หลักสูตร กระบวนการพิธีการนำเข้า-ส่งออก และสิทธิทางภาษีอากร

19 ตุลาคม 2565

หลักสูตร กระบวนการพิธีการนำเข้า-ส่งออก ทั้งระบบ (2 วัน)

หลักการและเหตุผล 

         ธุรกิจการค้านำเข้า-ส่งออก ในวันนี้มีข้อตกลงทางการค้า (FTA)มากมายที่นานาประเทศได้ทำข้อมติทางการค้าร่วมกับไทย ซึ่งต้องมีเรื่องของงานพิธีการศุลกากรเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนและมีคุณภาพเพื่อให้คู่ค้าในต่างประเทศสามารถจำหน่ายได้, แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น เนื่องจากกระบวนการและงานพิธีการทางเอกสารสำคัญเบื้องต้น ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ประกอบจำเป็นต้องจัดเตรียมและนำไปยื่นให้กับกรมการค้าต่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์ และกรมศุลกากร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นนำเข้าและส่งออกได้ถูกต้อง และมีปัญหาทางด้านต้นทุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ต้องทำความเข้าใจ และศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจเกิดความสะดวกราบรื่น และช่วยบริหารจัดการต้นทุนทางด้านกระบวนการนำเข้า-ส่งออก (Logistic & Supply Chain)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       โชเซ่น เดอะ เบสท์ ฯ จึงขอเรียนเชิญผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า-ส่งออก, นักธุรกิจ,ผู้ผลิต,ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ,ผู้นำเข้า-ส่งออก, พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการทำธุรกิจ นำเข้า-ส่งออกเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้

วันที่ 19 ตุลาคม 2565(บรรยายโดย อ.วรเกษมสันต์ สิริศุภรัชต์)

09:00-12:00น.

1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก

ความสำคัญของพิกัดศุลกากร และกระบวนการขนส่ง

การค้นหาพิกัด และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อการส่งออก

2.เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า (Incoterms 2020)
    -  EXW      - FCA     - FAS       - FOB   - CFR    - CIF     - CPT    - CIP     -  DAT          - DAP         - DDP

  -ประเภทการบรรจุสินค้าในตู้คอนเทรนเนอร์

3.เครื่องมือที่ใช้ในการชำระค่าสินค้า หลักการและวิธีการของ
        
-การชำระเงินแบบAdvance Payments

         -การชำระเงินแบบ Open Account

         -การชำระเงินแบบ Bill of lection

         -การชำระเงินแบบ Letter of Credit

         -ความเสี่ยงการชำระเงินแบบฝากขาย (Consignments)

13:00-16:00น.

4.ขั้นตอนในการส่งสินค้า และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการค้าระหว่างประเทศ

     -เอกสารทางการค้า (Commercial)ที่จำเป็นต่อพิธีการนำเข้า-ส่งออก

     -เอกสารทางการเงิน

      -เอกสารด้านการขนส่ง

      -การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารความเสี่ยง

5.เทคนิคเบื้องต้น ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ด้วยForword Contract, Spot Contract,ฯลฯ
6. แนวทางในการเลือกประกันภัยเพื่อคุ้มครองสินค้าที่จัดซื้อจากต่างประเทศ
7. แนวทางในการเลือกวิธีการขนส่งสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศที่คุ้มค่าปลอดภัย ทันเวลาและเหมาะสมกับสินค้า

วันที่20 ตุลาคม2565 (บรรยายโดย อ.วิชัย มากวัฒนสุข)

  1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

               - ความรับผิดในการเสียค่าอากร การคำนวณค่าภาษีอากร

               - อายุความในการประเมินอากรหลังการตรวจปล่อย (Post Clearance Audit)

               -เงินเพิ่ม เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย

2. อากรศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรพิเศษอื่น ๆ

3.e-Import :การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้า

4. หลักเกณฑ์ด้านพิกัดอัตราศุลกากร (HS Code)พิกัดอัตราศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน (AHTN)

5.หลักเกณฑ์การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร

              - การยกเว้นหรือลดอัตราอากรทั่วไปตามมาตรา 12                     - การยกเว้นหรือลดอัตราอากรสำหรับเขตการค้าเสรี (FTA)

6. e-Export:พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าส่งออก

7. การยกเว้นอากรสำหรับของส่งออกแล้วจะนำกับเข้ามาในภายหลัง (สุทธินำกลับ)

8. การขอคืนอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาแล้วส่งกลับออกไป (Re-Export)

9.การคืนอากรสำหรับของที่นำเข้ามาผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด (มาตรา 29)

10. การจัดตั้งและสิทธิประโยชน์ของคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)

11.การจัดตั้งและสิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากร (Free Zone)

12.การจัดตั้งและสิทธิประโยชน์ของเขตประกอบการเสรี (I-EAT Free Zone)

12.การขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก (Tax Coupon)

13.ปัญหา ข้อควรระวัง และแนวทางในการแก้ไขข้อผิดพลาดการนำเข้า-ส่งออก


วิทยากร

อ.วรเกษมสันต์ สิริศุภรัชต์



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

19 ตุลาคม 2565 09.00-16.00 น.

จัดโดย

โชเซ่น เดอะ เบสท์
เบอร์ติดต่อ : 063846405

ค่าธรรมเนียม (FEE)

7000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 631 ครั้ง