5 ทางเลือกที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ แบบไหนเหมาะสำหรับเรา

6 พฤษภาคม 2565

ในอนาคตที่คนวัยทำงานตอนนี้จะกลายเป็นผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัยแบบไหนที่เหมาะกับสังคมยุคใหม่ และเทรนด์อสังหาฯ จะพัฒนาไปอย่างไร? เรามาดู 5 ทางเลือกที่อยู่อาศัยที่เราคัดมาแล้วว่ากำลังเติบโตในประเทศไทยไว้เป็นทางเลือกกัน จากสถานการณ์ในตอนนี้ ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aged Society) แล้วในปี 2564 คือ เป็นสังคมที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุในช่วง 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 13 ล้านคน และคาดว่าในปี 2583 หรืออีก 20 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 20 ล้านคน และมีผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปมากถึง 3.5 ล้านคน ประกอบกับอัตราการมีบุตรที่น้อยลง คนเป็นโสดมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุในยุคนี้ รวมถึงอนาคตข้างหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอยู่ตัวคนเดียวในบั้นปลายชีวิตมากขึ้น เริ่มมองหาทางเลือกที่อยู่อาศัยในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากการอยู่อาศัยในบ้านเดิมของตัวเอง เพื่อให้ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

งานสัมมนาออนไลน์ The future of Wellness Real Estate

สำหรับคนที่อยากอัพเดทเทรนด์สุขภาพในวงการอสังหาฯ ที่อยู่อาศัย โรงแรม ห้ามพลาด! ซื้อบัตร Early Bird ภายในวันที่ 1 เมษายนนี้!

ดูรายละเอียด >> https://www.feasyonline.com/wellness2022

เมื่อเรานึกถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย เราก็มักจะถึงทางเลือกได้แค่ประมาณ 3 ประเภท ได้แก่ อยู่ในบ้านตัวเองต่อไป ไปอยู่บ้านพักคนชรา หรือ ซื้อบ้านและคอนโดผู้สูงอายุซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการพ่วงเข้ามาด้วย แต่แท้จริงแล้วมีทางเลือกของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุนับสิบประเภทเลยทีเดียว โครงการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุหลายโครงการในประเทศไทยก็มีที่อยู่อาศัยมากกว่าประเภทเดียวอยู่ในนั้น เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน ทางเลือกเหล่านี้จึงเหมาะสำหรับคนต่างกัน เช่น บางคนเป็นผู้สูงอายุที่โสด ไม่มีลูกหลาน ติดสังคม ดูแลตัวเองได้ อาจชอบไปอยู่คอนโดผู้สูงอายุมากกว่าอยู่บ้านตัวเอง หรือบางคนอาจต้องการการดูแลจากพยาบาล หรือ หมอเป็นครั้งคราวก็อาจต้องการทางเลือกอื่นเช่นกัน

จากข้อมูลของ SeniorLiving.org ได้แบ่งประเภทของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุออกเป็น 15 ประเภทเลยทีเดียว โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือกที่อยู่อาศัยเหล่านี้ คือ ค่าใช้จ่าย และ ระดับการดูแล ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้สูงอายุต้องใช้ในการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย เนื่องจากในวัยเกษียณ ผู้สูงอายุจะไม่มีรายได้จากงานประจำเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องอยู่อาศัยด้วยเงินเก็บ หรือ รายได้ทางอื่น และยังต้องเก็บเงินเอาไว้รับความเสี่ยงด้านค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งหากมีอายุขัยยาวนานก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนปัจจัยด้านระดับการดูแลนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสุขภาพของผู้สูงอายุ ณ เวลานั้นเป็นอย่างไร หากสุขภาพแข็งแรงดี สามารถดูแลตัวเองได้ก็ไม่จำเป็นต้องมีคนดูแลมากนัก

5 ประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

  1. Aging in place อยู่อาศัยในบ้านตัวเองต่อไป
  2. Independent Living โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย
  3. Residential care home ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ
  4. Nursing home สถานบริบาล
  5. Continuing care retirement community (CCRC) ชุมชนคนเกษียณอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่อง

1. Aging in place หรือ การอยู่อาศัยในบ้านตัวเองต่อไป คือการปรับที่อยู่อาศัยเดิมของตัวเองให้เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยไม่ต้องย้ายบ้าน

เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้และชอบอยู่บ้าน มีครอบครัว หรือ สังคมเพื่อนบ้านให้ไปมาหาสู่ หากต้องการการดูแลเป็นพิเศษสามารถเดินทางไปโรงพยาบาล หรือ ใช้บริการพิเศษที่เข้ามาดูแลถึงที่บ้านได้ (Health at Home)

สิ่งสำคัญ: บ้านสำหรับผู้สูงอายุควรจะได้รับการออกแบบ ปรับปรุงให้เหมาะสำหรับการใช้ชีวิต เช่น ย้ายห้องนอนมาอยู่ชั้นล่างเพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินขึ้นบันได เพิ่มราวจับ พื้นกันลื่น ณ จุดต่าง ๆ ของบ้าน และ กล้องวงจรปิด เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย: ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป และค่าปรับปรุงบ้านเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุตามกำลังทรัพย์

2. Independent Living โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย หรือ บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ

เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนใหญ่ระบุว่าผู้อยู่อาศัยต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 – 60 ปีขึ้นไป แต่ในบางโครงการก็อนุญาตให้คนทุกช่วงวัยซื้อสิทธิ์อยู่อาศัยได้เช่นกัน โดยมีรูปแบบที่อยู่อาศัยหลากหลาย บางโครงการอาจจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรือ อะพาร์ตเมนต์ โดยผู้เข้าอยู่อาจซื้อสิทธิ์แบบกำหนดระยะเวลาเป็นปี หรือ ทำสัญญาเช่าตลอดชีพ ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายที่ได้พัฒนา ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย Retirement Community ด้วยการจับมือกับโรงพยาบาล หรือ สถานบริบาล Nursing Home ต่าง ๆ เพื่อตอบรับดีมานด์ของผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย

เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ หรือต้องการความช่วยเหลือเล็กน้อย ต้องการเข้าสังคมทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุอื่น ๆ เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน หรือไม่ได้อยู่ใกล้กับลูกหลาน การมาอยู่ใน Retirement Community ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ต้องมีภาระในการดูแลบ้าน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย มีกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่ครบครัน หากต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด บางโครงการจะมีบริการเสริมด้านการตรวจสุขภาพ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้บริการอีกด้วย

ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง

ขึ้นอยู่กับระดับโครงการที่เลือกซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการภาคเอกชนจะพัฒนาโครงการ สำหรับกลุ่มกำลังซื้อปานกลาง – สูง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายมักยังไม่รวมค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป

3. ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ Residential care home

เราน่าจะเคยได้ยินคำว่า Care Home และ Nursing Home กันมาบ้างแล้ว ที่อยู่อาศัยทั้งสองรูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะต่างกันตรงที่ Nursing Home มีระดับการดูแลที่ใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้นมา ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนั่นเอง

เหมาะสำหรับ: Care Home เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเบื้องต้นในกิจวัตรประจำวัน Activities of Daily Living (ADLs) เช่น การเดิน อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า เป็นต้น ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการอาหาร และกิจกรรมต่าง ๆ

ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง

ค่าบริการคิดเป็นรายวัน หรือ รายเดือน และมีค่าใช้จ่ายเสริมสำหรับการเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

4. Nursing home สถานบริบาล

เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ต้องการบริการทางการแพทย์ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล ในบางที่จะมีผู้ดูแลที่เฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วย ผู้สูงอายุจะได้รับการดูอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในด้านอาหาร และกิจกรรม

ค่าใช้จ่าย: สูง

คิดค่าบริการเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายเดือน ขึ้นอยู่กับรูปแบบห้องและบริการที่เลือก

5. ชุมชนคนเกษียณอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่อง Continuing care retirement community (CCRC) โครงการในรูปแบบนี้ คือ โครงการขนาดใหญ่ที่มีทั้ง ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ (Retirement Community) ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล 24 ชั่วโมง (Residential care home) รวมไปถึงสถานบริบาล (Nursing home) ที่มีพยาบาลและแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด

เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ต้องการจะจ่ายเงินเพื่ออยู่อาศัยในโครงการเดิมตลอดชีพ ในช่วงที่ดูแลตัวเองได้อาจอยู่ในส่วน Retirement Community และหากเจ็บป่วย ต้องการการดูแลก็สามารถย้ายไปอยู่ที่ Care home หรือ Nursing home ตามแต่ระดับการดูแลที่จำเป็นต้องได้รับ ข้อดีของโครงการใหญ่ คือ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมมากมาย

ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง – สูง ขึ้นอยู่กับแพคเกจที่เลือก

ในประเทศไทยก็มีหลายโครงการในรูปแบบนี้ซึ่งมักเป็นโครงการที่พัฒนาโดยโรงพยาบาล หรือ เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น Senior Complex ที่พักผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ ซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 1.82 ล้านบาท หรือ โครงการ Jin Wellbeing County

          5 ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Living) นี้คือ 5 ประเภทที่อยู่อาศัยที่เราคัดมาเปรียบเทียบให้คุณได้เห็นชัด ๆ ว่าตอบโจทย์ผู้สูงอายุต่างกันอย่างไร ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตามองว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ก้าวเข้ามาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับความต้องการ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคนี้ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ได้แก่ โครงการบ้านผู้สูงอายุ คอนโดผู้สูงอายุ ที่ขายสิทธิ์การอยู่อาศัยเหมือนการเซ้ง 30 ปี แทนการซื้อขาด เนื่องจากคนยุคใหม่เริ่มนิยมเช่าบ้าน มากกว่าซื้อ อาจเป็นเพราะหลายคนไม่มีทายาทให้ส่งต่อมรดก และการเช่าสิทธิ์สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าจะมีโครงการใหม่ๆ อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทพัฒนาอสังหาฯ สถานบริบาล (Nursing Home) และโรงพยาบาล ที่ให้เกิดผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น โครงการ Health at Home ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถรับบริการตรวจสุขภาพที่บ้านได้ หรือ บริการเดินทางรับส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่จะตอบโจทย์คนในยุคนี้มากขึ้น

วิทยากร

อยากฟังแนวคิด การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ห้ามพลาด!
สัมมนาออนไลน์: รวมเทรนด์สุขภาพมาแรง สำหรับที่อยู่อาศัย-โรงแรม ยุค New Norma
l
The Future of Wellness Real Estate
6 พฤษภาคมนี้ 8.30 - 18.00 น.
Online ผ่าน Facebook Private Group
ดูรายละเอียด https://www.feasyonline.com/wellness2022

พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ

ด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาลหลากหลายท่าน

มาเจาะแนวคิดการผสาน Wellness ในวงการอสังหาฯ

  • TRENDS การเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัยหลังยุคโควิด และเทรนด์การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
  • SUCCESS CASES เจาะแนวคิดการพัฒนาบริการและ ที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม
  • SMART SOLUTIONS อัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่อาศัยในยุคนี้

งานนี้เหมาะกับใคร?

  • นักพัฒนาอสังหาฯ ที่กำลังมองหาตลาดด้านสุขภาพสำหรับทุกช่วงวัย รวมถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
  • ผู้บริหารโรงแรม อะพาร์ตเมนต์ ที่กำลังมองหาตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ และสุขภาพแบบองค์รวม
  • ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ ที่มองหาโอกาสร่วมกับธุรกิจอสังหาฯ เพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ

ด่วน! ราคาพิเศษ

ซื้อบัตร Early Bird Ticket เพียง 900 บาท/ท่าน
หรือ Early Bird Group Ticket เพียง 
4500 บาท/6 ท่าน
ภายในวันที่ 1 เมษายนนี้!

ดูรายละเอียด >> https://www.feasyonline.com/wellness2022

 

#WellnessRealEstate #Wellness
 

References

https://www.consumeraffairs.com/health/senior-living-options.html
https://dailycaring.com/senior-housing-options-overview/
https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512636145-109_4.pdfฃ

https://www.thaipost.net/main/detail/103356

Writer
คุณน้ำทิพย์ พรโชคชัย
นักประเมินค่าทรัพย์สินระดับชั้นสามัญ MD, Area Research ผู้พัฒนา Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ

สถานที่อบรม (VENUE)

Online ผ่าน Facebook Private Group

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

6 พฤษภาคม 2565 08.30 - 18.00 น.

จัดโดย

Thai Real Estate Business School (Trebs)
เบอร์ติดต่อ : 0858105553

ค่าธรรมเนียม (FEE)

900 - 4500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 389 ครั้ง