ยืนยันจัดอบรม หลักสูตร. การจัดการคลังสินและควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ 29 มิถุนายน2566
หลักการเเละเหตุผล
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)เป็นการจัดการในการรับ การตรวจสอบและตรวจนับ การจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในส่วนขาเข้า (inbound)รวมถึง การหยิบสินค้า ตรวจสอบ และจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขายตามคำสั่งซื้อของลูกค้าในส่วนขาออก (Outbound)เป้าหมายหลักในการบริหารและดำเนินการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดระบบที่ดี มีประสิทธิภาพและคุ้มกับการลงทุน รวมถึงการควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย การป้องกันและลดการสูญเสียจากการดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่คลังสินค้า การจัดการคลังสินค้าจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในโซ่อุปทาน
การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control)สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุด โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ โดยปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและวัสดุต่าง ๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ต้นทุนสินค้าคงคลังเป็นต้นทุนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่สามารถมีสินค้าคงคลังบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อการความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้โดยสามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงด้วย
ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าและการควบคุมสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถป้อนวัตถุดิบให้กับสายการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนด ในขณะที่คลังสินค้ามีปริมาณสินค้าวัตถุดิบในจำนวนที่เหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตซึ่งจะทำให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังต่ำอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผลดำเนินการทางธุรกิจดีขึ้น พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วและเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่อีกต่อไป รวมถึงปัญหาการดำเนินการต่างๆภายในคลังสินค้าลดลง
วัตถุประสงค์
เพื่อสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถควบคุมและเพิ่มความรวดเร็วในการการทำกิจกรรมต่าง ๆภายในคลังสินค้า
เพื่อลดต้นทุนและพื้นที่การจัดการปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมาก
เพื่อสามารถจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
เพื่อสามารถทราบข้อมูลสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเพิ่มรอบการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังได้มากขึ้น สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่คลังสินค้า
เนื้อหาของหลักสูตร
เวลา09.00-10.30 น.
การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
-การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
-การจัดพื้นที่คลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การวางผังของคลังสินค้าและการจัดการการ
ไหล -
-การวัดผลการปฏิบัติงานของคลังสินค้า
-การวัดอัตรารอบการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover Ratio)
พัก15 นาที เวลา10.30-10.45 น.
เวลา10.45-12.00 น.
การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ
-การจัดการและบริหารต้นทุนสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
- Economic Order Quantity (EOQ)การสั่งซื้อที่ประหยัด
-การกำหนดค่า Safety Stockและจุดการสั่งซื้อซ้ำ (Re-order Point)ที่เหมาะสม
พัก1 ชั่วโมง เวลา12.00-13.00 น.
เวลา13.00-14.30 น.
การแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังแบบABC
-การตรวจนับสินค้าตามรอบระยะเวลา (Cycle Count inventory)
-วิธีการตรวจนับสินค้าด้วยระบบ Stock Card
-การแบ่งกลุ่มสินค้าตามหลักการ Pareto
-การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง Type A, Bและ C
พัก15 นาที เวลา14.30-14.45 น.
เวลา14.45-16.00 น.
เครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้า
-การใช้ Barcode & RFIDในการบ่งบอกสินค้า
-การใช้ระบบ WMS (Warehouse Management System)
กรณีศึกษา การลดต้นทุนการดำเนินงานคลังสินค้าอย่างได้ผล
-การใช้ระบบ Pick faceเพื่อการหยิบสินค้า
วิธีการสัมมนา การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการคลังสินค้า/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกร
ระยะเวลา 1 วัน จำนวนวันละ 6 ชั่วโมง เวลา9.00 - 16.00 น.
วิทยากร อนันต์ ดีโรจนวงศ์ ตำแหน่ง - ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้านLean Production & Logisticsกรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
-ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
-ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและ Logistics & Supply Chain
Managementสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
-อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง,สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น,ม.ศรี
ปทุม,ม.ธุรกิจบัณฑิต
-ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์
โครงการOPOAIกระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2557
คาหลักสูตรออนไลน์ รับวุฒิบัตรใบประกาศ
สามารถเรียนได้ทางคอมเเละมือถือ อยู่ที่ไหน ก้อสามารถเรียนได้ ผ่านระบบโปรเเกรมZOOM
หลักสูตรนี้มีคำตอบ ที่นี่
สนใจสมัครเพื่อรับองค์ความรู้ได้ที่ คุณกุ้ง0988209929 คุณกุ้ง
โปรโมชั่น
สมัครลงทะเบียน1 ท่าน ในราคาท่านละ2,500 บาท ไม่รวมvat 7%
สมัครเข้าอบรม4 ท่าน ชำระเพียง3 ท่าน
รูปเเบบที่2
จัดอบรม โรงเเรม สถานที่จัด โรงเเรม โนโวเทล สุขุมวิท20 ติดBTSอโศก เดินทางสดวก
รูปเเบบPublic Training
ราคา โปรโมรชั่น 3,900 บาท/วัน
ลงทะเบียน3 ท่าน ท่านละ3,200 บาท
ลงทะเบียน4 ท่านขึ้นไปท่านละ2,900 บาท
ราคาดังกล่าว ฟรี
1)เอกสารประกอบการสัมมนา (เข้าเล่ม)
2)ใบประกาศผ่านการอบรม
3)อาหารเบรก 2มื้อ อาหารกลางวันโรงแรม รับกระเป๋าผ้าสมุดปากกา หน้างาน
หลักสูตรนี้มีคำตอบ ที่นี่
สนใจสมัครเพื่อรับองค์ความรู้ได้ที่ คุณกุ้ง 0988209929 คุณกุ้ง
หลักการและเหตุผล
การส่งออกและนำเข้าสินค้าในปัจจุบันมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศและของโลก ประกอบกับการค้าวิถีใหม่NEW NORMAL เป็นการค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ผู้ปฏิบัติต้องมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจอย่างชาญฉลาด ทันสมัย ตามการค้าของโลกที่เปลี่ยนไปเร็วมาก
สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า-ส่งออก,นักธุรกิจ,ผู้ผลิต,ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ,นายหน้าหรือตัวแทนการค้า,รวมทั้งพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวและผู้สนใจทั่วไป จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของการค้ายุคใหม่ที่นำเอาระบบLogistics & Supply Chainมาบริหารจัดการให้ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้ม ค่ากับการลงทุน
วันที่ 1 โดย อาจารย์ มนตรี ยุวชาติ
1 .ความหมายของการประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- ขั้นตอนในการติดตามการทำการค้า และการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- วงจรการชำระเงิน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการชำระเงินระหว่างประเทศ
- เทคนิคในการพิจารณาผู้ซื้อ และผู้ขาย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
2. การเลือกใช้ข้อตกลงในการส่งสินค้าระหว่างประเทศInternational Commercial Terms (Incoterms®2020) ตามเกณฑ์ของ
สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce)
-Any Mode : EXW, FCA, CPT, CIP, DAP, DPU, DDP
- Water Mode: FAS, FOB, CFR, CIF.
3. รู้จักความหมายของผู้จัดทำเอกสารการค้าระหว่างประเทศ และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำเอกสารผิดพลาด
3.1 เอกสารทางการเงิน (Financial Document)
- Draft or Bills of Exchange
- Promissory Note (P/N)
3.2 เอกสารทางการขนส่ง (Transport Document)
- Bills for Lading
- Multimodal Transport Documents
- Air Waybills
- Railway Receipt
- Truck Receipt
- Courier Receipt
3.3 เอกสารการประกันภัย (Insurance Documents)
- กรมธรรม์ประกันภัย (Insurance Policy)
- ใบรับรองการประกันภัย (Insurance Certificate)
3.3 เอกสารทางการค้า (Commercial Document)
- ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice)
- ใบบรรจุหีบห่อสินค้า (Packing List)
- ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
- ใบวิเคราะห์สินค้า (Certificate of Analysis)ฯลฯ
กฎเกณฑ์ที่ควรเข้าใจก่อนการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
ข้อห้ามในการทำการค้าระหว่างประเทศกับประเทศที่มีความเสี่ยง (High Risks Countries)หรือประเทศต้องห้าม
สิ่งที่ควรทราบถึงกฎเกณฑ์ภาครัฐในการนำเข้า ส่งออกสินค้านอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของกรมศุลกากร
กรณีศึกษาการพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศที่ผิดวิธี
วันที่ 2 (บรรยายโดย อ.วิรัตน์ บาหยัน)
เนื้อหาการอบรมมีดังนี้
- การเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจส่งออกและนำเข้าในระบบโลจิสติกส์ ภายใต้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560
- หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
- ความรับผิดในการเสียค่าอากร การคำนวณค่าภาษีอากร
- อายุความในการประเมินอากรหลังการตรวจปล่อย (Post Clearance Audit)
- ความรู้ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ (Import -Export Operations)
สินค้าที่มีมาตรการนำเข้าและส่งออกตามพระราชบัญญัติ ฯ พ.ศ.2558
สินค้าต้องห้าม-ต้องกำกัด
สินค้าที่ห้ามนำผ่านและผ่านได้
สินค้าที่ต้องมีมาตรฐาน
e-Import :การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้า
หลักเกณฑ์ด้านพิกัดอัตราศุลกากร (HS Code)พิกัดอัตราศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน (AHTN)
หลักเกณฑ์ด้านราคาศุลกากรGatt Valuationในการประเมินภาษีอากรในการนำเข้า
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรว่าด้วยการเปิดเสรีทางการค้า
- การยกเว้นหรือลดอัตราอากรสำหรับเขตการค้าเสรี (FTA)
- การตรวจสอบสิทธิก่อนและหลังการนำสินค้าเข้า
- การรับรองแหล่งกำเนิดด้วยตนเอง (Self Certification)
e-Export:พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าส่งออก
การยกเว้นอากรสำหรับของส่งออกแล้วจะนำกับเข้ามาในภายหลัง (สุทธินำกลับ)
การขอคืนอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาแล้วส่งกลับออกไป (Re-Export)
การคืนอากรสำหรับของที่นำเข้ามาผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด(มาตรา 29)
การใช้สิทธิประโยชน์ของคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)เขตปลอดอากร (Free Zone)เขตประกอบการเสรี (I-EAT Free Zone)
การขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก (Tax Coupon)
ปัญหา ข้อควรระวัง และแนวทางในการแก้ไขข้อผิดพลาดการนำเข้า-ส่งออก
การรับรองป้องกันภัยจากการก่อการร้ายจากมาตรฐานเออีโอ (AEO) and (C-TPAT)
ดูเเลให้คำปรึกษาหลังอบรมฟรี สำหรับลูกค้าอบรม
วิทยากรผู้บรรยาย
ภาคแรก อาจารย์มนตรี ยุวชาติ
อดีตเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ ผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และการให้คำปรึกษาปัญหา และแนวทางแก้ไขในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีความชำนาญในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมามากกว่า 40 ปี อีกทั้งยังเป็นวิทยากรผู้บรรยายในหัวข้อการค้าระหว่างประเทศในภาครัฐ และเอกชนมามากกว่า 30 ปี
สถานที่จัดอบรม : โรงเเรม โนโวเทล สุขุมวิท20 ติดBTSอโศก
บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด (สำนักงานใหญ่)
เลขที่31/155หมู่ที่1ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12110
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: 0105557143661
ติดต่อสอบถาม
Tel :098-8209929 คุณกุ้ง
E-mail: [email protected]
Line id : @Tesstraining
Facebook : tesstrainingpage
ทาง บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทฝึกอบรมสัมมนาครบวงจร
www.tesstraining.com
Adminมายด์