หลักการและเหตุผล
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของลูกค้าทั้งด้านงานผลิตและงานบริการส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับสภาพดังกล่าวสิ่งที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องดำเนินการก็คือการปรับองค์กรโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้แก่ ความไม่แน่นอนของความต้องการในงานบริการของลูกค้าความไม่แน่นอนของกระบวนการทำงานและความไม่แน่นอนของเวลาในการทำงานที่เร่งรีบด้วยเหตุนี้การนำเอาระบบการทำงานแบบลีนซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆและลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงานตั้งแต่การออกแบบการจัดส่งวัตถุดิบของผู้จัดส่ง การบริหารพัสดุคงคลัง การผลิตจนกระทั่งการสร้างความพึงพอใจและการบริการให้แก่ลูกค้ามาประยุกต์ใช้ด้วยการวิเคราะห์คุณค่าของกระบวนการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทุกคนในองค์กร ควรจะมีความรู้เรื่อง ลีน เบื้องต้นเพื่อช่วยกันระดมสมองในการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรในอนาคต
หัวข้อการอบรม
vและแนวคิดพื้นฐานของลีน
vองค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
vการปรับความคิดสู่ การทำ"ลีน"ในการทำงาน
vคุณค่าและความสูญเปล่า
•ความหมายและแนวทางการระบุคุณค่า (Values)
•ความหมายและแนวทางการระบุความสูญเปล่า (Wastes)
vรู้จักการลดต้นทุนการผลิตด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ของลีน
vการแก้ไขปัญหา8Wastes ; DOWNTIMEในเวลาการทำงาน
vแนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานและสินค้า
vตัวอย่างต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการลดWasteขององค์กรอื่นๆ
Workshop : การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงานด้วย
ระบบลีน
vสรุปประเด็น ถาม ตอบ
รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม
-Virtual Class Online Training by Conference Meeting Application
- อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนแนวคิดร่วมกัน
- สรุปและถาม-ตอบ เพื่อทดสอบความเข้าใจ
วิทยากร :อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา
สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ **สถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลง
28 เมษายน 2566 9.00 น. – 16.00 น.
บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444
3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)