ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าและการควบคุมสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถป้อนวัตถุดิบให้กับสายการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนด ในขณะที่คลังสินค้ามีปริมาณสินค้าวัตถุดิบในจำนวนที่เหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตซึ่งจะทำให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังต่ำอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผลดำเนินการทางธุรกิจดีขึ้น พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วและเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่อีกต่อไป รวมถึงปัญหาการดำเนินการต่างๆภายในคลังสินค้าลดลง
วัตถุประสงค์
เพื่อสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถควบคุมและเพิ่มความรวดเร็วในการการทำกิจกรรมต่าง ๆภายในคลังสินค้า
เพื่อลดต้นทุนและพื้นที่การจัดการปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมาก
เพื่อสามารถจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
เพื่อสามารถทราบข้อมูลสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเพิ่มรอบการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังได้มากขึ้น สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่คลังสินค้า
เนื้อหาของหลักสูตร
เวลา 09.00-10.30 น.
การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดพื้นที่คลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การวางผังของคลังสินค้าและการจัดการการ
ไหล -
- การวัดผลการปฏิบัติงานของคลังสินค้า
- การวัดอัตรารอบการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover Ratio)
พัก 15 นาที เวลา 10.30-10.45 น.
เวลา 10.45-12.00 น.
การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ
- การจัดการและบริหารต้นทุนสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
-Economic Order Quantity (EOQ)การสั่งซื้อที่ประหยัด
- การกำหนดค่าSafety Stockและจุดการสั่งซื้อซ้ำ (Re-order Point)ที่เหมาะสม
พัก 1 ชั่วโมง เวลา 12.00-13.00 น.
เวลา 13.00-14.30 น.
การแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังแบบ ABC
- การตรวจนับสินค้าตามรอบระยะเวลา (Cycle Count inventory)
- วิธีการตรวจนับสินค้าด้วยระบบStock Card
- การแบ่งกลุ่มสินค้าตามหลักการPareto
- การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังType A, BและC
พัก 15 นาที เวลา 14.30-14.45 น.
เวลา 14.45-16.00 น.
เครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้า
- การใช้Barcode & RFIDในการบ่งบอกสินค้า
- การใช้ระบบWMS (Warehouse Management System)
กรณีศึกษา การลดต้นทุนการดำเนินงานคลังสินค้าอย่างได้ผล
- การใช้ระบบPick faceเพื่อการหยิบสินค้า
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
หัวหน้างาน พนักงาน ผู้ที่สนใจอบรม
วิทยากร อนันต์ ดีโรจนวงศ์ ตำแหน่ง - ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้านLean Production & Logisticsกรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
- ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและLogistics & Supply Chain
Managementสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
- อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น,ม.ศรี
ปทุม,ม.ธุรกิจบัณฑิต
- ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์
โครงการOPOAIกระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557