การทำงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ผู้ทำการวิจัยจะต้องตระหนักถึงคุณประโยชน์ที่อาสาสมัครจะได้รับ มากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และต้องปกป้องชีวิต สุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และความมีศักดิ์ศรีของอาสาสมัครตามหลักจริยธรรมการวิจัยสากลเป็นสิ่งสำคัญ
ในปี 2567 ที่ผ่านมา สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (Institutional Review Board, Association of Legal & Political Studies: ALPS-IRB)ขึ้นเพื่อกำกับดูแลโครงการวิจัยที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ของบุคลากรภายในสมาคมฯ และส่งเสริมการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์แก่บุคคลภายนอก ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเกณฑ์จริยธรรมที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยจัดโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ให้กับบุคคลทั่วไป มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในปี2568 เพื่อส่งเสริมการดำเนินการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเกณฑ์จริยธรรมที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- รศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ (อดีตอาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล) ที่ปรึกษาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
- ศ.ดร.อรรถพล ควรเลี้ยง (Midwestern State University,USA) กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
- ศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา (มหาวิทยาลัยศิลปากร) กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
- อ.ดร.ปริญญา สิริอัตตะกุล กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์