตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับ core tools แต่ละตัว
4. เข้าใจในการประยุกต์ใช้ core tools เพื่อปรับปรุงคุณภาพเพิ่มผลผลิต
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรม
1. สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อกำหนดกับ Core tools ( APQP,PPAP,FMEA,MSA,SPC, + Control Plan)
โดยผ่านการอธิบายโดยวิทยากรที่ปรึกษาพร้อมทั้งตัวอย่างประกอบคำบรรยาย กรณีศึกษา กิจกรรมกลุ่ม และการร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการฝึกอบรม
2. สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อกำหนดกับ Core tools ( APQP,PPAP,FMEA,MSA,SPC, + Control Plan)
3. แนวทางการปรับใช้ Core tools แต่ละตัว
หัวข้อการฝึกอบรม
1. ความหมายและความสำคัญของ Automotive Core Tools
2. แผนผังความเชื่อมโยง Core Tools กับข้อกำหนดISO/TS 16949:2009
3. เนื้อหาอบรมเชิงปฏิบัติการ : APQP and Control Plan , PPAP , FMEA,MSA,SPC +Workshop
-
APQP
-
ลําดับขั้นตอนของกระบวนการAPQP ตั้งแต่ เฟสที่1 - เฟสที่5
-
เป้าหมายการออกแบบกระบวนการผลิต
-
ปัจจัยข้อมูลนําเข้าและผลลัพธ์ที่ได้
-
PPAP
-
การจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอการอนุมัติชิ้นส่วนเพื่อการผลิต
-
ลําดับขั้นตอนเอกสารที่จําเป็นและเงื่อนไขข้อจํากัดที่จําเป็นต้องมี
-
ข้อจํากัดสถานการณ์ที่ต้องยื่น หรือ ต้องแจ้งเพื่อรับทราบ
-
FMEA
-
เทคนิคการทําFMEA และลําดับขั้นตอน
-
การกําหนดลําดับความสําคัญก่อน-หลังในการริเริ่มดําเนินการแก้ไข
-
การปรับปรุงกระบวนการผลิต
-
ความสัมพันธ์ระหว่างFMEAและControl Plan
-
SPC
-
ความเข้าใจการใช้สถิติเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิต
-
แผนภูมิควบคุมแบบ Variable , Attribute and other
-
การปรับปรุงกระบวนการผ่านCp, CpK หรือPp, PpK
-
การอ่านและตีความหมายแผนภูมิควบคุม
-
MSA
-
ความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์ระบบการวัด
4. การทบทวน Core Tools กรณีมีการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม(Product and Process Change)
5. ปัญหา Core Tools จากการตรวจประเมินโดย CB
แนวทางอบรม: 1. สอนทฤษฎีและยกตัวอย่าง 2. แบบฝึกหัดในแต่ละขั้นตอน 3. สอบวัดความรู้
ระยะเวลาการอบรม จำนวน 2 วัน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ตัวแทนฝ่ายบริหาร ทีมงาน ผู้เกี่ยวข้องในการนำระบบ รวมทั้งทีมงานบริหารNew Model ทั้งนี้ควรประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ
สถานที่อบรม (VENUE)
โรงแรมโกลด์ ออร์คิด กรุงเทพฯ (ถนนวิภาวดีฯ-สุทธิสาร)
วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)
15 - 16 พฤษภาคม 2568 09.00-16.00น.
จัดโดย
HIPO Training and Consultancy Co., Ltd.
เบอร์ติดต่อ : 0863183151
ค่าธรรมเนียม (FEE)
7900
(ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ผู้เข้าชม: 62 ครั้ง