รวม 35 ฎีกาคดีแรงงานที่ยอดฮิต นายจ้างและผู้บริหารงานบุคคลห้ามพลาด

27 มีนาคม 2567


หัวข้อการสัมมนา

ข้อ. 1 ทำสัญญาจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานเมื่อถึงวันทำงานแล้วกรณีนายจ้างบอกไม่รับเข้าทำงานจะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายอะไรบ้าง..?                  

ข้อ. 2 ลูกจ้างอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานของตนชักชวนหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาไปเที่ยวในเวลาค่ำคืนนอกเวลาทำงานหากลูกจ้างไม่ไปด้วย จะไม่เสนอให้ผ่านการทดลองงาน การมีพฤติกรรมดังนี้ เป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ เพราะอะไร..?                                                

 ข้อ. 3 วันลาพักผ่อนเมื่ออายุงานครบหนึ่งปี กรณีลาออก เลิกจ้าง ผิดวินัยร้ายแรงหรือวันลาที่สะสมไว้ เมื่อออกจากงานจะได้รับสิทธิอย่างไร..?

ข้อ. 4 กรณีมีฟ้องกันในศาลแรงงาน ผู้ฟ้องเรียกเงินตามกฎหมายแรงงาน การไกล่เกลี่ยให้ได้รับเงินน้อยกว่ากฎหมายทำได้ไหมเพราะอะไร..?

ข้อ. 5 เมื่อลูกจ้างลาออกแล้วยังมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่เพราะอะไร..?

ข้อ. 6 การทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือเป็นกรณีไม่ร้ายแรง การพิจารณาความผิด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง..?                             

ข้อ. 7 กรณีลูกจ้างไม่ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนที่สมทบทำไมถึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างไม่ได้ เพราะอะไร..?                

ข้อ. 8 การจ้างแรงงานตำแหน่งงานที่มิใช่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตามคำพิพากษาศาลฎีกา มีตำแหน่งงานอะไรบ้าง..?                                                            

 ข้อ. 9  กรณีนายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ไม่มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายแรงงาน ตกเป็นโมฆะ เป็นการกำหนดข้อความอย่างไร..?                                                              

ข้อ. 10 ลูกจ้างสัญญาว่าภายใน 24 เดือนนับจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆเพื่อเป็นการแข่งขัน             ธุรกิจทางการค้ากับนายจ้างสัญญาดังนี้ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่..กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนฟ้องเรียกค่าเสียหารได้หรือไม่ เพราะเหตุใด..?                                                                                                

ข้อ. 11 ให้ลูกจ้างไปอบรมเพื่อศึกษาดูงาน 14 วัน มีกำหนดต้องกลับมาทำงานให้กับนายจ้างเป็นเวลา 3 ปี มีผลบังคับใช้หรือไม่เพราะอะไร..?

ข้อ. 12 ในกรณีนายจ้างไม่มอบหมายงานให้ลูกจ้าง  ทำได้ไหม...หรือลูกจ้างฟ้องบังคับให้นายจ้างมอบหมายงาน ทำได้ไหม..เพราะอะไร..?             

ข้อ. 13 เมื่อลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างออกใบสำคัญแสดงการทำงานอย่างไร...ไม่ให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง                                              

ข้อ. 14 ให้ลูกจ้างออกจากงานโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้านายจ้างต้องรับผิดจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด..?

ข้อ. 15 นายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ลาออกไปเลยหรือใช้คำว่าถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ออกไปเลย คำพูดเหล่านี้มีผลอย่างไร..?                       

ข้อ .16 นายจ้างเลิกจ้างโดยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยไปแล้ว ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกทำได้ไหมเพราะอะไร..?                            

ข้อ .17 กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปหลบนอนในเวลาทำงานและนายจ้างไม่เคยตักเตือนมาก่อน เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?             

ข้อ. 18 กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น 25% ขอราคาสินค้าที่สูญหายและได้ผ่อนชำระเป็นงวดๆไป ในเวลาต่อมา นายจ้างจะให้ลูกจ้างรับผิดชอบในราคาขาย 100% ทำได้ไหม เพราะอะไร..?                                            

ข้อ. 19 ในกรณีลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นความผิดทางวินัยลงโทษอะไรได้บ้าง..?

ข้อ. 20 ลูกจ้างลาออกโดยส่งใบลาออกให้นายจ้างทราบทางกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือทางระบบไลน์มีผลบังคับใช้หรือไม่เพราะอะไร..?              

ข้อ. 21 ลูกจ้างทำงานไม่เป็นที่พอใจต่อนายจ้าง จึงเลิกจ้างโดยจ่ายค่าบอกกล่าว ค่าชดเชย ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาให้และมีข้อความว่า เมื่อได้รับเงินแล้วจะไม่เรียกร้อง ค่าเสียหายหรือเงินอื่นใดอีก กรณีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังเพื่อเรียกร้องเงินอื่นใดอีกทำได้ไหมเพราะอะไร..?                 

ข้อ. 22 ในกรณีนายจ้างเลิกจ้าง การบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานต้องแจ้งเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวเมื่อใด..?                  

ข้อ. 23 ลูกจ้างขายสินค้าเมื่อสิ้นสุดการขายแล้วต้องนำเงินเข้าสู่ระบบแคชเชียร์ในวันนั้น กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดอะไรบ้าง..?                      

ข้อ. 24 กรณีนายจ้างบอกเลิกจ้างด้วยวาจา หรือลูกจ้างลาออกด้วยวาจา จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด..?                                 

ข้อ. 25 เมื่อลูกจ้างออกจากงาน โดยไม่มีความผิด จึงมีสิทธิได้รับเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจาก การถูกเลือกจ้างที่ไม่เป็นธรรม องค์ประกอบหลักที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าเสียหาย พิจารณาจากอะไร..?                                                                               

ข้อ. 26 กรณีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวและได้เข้ารับการรักษาซึ่งมิใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเมื่อมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่น สำนักงานประกันสังคม ต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติอย่างไร..?                            

ข้อ. 27 สัญญาจ้างทำของต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาจ้างอย่างไร..ถึงจะมีผลบังคับใช้ เพราะจะมีผลต่อการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ข้อ. 28 นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตรงตามเวลา เมื่อลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนดจะต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างหรือไม่เพราะเหตุใด..?

ข้อ. 29 ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ ที่นายจ้างจ่ายให้ทุกเดือนทำไมเป็นค่าจ้าง เมื่อนายจ้างไม่อยากให้เป็นค่าจ้างต้องทำอย่างไร..?            

ข้อ. 30 กรณีลูกจ้างทำความเสียหายและไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ค้ำประกันการทำงานต้องรับผิดร่วมและต้องชดใช้ค่าความเสียหายอะไรบ้าง..?

ข้อ. 31 ทำผิดวินัยร้ายแรงจึงทำข้อตกลงให้ลูกจ้างลาออกและนายจ้างจะไม่ดำเนินคดีทางอาญาต่อมาลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยทำได้ไหม..? 

ข้อ. 32 กรณีลูกจ้างเรียกรับเงินจากลูกค้าของนายจ้าง เพื่อความสะดวกในการซื้อขายสินค้าพฤติกรรมดังกล่าวนี้ลงโทษอะไรได้บ้าง..?             

ข้อ. 33 กรณีลูกจ้างทำความเสียหาย เมื่อนายจ้างไม่เลิกจ้างจะให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายต้องทำบันทึกข้อตกลงเพื่อให้ผ่อนชำระอย่างไร..?  

ข้อ. 34 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกฎหมายให้จ่ายค่าจ้างภายใน 3 วัน กรณีไม่จ่ายโดยหักชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างทำขึ้นทำได้ไหม เพราะอะไร..?  

ข้อ. 35 ลูกจ้างเขียนข้อความด่านายจ้างลงทางสื่อ หรือทางไลน์กลุ่มว่าได้รับเงินโบนัสน้อยเกินเหตุเป็นความผิดทางวินัยลงโทษอะไรได้บ้าง..?

·     ถาม - ตอบ - แนะนำ - ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา " ฟรี " ตลอดการไม่มีค่าใช้จ่าย

·      การบรรยาย 35 ข้อนี้ มีคำพิพากษาฎีกาแจกให้ " ฟรี " ทุกข้อ  ผู้เข้าร่วมสัมมนา : นายจ้าง / ผู้บริหารงานบุคคล / บุคคล

·      ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา "ฟรี" ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย


 


สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

27 มีนาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554, 090 645 0992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 175 ครั้ง