รับส่วนลดพิเศษ สมัคร 4 ท่านเข้าฟรีอีก 1 ท่านทันที หลักสูตร หลักสูตร กฎหมายแรงงานกับการบริหารวินัยเ

19 มิถุนายน 2561

 หลักสูตร  กฎหมายแรงงานกับการบริหารวินัยเชิงบูรณาการเพื่อการบริหารงาน บริหารคน (ป้องกัน เสริมสร้าง บังคับใช้) (Integrated of discipline management)

 วันที่ 19 มิถุนายน   2561  เวลา 9.00 น. – 16.00 น.

 ณ โรงแรม St.James  ซอยสุขุมวิท 26 ใกล้ BTS พร้อมพงษ์  กทม **สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วิทยากร : อาจารย์พงศา   บุญชัยวัฒนโชติ

หลักการและเหตุผล

 ผู้จัดการ/หัวหน้างาน ผู้ซึ่งมีบทบาทในการบริหารงานของตนเอง บริหารงานของลูกน้อง และยังต้องบริหารคนในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กร หากพนักงานภายในองค์กรหรือหน่วยงานขาดความมีวินัยเมื่อใด ย่อมส่งผลกระทบต่องานอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้จัดการ/หัวหน้างานจะต้องทำหน้าที่เป็น HR for Line ในการบริหารวินัยพนักงานในหน่วยงานของตนเองเพื่อมิให้เกิดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์และไม่ให้เกิดผลกระทบต่องานของหน่วยงาน ซึ่งแบบอย่างของการบริหารที่ดีคือการบริหารวินัยแบบบูรณาการ ด้วยกระบวนการป้องกัน  เสริมสร้างพัฒนา และการบังคับใช้ แต่สิ่งที่ท้าทายของผู้จัดการ/หัวหน้างานคือ  การบริหารวินัยอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฏหมาย มีความเหมาะสมเป็นธรรม และทำให้พนักงานเกิดความยอมรับในที่สุด อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 
          ดังนั้น จึงจำเป็นอย่งยิ่งที่ผู้จัดการ/หัวหน้างานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการและกฏหมายคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารวินัยอย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์
      1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีแนวคิดและการปฏิบัติให้ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารวินัยพนักงานและกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง

      2. เพื่อให้ผู้ที่เป็นผู้จัดการ/หัวหน้างานงาน ปฏิบัติต่อลูกน้องด้วยความถูกต้อง เหมาะสม และมีความมั่นใจในการบังคับทางวินัยพนักงาน

      3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีเทคนิคสามารถนำไปใช้ในการบริหารวินัย เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานประจำวันได้จริง และก่อเกิดประโยชน์แก่งานขององค์กรหรือหน่วยงาน

 

 เนื้อหาหลักสูตร

 - นายจ้างคือใคร ? ทำไมผู้จัดการ / หัวหน้างาน ต้องรู้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  -  ความหมายและความสำคัญของการบริหารวินัย

  -  ปัจจัยส่งเสริมวินัย และเหตุบั่นทอนวินัย

 -  การบริหารวินัยแบบบูรณาการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 การเสริมสร้างและพัฒนาให้พนักงานมีวินัยการทำงาน

 การพิจารณาขอบเขตการบังคับใช้มาตรการวินัยกับพนักงาน

 -  ทักษะที่ต้องใช้เมื่อมีปัญหาวินัยพนักงานเกิดขึ้นในหน่วยงาน

 กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีผลต่อการบริหารจัดการที่ควรรู้ อาทิ

- การจ้างแรงงาน สัญญาจ้าง สภาพการจ้าง การทดลองงาน

- สิทธิและหน้าที่ของหัวหน้างานและลูกน้อง

- วันเวลาทำงาน วันหยุด และวันลา

- ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลาออกของพนักงาน

- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลาพักร้อน

- มาตรการทางวินัย ประเภทของการลงโทษทางวินัย มีอะไรบ้าง และมีกระบวนการอย่างไร

- การเลิกจ้างและการบอกกล่าวล่วงหน้า

- เทคนิคการเขียนหนังสือเตือน การดำเนินการตักเตือน และการลงโทษวินัยพนักงาน 

- ฯลฯ

  -สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ล่าสุด 2560 อาทิ

- การใช้แรงงานเด็กและเพิ่มเติมบทลงโทษนายจ้าง

- กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท

- บทบัญญัติเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

- บทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ

- เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ

- การเตรียมการเรื่อง การเกษียณอายุพนักงาน เพื่อรองรับกฎหมายใหม่

     เรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยตามมาตรา 119 เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลิกจ้าง

1. การทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

2. การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

3. การประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

4. การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ  หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

5. การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันควร

วิทยากร

อาจารย์พงศา   บุญชัยวัฒนโชติ


สถานที่อบรม (VENUE)

St.James Hotel สุขุมวิท 26 ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

19 มิถุนายน 2561 09.00-16.00

จัดโดย

Hrdzenter
เบอร์ติดต่อ : 0896060444, 0906450992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 748 ครั้ง