การบริหารงานบุคคลเป็นตำแหน่งงานที่ดูแลกิจการของนายจ้างอย่างครบวงจร
การปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ดีและมีคุณภาพก็จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงานทั้งมีความเข้าใจกับปัญหาและมีเทคนิคในการแก้ปัญหาต่างๆ
ดังนั้นการบังคับให้พนักงานอยู่ในระเบียบวินัย ต้องอาศัยข้อกฎหมายมาเป็นกฎเกณฑ์ในการทำงาน
เมื่อมีพนักงานทำผิดข้อบังคับในการทำงาน /ประกาศ/ระเบียบ หรือคำสิ่งต่างๆ
ที่มีลักษณะทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายก็จะต้องมีความผิด
และได้รับโทษตามลักษณะของการกระทำ
วัตถุประสงค์
-เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติจริงต่อการบริหารงานให้เกิดประโยชน์ ต่อการลดค่าใช้จ่ายในองค์กรอย่างถูกวิธี และไม่กระทบสิทธิต่างๆ หรือขัดต่อ/ข้อกฎหมาย/ข้อบังคับในการทำงาน
-เพื่อให้ผู้บริหารงานบุคคล มีเทคนิคในการนำหลักไกล่เกลี่ย/ประนีประนอมปัญหา มาใช้ในการระงับข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์การ
-เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกจ้างเรียกร้องสิทธิภายหลังก่อนจะกล่าวโทษหรือเลิกจ้างสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ของลูกจ้างตามกฎหมายต้องตรวจสอบให้ลูกจ้างได้รับสิทธิต่างๆ มีอะไรบ้าง
หัวข้ออบรม
1.การดำรงตนให้อยู่ในหลักจรรยาวิชาชีพของผู้บริหารงานบุคคลที่ดีต่อปฏิบัติอย่างไง ?
2.อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารงานบุคคลที่ต้องปฏิบัติในองค์กรมีอะไรบ้าง ?
3.การเขียนระเบียบจ่ายเงินโบนัสให้ผู้ทำผิดไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มตามตกลงต้องเขียนอย่างไร ?
4.นายจ้างมีข้อบังคับในการทำงานว่าวันหยุดประจำสัปดาห์ คือวันอาทิตย์ นายจ้างต้องการเปลี่ยนให้เป็นวันอื่น และหมุนเวียนกันหยุดต้องดำเนินการอย่างไร?
5.นายจ้างต้องการจ้างพนักงานที่เกษียณงานแล้วเข้ามาทำงานต้องทำสัญญาจ้างอย่างไร ?
6.ลูกจ้างดื่นสุราแล้วเข้ามาทำงานนายจ้างจะเลิกจ้างได้หรือเลิกจ้างไม่ได้ มีกรณีใดบ้าง?
7.ลูกจ้างชกต่อยกันในเวลาทำงานนายจ้างจะเลิกจ้างได้หรือเลิกจ้างไม่ได้ มีกรณีใดบ้าง?
8.ลูกจ้างชายกระทำการล่วงเกินทางเพศลูกจ้างหญิง ด้วยวาจาซ้ำยังทำท่าทางประกอบหลายครั้ง เป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ เลิกจ้างได้หรือไม่อย่างไร ?
9.ลูกจ้างลางาน5วันเพื่อไปเยี่ยมบิดาที่ป่วยอยู่ต่างจังหวัดเมื่อลาครบจึงโทรลาต่ออีก 4วัน นายจ้างทราบแต่ไม่อนุมัติ การลาจะถือว่าลูกจ้างขาดงานเกิน3วันติดต่อกันหรือไม่เลิกจ้างได้หรือไม่ ?
10.ลูกจ้างขับรถรับ-ส่งผู้จัดการก่อนเวลา08.00น. และหลังเวลา17.00 น. มีข้อตกลงว่าไม่จ่ายค่าOTให้ ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?
11.ลูกจ้างทำผิดอาญาต่อนายจ้างจึงทำข้อตกลงว่ายินดีลาออกจากงานโดยจะไม่เรียกร้องเงินใดๆ/นายจ้างก็ยินดีไม่ดำเดินคดีทางอาญาต่อลูกจ้าง ลูกจ้างเปลี่ยนใจไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องเงินต่างๆ ทำได้หรือไม่?
12.นายจ้างออกระเบียบห้ามมิให้พนักงานเล่นคอมพิวเตอร์และเล่นโทรศัพท์ในเวลาทำงาน ลูกจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดอย่างไร?
13.หัวหน้างานชักชวนผู้ใต้บังคับบัญชาไปทานอาหารหลังเลิกงานพอตอนมืดบอกว่าขอนอนด้วยเพื่อแรกกับการเสนอชื่อให้ผ่านการทดลองงาน กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่?
14.นายจ้างมีนโยบายให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิด มีข้อเสนอให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ลูกจ้างจึงลาออกและทำบันทึกประกอบหนังสือการลาออกว่าจะไม่เรียกรับเงินใดๆ ต่อนายจ้างอีก ลูกจ้างเปลี่ยนใจไปฟ้องศาลแรงงานทำได้หรือไม่?
15.ผู้มีอำนาจบอกว่าผมเลิกจ้างคุณตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไปออกไปเลยอย่ามาให้เห็นหน้าอีก โดยไม่บอกเหตุผลใดๆ ของการเลิกจ้างโดยจ่ายค่าแรงให้เต็มเดือน/ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า/ค่าชดเชยตามกฎหมาย/ลูกจ้างจึงฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ทำได้หรือไม่?
16.ก่อนสิ้นปีผู้บริหารหรือหัวหน้างานชอบเรียกรับสิ่งของกับผู้มาติดต่องานกับนายจ้างกรณีเช่นนี้จะมีความผิดอย่างไร ?
17.สวัสดิการที่ลูกจ้างมักจะนำไปรวมเป็นค่าจ้าง ในกรณีที่ไปฟ้องศาลแรงงานมีอะไรบ้าง?
18.สวัสดิการที่ไม่เป็นค่าจ้าง มี11อย่าง อะไรบ้าง?
19.เมื่อเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย มีกรณีใดบ้าง?
20.เมื่อเลิกจ้าง ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า มี12กรณี อะไรบ้าง?
21.เมื่อเลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยมีกรณีใดบ้าง?
22.เมื่อเลิกจ้างนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมี9กรณี อะไรบ้าง?
23.ก่อนเลิกจ้าง10 ค่าที่จะต้องตรวจสอบต่อลูกจ้าง มีอะไรบ้าง?
24.เลิกจ้างไม่ออกใบผ่านงานให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?
25.เลิกจ้างไม่คืนเงินประกันการทำงานให้ตามกฎหมาย นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?
26.เลิกจ้างที่จะต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้มีกรณีใดบ้าง ?
27.เลิกจ้าง ลูกจ้างเข้าร้องทุกข์ต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เมื่อไต่สวนแล้ว สั่งให้นายจ้างจ่ายตามคำร้องนายจ้างไม่จ่าย ต้องดำเนินการอย่างไร?
28.เลิกจ้างลูกจ้างฟ้องกรรมการกองทุนสวัสดิการ/กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างและฟ้องนายจ้างด้วยทำได้หรือไม่ ?
29.กฎหมายแรงงานให้นายจ้างหักเงินค่าจ้างลูกจ้างได้ มีกรณีใดบ้าง?
30.กฎหมายแรงงานห้ามเลิกจ้างลูกจ้าง มีกรณีใดบ้าง?
31.อัพเดตกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขใหม่กำลังจะประกาศใช้ให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิต่างๆ ทั่วประเทศ มีกรณีใดบ้าง?
32.การออกหนังสือเลิกจ้างเมื่อข้อความในหนังสือเลิกจ้างไม่ระบุเหตุของการเลิกจ้างให้ชัดแจ้งจะเกิดผลเสียต่อการต่อสู้คดีในศาลอย่างไร
33.การกล่าวโทษพนักงานเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง พิจารณาจากอะไร?
34.การกระทำอันไม่เป็นธรรม คือการปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างไร?
35.การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือการเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไร?
36.คำพิพากษาฎีกา70 คดีที่ผู้บริหารงานบุคคลควรรู้มีคดีอะไรบ้าง ?
...ถาม...ตอบ...แนะนำ
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า
โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
34/289หมู่บ้านไทยสมบูรณ์
2หมู่ที่2ต.คลองสาม อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี12120
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า