การบริหารจัดการด้วยระบบลีน Lean Manufacturing System

21 กันยายน 2567


หลักการและแหตุผล

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของลูกค้า และวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลงส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อรองรับสภาพดังกล่าว สิ่งที่บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการก็คือการปรับองค์กรโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้า ความไม่แน่นอนของกระบวนการผลิต และความไม่แน่นอนของเวลาในการจัดส่งชิ้นส่วนของผู้จัดส่ง ด้วยเหตุนี้การนำเอาระบบการผลิตแบบลีนซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงานตั้งแต่การออกแบบ การจัดส่งวัตถุดิบชิ้นส่วนโดยผู้จัดส่ง การบริหารพัสดุคงคลัง การผลิต จนกระทั่งการจัดจำหน่ายสินค้า และบริการให้แก่ลูกค้ามาประยุกต์ใช้ด้วยการวิเคราะห์คุณค่าของกระบวนการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาได้เข้าใจถึงหลักการและแนวคิดของระบบการผลิตแบบลีน และการจัดการLean Manufacturing System and Managementและสามารถประยุกต์ใช้เทคนิค/เครื่องมือลีน รวมถึงการออกแบบกระบวนการทีดีตั้งแต่ครั้งแรก

2. Lean Manufacturing System and Management 7+1 Wastes)

 

หัวข้อการอบรม

Module 1: Value Added & Non Value Added Work

  • แนะนำเนื้อหาในหลักสูตร
  • นิยามและหลักการ 5 ประการของLean
  • การจำแนกประเภทกิจกรรมตามแนวคิด Lean
  • คุณค่า (Values)
  • ความสูญเปล่า (Wastes)
  • แนวคิดเพิ่มเติมและผลการปรับปรุงตามแนวทางของ Lean

Module 2: Value Stream Mapping (VSM)

Module 2 Part 1:แนวคิดพื้นฐานของVSM

  • แนวคิดพื้นฐานในการปรับปรุงองค์กร
  • Value Stream Mapping (VSM)
  • การแบ่งระดับและภาพรวมในการใช้ VSM
  • การกำหนดตัวชี้วัดผลของ Lean (Lean Metrics)

Module 2 Part 2: Current State VSM

  • ขั้นตอนการจัดทำ Current State VSM
  • การจัดกลุ่มแผนภาพกระแสคุณค่า
  • การรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องและการลงสำรวจพื้นที่
  • การตรวจสอบและทำความเข้าใจข้อมูลที่รวบรวมมา
  • การระบุลำดับการจัดเรียงของกระบวนการ
  • การวาดเส้นทางการไหลของชิ้นงาน
  • การวาดเส้นทางการไหลของสารสนเทศ
  • การบันทึกรายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ภายในกระบวนการ
  • สรุปและวิเคราะห์ภาพรวมและตัวอย่างการระบุจุดปรับปรุงของ VSM

Module 2 Part 3: Future State VSM

  • หลักการปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอนการจัดทำFuture State-VSMและสัญลักษณ์ต่างๆของVSM
  • ความหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ของVSM
  • คัมบัง (Kanban)
  • การปรับเรียบการผลิต (Heijunka - Load Leveling)
  • ตัวอย่าง Future State VSM

Module 3: Lean Toolbox

  • Part 1: How to Improve the Lean process
  • Part 2: Stability - Workplace Management
  • Part 3: Stability - Machine Management
  • Part 4: Stability - Quality Management
  • Part 5: Stability - Production Management
  • Part 6: Standardization
  • Part 7: Simplification
  • Part 8: Roadmap to Lean

** หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

 

ระยะเวลาในการฝึกอบรม      ระยะเวลาในการฝึกอบรม  1วัน

ผู้ควรได้รับการฝึกอบรม

 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ  หัวหน้างานLine Leaderพนักงานของบริษัทและผู้สนใจทั่วไป



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

21 กันยายน 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 52 ครั้ง