สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายบัญญัติให้คำว่า "ขาย" รวมถึงขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น ในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับภาษีและบัญชีไว้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ ดังนั้น เราจึงนำ 5ข้อต้องรู้ !เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีและบัญชี "อสังหาริมทรัพย์" มาฝากกัน
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ซื้อ) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้เป็นใครก็จะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ขาย) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
(3) อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายร้อยละ1 ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ที่มา : กรมสรรพากร www.rd.go.th
ข้อพึงระวัง !! ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการลงโทษผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอของ Financial
Action Task Force (FATF)โดยมีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่45)พ.ศ.2560กำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี
หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จ เป็นการกระทำความผิดร้ายแรง
และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่2เมษายน2560 (http://www.rd.go.th)
Tag : ขายที่ดินเสียภาษีบุคคลธรรมดา ,นิติบุคคลขายที่ดิน ต้องเสียภาษี , ภาษีธุรกิจเฉพาะ คำนวณภาษี, ซื้อ/ขายอสังหาริมทรัพย์ ,วางแผนภาษี ,ภาษีที่ดิน ,ค่าธรรมเนียมการโอน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย
14 - 15 สิงหาคม 2562 08:30 - 17:00
ดร. โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
เบอร์ติดต่อ : 022952294
12000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)