หลักการและเหตุผล
บทบาทของบุคลากรด้านสุขภาพและวิธีการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการบริการสถานพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพที่บูรณาการ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งในปัจจุบันการพัฒนาองค์กร และบุคลากร ให้มีคุณภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และสามารถเตรียมความพร้อมได้อย่างเหมาะสม ด้วยการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างบูรณการและเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาระบบการบริการด้านต่าง ๆ การส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยเน้นให้มีความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้บริหารระดับสูงทั้งในและนอกสาขาวิชาชีพแพทย์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น จากการสร้างเครือข่ายผ่านหลักสูตรนี้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ แนวความคิด ตลอดจนทิศทางใหม่ในการบริหารธุรกิจทางการแพทย์ ที่สอดคล้องกับยุคสังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังการแพร่ระบาดของCovid-19 (Global Health Focus)
2. ผู้อบรมสามารถเรียนรู้ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันเชิงกลยุทธ์(Strategic Competitiveness) ธุรกิจทางการแพทย์ การแพทย์ทางเลือก(Alternative Medicine)ธุรกิจด้านสุขภาพ(Wellness) ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ทันต่อกระแสยุคปฏิวัติดิจิทัล(Digital Revolution)
3. สร้างความตระหนักรู้พัฒนาต่อยอด นำเอาเทคโนโลยีทางการแพทย์(Medical Technology)มาประยุกต์และปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานธุรกิจทางการแพทย์ไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ
4. มุ่งให้ผู้อบรมสามารถบูรณาการความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ(Healthcare)พัฒนาความแข็งแกร่งของจิตใจให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเข้มแข็งและมีคุณธรรมในสังคมได้อย่างมีความสุข (Wellbeing)
5. สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้อบรมในสาขาวิชาชีพแพทย์ นักธุรกิจ และผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ
6. เสริมสร้างเครือข่ายสัมพันธภาพ (Global Health System)และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้อบรม อันจะนำไปสู่ การร่วมมือกันในอนาคต เพื่อชุมชน สังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประเทศชาติ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครเข้าเป็นผู้อบรม 1.1 ผู้บริหารระดับสูงในสายวิชาชีพแพทย์ทุกสาขา ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเวชศาสตร์การกีฬา 1.2 ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมถึงนักลงทุนที่สนใจธุรกิจทางการแพทย์ 1.3 บุคคลที่สถาบันเห็นควรเสนอชื่