พร้อมรับส่วนลดพิเศษ หลักสูตร หลักสูตร กรณีศึกษาข้อพิพาทแรงงานที่พบบ่อยและการใช้เทคนิคเพื่อป้องกัน /

7 มิถุนายน 2561

 หลักสูตร  กรณีศึกษาข้อพิพาทแรงงานที่พบบ่อยและการใช้เทคนิคเพื่อป้องกัน / ระงับ / เจรจา / ไกล่เกลี่ย / ต่อสู้คดีให้ชนะในศาล

 วันที่ 7  มิถุนายน  2561  เวลา 9.00 น. – 16.00 น.    

โรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26

วิทยากร  อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

 หลักการและเหตุผล

การประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนนายจ้างตระหนักอยู่เสมอว่า จะทำทุกวิธีทางที่จะผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้า การผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ต้องใช้การลงทุน การจ้างแรงงานจำนวนมาก การอยู่ร่วมกันของพนักงานในจำนวนมากๆ ก็มักจะหนีไม่พ้นในเรื่องทำผิดวินัยในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีการกล่าวโทษทางวินัย หรือการเกิดข้อพิพาทแรงงานต่างๆ 
           ดังนั้น ผู้บริหารในองค์กรสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ในข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


หัวข้อการอบรม

09:00-16:00 .

1. ประมวลจริยธรรมของผู้บริหารงานบุคคล

2. ข้อบังคับในการทำงานคืออะไร?

3. สภาพการจ้างคืออะไร?

4. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคืออะไร?

5. กฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างไร?

6. พนักงานปฏิบัติตนผิดข้อบังคับในการทำงานในกรณีร้ายแรง ที่จะต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับเงินค่าชดเชย มีอะไรบ้าง?

7. พนักงานปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงานซึ่งจะต้องมีการกล่าวโทษเป็นหนังสือ มีอะไรบ้าง?

8. เมื่อเกิดปัญหา มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในองค์กร จะมีวิธีหรือใช้เทคนิคอย่างไรที่จะเข้าไปไกล่เกลี่ย ให้ปัญหานั้นยุติลงได้

9. พนักงานทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จึงถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงาน ผู้แทนฝ่ายนายจ้างจะใช้เทคนิคในการเจรจาอย่างไร ไห้คดีสิ้นสุดลง โดยไม่ต้องต่อสู้คดีกัน และจากกันด้วยดี

10. การบอกเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานจะต้องแจ้งให้ทราบเมื่อไร?

11. เลิกจ้างลูกจ้างอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหามาฟ้องนายจ้างทีหลัง?

12. การดำเนินคดีในศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างเป็นโจทก์หรือจำเลย ผู้รับมอบอำนาจเข้าดำเนินการ ควรปฏิบัติตนให้อยู่ในวินัยของศาลและจะต้องศึกษาหาข้อมูล มานำเสนอศาลอย่างไร?

13. การเสนอข้อมูลในชั้นไกล่เกลี่ยของผู้ประนอมซึ่งมาจากฝ่ายลูกจ้าง / นายจ้าง / ผู้ประนอม จะนำเสนอและเปิดช่องอย่างไร ให้ผู้ประนอมไกล่เกลี่ยให้คดีจบลงได้

14. การต่อสู่คดีในชั้นศาล ต้องศึกษาหาข้อมูล เพื่อนำเสนอศาล มีอะไรบ้าง

- การหาพยานเอกสาร / มีการบันทึกอะไรบ้าง?

- การหาพยานบุคคล / ใครอยู่ในเหตุการณ์บ้าง?

- การหาพยานวัตถุ / สิ่งที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คืออะไร?

- การเขียนคำให้การ / เขียนอย่างไร?

- การแจ้งบัญชีพยาน / มีใครบ้าง?

- การสืบพยานในศาล / จะสอบอย่างไร?

- การชั่งน้ำหนักพยาน / วิเคราะห์จากอะไร?

- การแถลงปิดบัญชีพยาน / ต้องเขียนคำร้องอย่างไร?

15. การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นตันสินคดีไปแล้วจะยื่นอุทธรณ์อย่างไร

- จะยื่นอุทธรณ์ภายในกี่วัน?

- จะส่งเอกสาร เพิ่มคำให้การ ได้อีกหรือไม่?

- ในระหว่างอุทธรณ์ จะขออายัดทรัพย์สินของคู่กรณีได้หรือไม่?

- ในระหว่างอุทธรณ์ ต้องนำเงินที่ศาลตัดสินคดีมาวางศาลหรือไม่?

- ในระยะเวลาอุทธรณ์จะนานเท่าไร?

16. เมื่อศาลฎีกาตัดสินคดีไปแล้ว คู่ความไม่ปฏิบัติตาม จะต้องนำเรื่องเข้ากองบังคับคดีอย่างไร?

17. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินคดีในศาลแรงงานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง ?

ถาม ตอบ แนะนำ

วิทยากร

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

ปัจจุบัน        เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2560


สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 มิถุนายน 2561 09.00-16.00

จัดโดย

Hrdzenter
เบอร์ติดต่อ : 0896060444, 0906450992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 805 ครั้ง