หลักการและเหตุผล
ระบบ FTTx (Fiber To The x) หรือบางครั้งอาจรู้จักในชื่อของระบบ FTTH (Fiber To The Home) เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบ Broadband Communication ที่มีการพัฒนาและกำลังถูกนำมาใช้งานมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย เทคโนโลยี FTTx ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง ปริมาณข้อมูลมากๆ ซึ่งลักษณะของข้อมูลที่ถูกส่งภายในระบบ FTTx ประกอบด้วย สัญญาณเสียง (voice) สัญญาณข้อมูล (Data) และ สัญญาณภาพ (VDO) ระบบ FTTx เป็นระบบที่ใช้เส้นใยนำแสง (Fiber Optic) ในการส่งข้อมูลระหว่างสถานีต้นทาง หรือที่เรียกว่า Center Office (OLT) กับสถานีปลายทางหรือบ้านผู้เช่า ซึ่งบางครั้งเรียกว่า Optical Network Terminal (ONT) ดังนั้น ระบบ FTTx จึงเป็นระบบที่กำลังมีบทบาทมาก สำหรับการให้บริการข้อมูลความเร็วสูงในลักษณะ Broadband Communication ในปัจจุบัน เช่น การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การให้บริการ IPTV IP Phone และการบริการ Video on Demand รวมถึงการรองรับเทคโนโลยีของ Internet of Thing (IOT) ที่กำลังเติบโตขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในหน่วยงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อทำให้บุคลากรเหล่านั้นได้เข้าใจถึงกลักการและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการของโครงข่ายระบบ FTTx
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความเข้าใจเกี่ยวกับพารามิเตอร์และอุปกรณ์ที่สำคัญของโครงข่ายระบบ FTTx
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถออกแบบโครงข่ายระบบ FTTx เบื้องต้นได้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเครื่องมือทดสอบต่างๆ ในโครงข่ายระบบ FTTx
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถวิเคราะห์ผลการทดสอบพารามิเตอร์ต่างๆ ของโครงข่ายระบบ FTTx
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ออกแบบและทดสอบโครงข่ายระบบ FTTx ได้
หัวข้อการฝีกอบรม
- เส้นใยนำแสงและระบบสื่อสารเชิงแสงเบื้องต้น
- พารามิเตอร์ที่สำคัญของเส้นใยนำแสง
- หลักการและโครงสร้างพื้นฐานของระบบ FTTx
- มาตรฐานของระบบ FTTx (BPON, GEPON, GPON)
- อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบ FTTx (OSP Equipment)
- การวางโครงข่าย FTTx (FTTx Topology)
- การพิจารณาค่าการสูญเสียในระบบ FTTx
- การออกแบบระบบ FTTx บนเงื่อนไข Physical-Medium-Dependent Layer (PMD)
- การทดสอบในระบบ FTTx (Bidirectional Loss Testing, Link Characterization Using OTDR, Activation Testing)
- การวิเคราะห์ผลการทดสอบพารามิเตอร์ต่างๆ ของระบบ FTTx
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสื่อสารโทรคมนาคม
มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเส้นใยนำแสง
มีความสนใจเทคโนโลยีของการสื่อสารโทรคมนาคม
รูปแบบการอบรม
บรรยาย (Lecture)
วันที่รับสมัคร
01/01/2562 - 09/09/2562
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ทุกท่านที่สนใจ
สถานที่อบรม (VENUE)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)
20 กันยายน 2562 09.00-16.00 น.
จัดโดย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
เบอร์ติดต่อ : 029883655
ค่าธรรมเนียม (FEE)
3500
(ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ผู้เข้าชม: 1919 ครั้ง