เทคโนโลยีได้ขับเคลื่อนโลกไปอย่างรวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการติดต่อสื่อสาร ซื้อขายสินค้า รวมไปถึงด้านวิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ได้ใช้กำลังผู้คนจำนวนมากในการผลิตสินค้าอย่างภาพจำของหลายๆ คนอีกต่อไป "Smart Factory"หรือโรงงานอัจฉริยะ ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับของการผลิต และคุณภาพสินค้า โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory)เป็นวิวัฒนาการทางด้านข้อมูลของโรงงานแบบใหม่ ซึ่งการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านทางเครือข่าย เป็นขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่โรงงานอัจฉริยะ อย่างไรก็ดี อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอิเล็กทรอนิกส์มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ดังนั้น การพัฒนาระบบที่สามารถเฝ้าติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเป็นอย่างยิ่ง การหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานะการผลิตจากอุปกรณ์แต่ละแบรนด์ซึ่งใช้โปรโตคอลในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการวิเคราะห์สำหรับการเฝ้าติดตามจากระยะไกล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและปฏิบัติการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าติดตามกระบวนการผลิต จะเป็นปัญหาหลักในอนาคตที่ท้าทายของผู้จัดการโรงงานทุกคนSmart Factoryเป็นการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีเครื่องจักรต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ (AI)และIoT (Internet of Things)เข้ามาเพื่อบริหารจัดการภายในโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างการทำงานที่เป็นระบบแบบอัตโนมัติ (Automation)ยกระดับคุณภาพของชิ้นงาน แต่ใช้กำลังคนที่น้อยลงโดยผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภายในโรงงานได้อย่างเป็นระบบ เข้าถึงได้แม้อยู่ในระยะไกล ไม่อยู่ในโรงงานก็ยังสามารถควบคุมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมีปัญญาประดิษฐ์คอยประมวลผลการทำงานร่วมกับเครื่องจักร สามารถบันทึกข้อมูลสถิติต่างๆ ได้อย่างชัดเจน อย่างเช่น อุณหภูมิของเครื่องจักร อัตราและจำนวนการผลิต ชั่วโมงการทำงาน ฯลฯ ทำให้เมื่อเกิดความผิดพลาดก็สามารถที่ตรวจสอบจากชุดข้อมูลเหล่านี้ได้(TOT: ออนไลน์)
จากที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์พัฒนาวิชาชีพ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ที่กำลังเข้ามาพัฒนาและช่วยภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น ศูนย์พัฒนาวิชาชีพ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จึงจัดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติภายใต้โครงการ 10.1-1 การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ปีงบประมาณ2565หลักสูตรManufacturing Data and Process Management for Smart Factory เพื่อเป็นการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไปสู่ระบบอัตโนมัติ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. ครู/อาจารย์ 2. ผู้ประกอบการ บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 3. ผู้ให้บริการด้านพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (System Integrator) หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดร.บุญธิดา ชุนงาม
อ.วศกร ไตรพัฒน์
15 วัน (26 มกราคม 2565 – 13 กุมภาพันธ์ 2565) อบรมวันพุธ – วันเสาร์ (รูปแบบออนไลน์) วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม, 6 และ 13 กุมภาพันธ์ 2565 (Workshop ณ ศูนย์พัฒนาวิชาชีพ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี)
26 มกราคม - 13 กุมภาพันธ์ 2565 9.00 - 16.00 (อบรมเฉพาะวันพุธ - วันอาทิตย์)
ศูนย์พัฒนาวิชาชีพ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เบอร์ติดต่อ : 0834622479
สัมมนาฟรี