เทคนิคการสอบสวนทางวินัยและการลงโทษพนักงาน

24 สิงหาคม 2566

หลักการและเหตุผล

         วินัยขององค์กร เปรียบเสมือนมาตรฐานของคนดีที่องค์กรปรารถนาให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้สังคมภายในองค์กรนั้นดำรงอยู่อย่างมีความสุข และมีความยุติธรรม เมื่อมีเหตุที่สมาชิกในองค์กรถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย หรือมีพฤติการณ์ที่อาจคาดหมายได้ว่ามีสมาชิกในองค์กรกระทำผิดวินัย โดยทั่วไปแล้วหากมีกรณีที่อาจเข้าข่ายการทำผิดวินัยร้ายแรง หรือพฤติการณ์ที่ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการกระทำดังกล่าวนั้น ผู้ใดกระทำความผิด หรือกระทำความผิดในเรื่องใด การสอบสวนหาข้อเท็จจริง เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้สมาชิกในองค์กรนั้น ๆ ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม องค์กรจึงควรมีกระบวนการสอบสวนทางวินัยที่ยุติธรรม รวดเร็ว ปราศจากอคติ และสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างเหมาะสมกับความผิดนั้น หรือไม่ให้เกิดการลงโทษผิด

         เพื่อให้มั่นใจว่า องค์กรมีการปฏิบัติอย่างยุติธรรมต่อพนักงาน และมั่นใจว่า "จะไม่มีพนักงานคนใดถูกลงโทษทางวินัย โดยปราศจากการตรวจสอบหรือรับฟังพยานหลักฐานที่เหมาะสมและเป็นธรรม" จึงควรมีการกำหนดมาตรการทางวินัย ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือตัวแทนขององค์กรควรมีความรู้และเทคนิคเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กร

วัตถุประสงค์หลักสูตร

-        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการสอบสวนทางวินัยในองค์กร

-        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัย

-        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคในการปฏิบัติงานในฐานะประธานหรือกรรมการผู้สอบสวนทางวินัยขององค์กร

-        เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ กรณีศึกษาต่าง ๆ ในการสอบสวนทางวินัยที่เคยเกิดขึ้นในธุรกิจประเภทต่าง ๆ

เนื้อหาหลักสูตร

1.      ความหมายของกระบวนการสอบสวนทางวินัย องค์กรทำไมถึงจำเป็นต้องมีกระบวนการนี้

2.      กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนทางวินัย และการลงโทษพนักงาน

3.      การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย

4.      การออกหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องเพื่อกระบวนการสอบสวนทางวินัย

5.      การแจ้งข้อกล่าวหา การกำหนดประเด็น

6.      เทคนิคการสอบสวน และการบันทึกการสอบสวน

7.      การพักงานระหว่างสอบสวน

8.      การสรุปข้อเท็จจริงและการลงโทษทางวินัย

9.      การสอบสวนทางวินัย แตกต่างกับ การสอบสวนเรื่องราวร้องทุกข์อย่างไร

วิทยากร

อ.พงศ์พรรณ์ พลเยี่ยม

         - ประสบการณ์การทำงานด้านHRมาตั้งแต่ปี2532 จนถึงปัจจุบัน มากกว่า30ปี

         - อาจารย์พิเศษ วิชากฎหมายธุรกิจ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

         - ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน และด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทเอกชน

         - คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย (กรรมการอิสระ) บริษัทเอกชน

สิ่งที่จะได้รับจากการอบรม

         ตัวอย่างประกาศแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย

         ตัวอย่างการบันทึกการสอบสวน

         ตัวอย่างรายงานสรุปผลการสอบสวนทางวินัย

         ตัวอย่างหนังสือลงโทษทางวินัย

         ตัวอย่างหนังสือเลิกจ้างกรณีทำผิดวินัยร้ายแรง

หมายเหตุ

-อัตราค่าสัมมนา ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม /นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย3%ได้

-ราคารวม เอกสารการอบรม / อาหารว่างและอาหารกลางวันตลอดหลักสูตร (สำหรับหลักสูตรOn-Site)

-วุฒิบัตรมอบให้ พร้อมไฟล์เอกสาร

 

*****ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนา สามารถลดหย่อนภาษีได้200% *****

 

**********ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร.063-846-6405

Line : chosenthebest /Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: [email protected]/www.chosenthebest.com

วิทยากร

อ.พงศ์พรรณ์ พลเยี่ยม



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมแรมแบรนดท์ สุขุมวิทซอย 18

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

24 สิงหาคม 2566 09.00-16.00 น.

จัดโดย

โชเซ่น เดอะ เบสท์
เบอร์ติดต่อ : 0638466405

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4200 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 568 ครั้ง