ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ รวมถึงกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบการ พ.ศ.2548 ได้กำหนดสวัสดิการที่จำเป็นต้องมีในสถานประกอบการเพื่อการดำเนินการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมให้กับพนักงาน
"คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ" จึงเป็นผู้ ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการจัดสวัสดิการสำหรับพนักงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งคณะกรรมการสวัสดิการฯ ยังเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุน ผลักดันเพื่อการแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการ ซึ่งหากคณะกรรมการฯ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินงาน และทราบบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะคณะกรรมการฯ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจ ความหมาย หลักการ และแนวคิดในการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบการ
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในสถานประกอบการ
เนื้อหาการเรียนรู้
1.สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
2. การบริหารของนายจ้างที่พึงมีต่อคณะกรรมการสวัสดิการ
3.บทบาทอำนาจหน้าที่ของนายจ้างและคณะกรรมการสวัสดิการฯ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสวัสดิการ ที่คณะกรรมการสวัสดิการควรทราบ
5. สวัสดิการแรงงาน คืออะไร? ประเภทและหลักการรูปแบบกำหนดสวัสดิการในสถานประกอบการ
6. ผลพ่วงวิถีใหม่จากCovid-19ที่ธุรกิจต้องปรับตัวและคณะกรรมการสวัสดิการทราบเพื่อให้ความร่วมมือร่วมหารือกับนายจ้างที่จะทำให้ธุรกิจเดินต่อไปให้ได้อย่างไร?
7. วิถีใหม่ในการปรึกษาหารือเพื่อปรับปรุงสวัสดิการในอนาคต และข้อกฎหมายที่ควรพึงระวัง พร้อมตัวอย่างตารางพิจารณาเสนอแนะ
8. เหตุสุดวิสัยว่างงาน สิทธิที่ลูกจ้างที่จะได้รับจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน ม.75 และจากประกันสังคมมีอะไรบ้าง?
9. ผลดี-ผลเสียการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
10. ปัญหาการจัดสวัสดิการในสถานประกอบการที่คณะการสวัสดิการควรทราบ
ถาม-ตอบ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และฝ่าย HR