หลักการและเหตุผล
การแก้ไขปัญหาจากกระบวนการทำงานต่างๆเพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไป เป็นทักษะของบุคลากรที่มีความรับผิดชอบโดยตรงจะต้องมีทักษะในการค้นหาอาการหรือหาสาเหตุของรากเหง้าของปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุแล้วดำเนินการแก้ไขด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว โดยต้องอาศัยเครื่องมือที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยใช้5 Gen (Genba , Genbutsu , Genjitsu , Genri ,Gensoku)รวมทั้งการใช้เครื่องมือ 5Why Analysisร่วมกันเพื่อพิจารณาและประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ปัญหาของงานอยู่ภายใต้การบริหารและควบคุมการผลิตได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ (Objective)
1. เพื่อให้กลุ่มผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักของแนวคิดพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเพื่อให้งานนั้นมีคุณภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุนในการผลิต แต่ไม่ลดคุณภาพของงาน
3. เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ 5ส แต่ละตัวนำประยุกต์ในหน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)
· พนักงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
1) ทำไมจะต้องมีวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และอาการงานด้านคุณภาพ ?
2) ความหมายด้านคุณภาพ และมาตรฐานการทำงานคืออะไร
3) Workshop 1กิจกรรมงานคุณภาพ และสร้างความอยู่รอดขององค์กร
4) ของเสีย 7 ประการที่ทำให้เกิดงานนั้นเกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
5) เครื่องมือ 7Toolsที่ควรรู้จัก
6) การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง(Root Cause Analysis)
7) เป้าหมายของเทคนิค 3Gen (Corrective Action Process)
i. Genba :สถานที่จริง
ii. Genbutsu :ของจริง
iii. Genchi :สถานการณ์จริง
8) การเพิ่มประสิทธิภาพ3 Genด้วย2 Genที่เหลือ
i. Genri :หลักการ/ทฤษฎี
ii. Gensoku :ระเบียนกฎเกณฑ์
9) Workshop2 กิจกรรมการใช้หลักการ5 Gen
10) หลักการเครื่องมือ5 Why Analysis
11) การประยุกต์ใช้เครื่องมือ5 Genกับ5 Why Analysis
12) Workshop2 กิจกรรม การหาสาเหตุของปัญหาโดยใช้ เครื่องมือ5 Genกับ5 Why Analysis
13) การพิจารณาและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาตามหลัก PDCA Model
14) Workshop3 กิจกรรมการคิดและแก้ไขปัญหาเชิงระบบด้วยทีมประสิทธิภาพ
15) การติดตามประเมินผลโดยใช้Balance Score Card & KPIsเป็นตัวชี้วัดจุดความสำเร็จของงาน
16) Workshop4 กิจกรรมการวัดผล กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
17) ถาม-ตอบ สรุปการเรียนรู้
รูปแบบการเรียนรู้
· การบรรยาย การสาธิต กิจกรรมการเรียนรู้ และ การอภิปรายกลุ่ม
วิทยากร อาจารย์พลกฤต โสลาพากุล