การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลัก Ho-Ren-So (Ho-Ren-So)

9 มิถุนายน 2564


หลักการและเหตุผล

 

การทำงานให้ได้ผลงานเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า    การสื่อสารที่ดีถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญมากเพราะทำให้ความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่าง   ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการย่อมนำมาซึ่งความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย  อีกทั้งยังก่อให้เกิดบรรยากาศและการประสานงานที่ดีของทีมบุคคลากร  ในองค์กรอันจะนำไปสู่การมีความสามัคคีความสุขในการปฏิบัติงาน และส่งผลให้องค์กรเจริญเติบโตยิ่งๆขึ้นไป การสื่อสารที่ดีถือว่าเป็นจุดแข็งขององค์กรญี่ปุ่น ที่ทั่วโลกต่างคุ้นเคย คือHo Ren Soแต่การสื่อสารภายในองค์กรในลักษณะนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะองค์กรหรือคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่บริษัท โรงงาน และองค์กรหรือหน่วยอื่นในประเทศต่างๆสามารถนำเอาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์นี้ไปประยุกต์ใช้ได้ซึ่งได้ผลดีต่อองค์กรต่างๆที่นำไปใช้อย่างจับต้องได้

      ในแต่ละวันของการทำงาน พนักงานที่ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องบรรลุวัตถุประสงค์ของงานที่กำหนดไว้หรือไม่ งานที่ทำมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของงานอยู่มากน้อยเพียงใด ในฐานะคนที่เป็นหัวหน้างาน หรือในฐานะคนที่ทำงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันควรมีการตรวจสอบในแต่ละส่วนงานว่าสำเร็จไปได้มากน้อยเพียงใด การที่องค์กรจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีจิตสำนึกเช่นนี้ได้ จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจของการทำงานแบบHO-REN-SO เรียนรู้หลักของการใช้HO-REN-SOจะต้องเป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และดำเนินการแบบHO-REN-SOให้กับผู้บังคับชาทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข (Take action)และปรับปรุงเพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรต่อไป

 

 

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.           เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ และเข้าใจหลักการรายงาน การติดต่อ และ การปรึกษาตามหลักการHORENSO

2.           เพื่อให้ผู้เข้าอบรม รู้จักเทคนิค การสื่อสารสไตล์ญี่ปุ่น แบบHORENSO ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.           เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน แบบHORENSO 

4.           เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสาร แบบHORENSO ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.           เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เห็นความสำคัญ และตระหนักว่าการสื่อสารที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมด้วยกัน และกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกกลุ่มต่างๆ นั้นมีผลต่อความอยู่รอด และเจริญเติบโตขององค์กร

 

ลักษณะของการอบรม

 

      เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่านWork Shopและกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าDISC ModelและODที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

1.           บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shopและกิจกรรมกลุ่ม

2.           การใช้เครื่องมือ DISC ModelและOD toolsและเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น

             Ai (Appreciative Inquiry)

             Dialogueสุนทรียะสนทนา

             เกมพฤติกรรม

             Work Shop

             Clip VDOและอื่นๆ

 

  หัวข้อการอบรม

การสื่อสาร มิติที่สำคัญของการทำงานร่วมกัน

·      ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร

·      วัฒนธรรมการทำงานแบบไทย ผลดี และผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

 

หลักพื้นฐานของการสื่อสาร

·      องค์ประกอบของการสื่อสาร

·      กระบวนการสื่อสาร

·      หน้าที่ของการสื่อสาร

·      กฎเกณฑ์ในการสื่อสารที่ดี

·      องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล

·      อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างบุคคล

·      ขั้นตอนการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล

·      ทักษะสำคัญของการสื่อสารที่สำคัญเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

 

วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น :HORENSO

·      HORENSOคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

·      HORENSOเน้นการสื่อสารแนวนอน และล่างขึ้นบน

·      HORENSOประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสาหลักHO-REN-SO

 

การประยุกต์การบริหารการสื่อสารแบบ HO-REN-SO

·      หลักการทำงานแบบ โฮ (HO)เรน (REN)โซ (SOU)

·      HO- การรายงาน คือหน้าที่เป็นอย่างไร

o   การรายงาน (HO)ในส่วนของลูกน้อง

o   ลูกน้องควรมีการเตรียมข้อมูลก่อนการส่งสารหรือข้อมูลไปยังส่วนหัวหน้า

·      เทคนิคในการสรุปรายงาน / ลักษณะการรายงานที่ดี

o   วิธีการรายงานไปยังฝ่ายหัวหน้า

o   การรายงาน (HO)ในส่วนหัวหน้างานที่เป็นผู้รับรายงาน

·      REN- การประสานงาน คือการใส่ใจอย่างไร

o   การติดต่อสื่อสาร ประสานงาน กับบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

o   รายงานความคืบหน้าของงานต่อหัวหน้า

o   วิธีการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน ทําได้โดยรายงานความคืบหน้า ทันทีที่ได้รับข้อมูลใหม่และในกรณีที่เป็นเรื่องสําคัญ

·      การติดต่อประสานงาน (REN)ในส่วนของลูกน้อง

·      การติดต่อประสานงาน (REN)ในส่วนหัวหน้างาน

·      สรุปหลักการ และวิธีการติดต่อ-ประสานงาน

o   การทำงานแบบประสานงานร่วมกันหลายฝ่าย

·      ศิลปะในการติดต่อ-ประสานงาน

·      SO- การปรึกษา เพื่อแก้ไขเป็นอย่างไร

·      วิธีและขึ้นตอนการปรึกษาหารือ

o   การปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น 

o   การระดมสมองของทีม 

o   กระบวนการปรึกษาที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง

o    

·      เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการปรึกษาหารือ เพื่อแก้ไขปัญหา

o   Correctiveเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอย่างถูกต้อง

o   Preventiveเพื่อการป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหา

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.             ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ และเข้าใจหลักการรายงาน การติดต่อ และ การปรึกษาตามหลักการHORENSO

2.             ผู้เข้าอบรม รู้จักเทคนิค การสื่อสารสไตล์ญี่ปุ่น แบบHORENSO ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.             ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน แบบHORENSO 

4.             ผู้เข้าอบรม สามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสาร แบบHORENSO ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.             ผู้เข้าอบรม ได้เห็นความสำคัญ และตระหนักว่าการสื่อสารที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมด้วยกัน และกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกกลุ่มต่างๆ นั้นมีผลต่อความอยู่รอด และเจริญเติบโตขององค์กร

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้บริหาร,ผู้จัดการ, หัวหน้างาน,พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม,เดี่ยว/ ทำแบบAssessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30%

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop    70%


วิทยากร


วิทยากร :อาจารย์อนุภาพ พันชำนาญ



สถานที่อบรม (VENUE)

ออนไลน์

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

9 มิถุนายน 2564 09.00-16.00

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 2942 ครั้ง