เลขานุการยุคใหม่กับเจ้านาย 4 GEN Company Secretary to 4 Generation Boss

21 ธันวาคม 2567


หลักการและเหตุผล

          หลาย ๆ คนอาจมีความสงสัยว่า เลขานุการบริษัทมีความสำคัญอย่างไร และมากน้อยเพียงไร จนถึงขั้นที่ต้องตราไว้ในกฎหมายว่า บริษัทจดทะเบียน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ก็คือมี บทบัญญัติในส่วนที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องจัดให้มี"เลขานุการบริษัท"การแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (Company Secretary)ต้องมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ โดยเป็นบุคคลที่คอยช่วยให้บริษัทและคณะกรรมการของบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นตัวกลางที่คอยประสานงานกับบุคคลทั้งภายในบริษัท  และบุคคลภายนอกบริษัท เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีแหล่งข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบ และสะดวกต่อการค้นหาอ้างอิง และยังได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัทไว้ให้มีหน้าที่ในการจัดทำและเก็บรักษาเอกสารที่สำคัญต่าง ๆ ของบริษัท 

          การทำงานของเลขานุการยุคใหม่ นอกจากมีความรับผิดชอบที่หลากหลาย คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นเลขานุการบริษัท ยังมีความรอบรู้และเข้าใจทั้งในเรื่องธุรกิจของบริษัท และเรื่องที่เกี่ยวข้องในงาน รวมทั้งการทำงานกับเจ้านายในเจนเนอเรชั่น(Generation) หรือช่วงวัยทำงานที่แตกต่างกัน หน้าที่และการทำงานต้องการปรับตัวให้ทันยุค ทันสมัยอยู่ตลอดเวลากับมนุษย์งาน4 GENในปัจจุบัน

         ด้วยเหตุนี้และความสำคัญของเลขานุการบริษัทต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท รวมถึงมติของคณะกรรมการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกด้วย การฝึกอบรมสัมมนาครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นให้หลักการ แนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นรูปธรรมในทำงานกับเจ้านาย4 GENได้อย่างราบรื่น มีความสุข และมีเทคนิคการทำงานกับเจ้านาย4 GENด้วยSELF Model

 

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักงานเลขานุการอย่างถูกต้อง ทันยุค ทันสมัยกับการทำงานกับเจ้านายในแต่ช่วงวัย(Generation)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.      เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะ มีวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์กับเจ้านาย4 GENอย่างมีรูปแบบและตรงกับสไตล์ของการทำงานร่วมกันด้วยมืออาชีพ

3.      เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้จักการพัฒนาบุคลิกภาพ เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติหน้าที่งานเลขานุการ และเทคนิคใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ           

ประเด็นการสนทนา/ฝึกปฏิบัติ

1.      ทำความรู้จักกับงาน"เลขานุการ" มากขึ้นกันเถอะ

§ งานเลขานุการต้องทำอะไรบ้าง?

§ เสน่ห์ของงานเลขานุการคืออะไร?

§ ข้อดีของงานเลขานุการคือ?

§ ข้อเสียของงานเลขานุการคือ?

§ คุณสมบัติของเลขานุการที่ควรมี?

2.      ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพเลขานุการบริษัท

§ จัดลำดับความสำคัญของงาน และการจัดเก็บเอกสาร

§ ให้ความสำคัญกับเรื่องของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ

§ มีความเชี่ยวชาญ 3 โปรแกรมหลักการใช้คอมพิวเตอร์

§ การบันทึกรายงานการประชุม

§ การสื่อสารให้เป็น พูดให้รู้เรื่อง เรื่องใดควรพูดหรือเรื่องใดไม่ควรพูด

§ การระมัดระวังในเรื่องของการให้ข้อมูลสำคัญ กับผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

3.      คุณสมบัติของเลขานุการที่เจ้านายต้องการยุคใหม่

4.      เลขานุการกับการรู้จักวิถี 4 เจเนเรชั่นในที่ทำงาน กับเจ้านาย4 GEN

§ ช่องว่างระหว่างวัย (generation gap)

§ "ช่วงวัย" หรือ"เจเนเรชั่น" (generation)

§ 4 GENในที่ทำงานต้องรู้ (Baby boomer)(Gen-X)(Gen-Y)(Gen Z)

WORKSHOP :วิเคราะห์กฎเหล็ก4ข้อของเลขานุการกับเจ้านาย4 GEN

5.      เทคนิคการทลายช่องว่างและกำแพงระหว่างวัยทำงานของเลขานุการกับเจ้านาย 4GEN

§ รูปแบบการทำงาน

§ เป้าหมายในการทำงาน

§ งานที่คนทำงาน GENนี้ควรทำ

6.       CASE STUDYกรณีศึกษาจากเลขานุการองค์ชั้นนำ "เลขานุการยุคใหม่ ทำอย่างไรให้ชนะใจเจ้านาย"

 

7.      เทคนิคในการทำงานกับเจ้านายให้ราบรื่นด้วย SELF model

§ S : Social (สังคม)

§ E : Emotional (อารมณ์)

§ L : Learning (เรียนรู้)

§ F: Flow (ยืดหยุ่น)

8.      Q & Aถาม-ตอบปัญหา แลกเปลี่ยนประเด็น และแนวทางแก้ไขปัญหา

วิธีการฝึกอบรม- สัมมนา

เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Dynamic & Workshop)เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน (Learning by Doing and Participating with Experiences) ซึ่งประกอบด้วย

{ การบรรยาย    { กิจกรรม และเกม   { การแสดงออก

{ กลุ่มสัมพันธ์    { การแสดงความคิด ถาม- ตอบ



สถานที่อบรม (VENUE)

@ Novotel Bangkok Hotel ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

21 ธันวาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 48 ครั้ง