หลักการและเหตุผล
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
การบริหารงานแบบทุกคนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางการบริหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นแบบอย่างเฉพ่ะของแต่ละองค์กร ซึ่งต้องดึงศักยภาพของบุคลากรออกมาให้ได้มากที่สุด ผ่านประสบการณ์ในการทำงาน การระดมสมอง การทำงานเป็นทีม และมีสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการรับการแสดงความสามารถของบุคคลากรเหล่านั้นด้วย ซึ่งแนวทางนี้ ทุกคนจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง (Autonomous) คนไทยเองก็มีศักยภาพ ในการแก้ปัญหาได้ดี แต่มักชอบแก้ปัญหาที่อาการหรือปลายเหตุมากกว่าแก้ที่สาเหตุรากเหง้า ดูได้จากปัญหาต่างๆ ที่แก้ไปแล้วจะกลับมาเกิดซ้ำอีก นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่มีวิชาที่สอนเรื่องนี้โดยตรง หรืออาจไม่ค่อยมีเวลาค้นหาสาเหตุ เพราะต้องการผลที่รวดเร็ว หลักสูตรนี้ จะช่วยให้ท่านเข้าถึงขั้นตอนและเทคนิคในการแก้ปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นรากเหง้าสมกับเป็นนักแก้ปัญหา มืออาชีพต่อไป ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์(สิ่งที่ต้องการ)กับวิธีการ(วิธีที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ) วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่ายๆ ได้อย่างไรและสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น
1. เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการทำงานอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
6. เพื่อเข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคในการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า
7. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
8. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
หัวข้อการอบรม (เวลา09.00 - 16.00 น.)
- หลักการของระบบการผลิตและงานบริการ
- ปัญหาของการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและต้นทุนในองค์กร
-ความสำคัญของการส่งงานให้กับ"ลูกค้าภายใน"และ"ลูกค้าภายนอก"
- แนวคิดการแก้ปัญหาและลักษณะของปัญหา
-
หลักการและความหมายของ"คุณภาพ"และ"จิตสำนึกคุณภาพ" ของคนที่ผลิตงาน
-การสำรวจสภาพปัจจุบันของปัญหาด้วยหลัก 5 Gen.
-
เทคนิคการหาสาเหตุรากเหง้าด้วย 5 whyและปัจจัย4Mในการทำงาน
-เทคนิคการประยุกต์ใช้ why-why และแผนภูมิก้างปลา
-การตัดสินใจแก้ไขปัญหาและป้องกัน
-ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ในการแก้ไขปัญหา
-เทคนิคการระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาในหน่วยงาน
- วงจรการแก้ไขปัญหาที่หน้างานด้วยหลักการ 8Ds และPDCA
-ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
Work shop: "เราเป็นใคร"เพื่อให้ตระหนักรู้ในการทำงานเป็นทีมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา
Work shop: "ทำงานให้ไวและได้คุณภาพผ่านการทำงานเป็นทีม"
Work shop: "การทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอย่างเป็นระบบ"
กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 50%
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม40%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการ ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีความรู้กับการลดปัญหาในการทำงานภายในองค์กรมากขึ้น
วิทยากร :อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์