การบริหารการเงินและงบประมาณ สำหรับผู้บริหาร

27 มิถุนายน 2562

Finance and Budgeting for Manager

การบริหารการเงินและงบประมาณ สำหรับผู้บริหาร(27 มิ.ย. 62 )



   การบริหารการเงิน และงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นหัวใจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นในองค์กร จริงอยู่ว่าในองค์กรมีผู้บริหารที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการเงินและงบประมาณเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่การตั้งงบประมาณของผู้บริหารในแต่ละฝ่าย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้งบประมาณในแต่ละปีของฝ่ายที่ตนเองรับผิดชอบได้
   ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องตระหนักถึงการตั้งงบประมาณให้ถูกต้อง และเหมาะสม การตั้งงบประมาณที่ดี คือ การวางแผนทางการเงินอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้หน่วยงานของตนสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างบรรลุเป้าหมาย แต่ละฝ่ายต้องคาดคะเนรายได้ที่เข้ามา และคาดคะเนรายจ่ายรวมถึงต้นทุนต่างๆ ที่ใช้ไป เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจตั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆที่เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพต่อหน่วยงานมากที่สุด
   หลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียน ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กรสามารถมีหลักในการวางแผนเพื่อกำหนดงบประมาณประจำปีของฝ่ายตนเองได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการบริหารเงินในโครงการลงทุนต่างๆ ประเมินโครงการลงทุนว่ามีความคุ้มค่าทางการเงินมากน้อยเพียงไร สามารถดำเนินโครงการต่อได้หรือไม่ และสามารถบริหารรายรับ รายจ่าย กำไร ต้นทุนของฝ่ายตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ




Key Contents

1. ลักษณะและรูปแบบของงบประมาณ
    • ความหมาย วัตถุประสงค์ของการตั้งงบประมาณ
    • เข้าใจรูปแบบของงบประมาณต่างๆ อันได้แก่ งบประมาณฐานศูนย์ งบประมาณส่วนเพิ่ม งบประมาณตามงวดระยะเวลาและงบประมาณต่อเนื่อง งบประมาณตามกิจกรรม งบประมาณคงที่ และงบประมาณยืดหยุ่น ตามจุดประสงค์ของผู้จัดทำงบประมาณ ผ่านกรณีศึกษา
    • เข้าใจถึงรูปแบบการจัดทำงบประมาณระยะยาว และงบประมาณระยะสั้น เพื่อใช้จัดทำงบประมาณในฝ่ายตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ
2. การจัดทำงบประมาณดำเนินงาน
    • เข้าใจถึงงบประมาณดำเนินงาน ที่ใช้ในคาดการณ์ข้อมูลกำไร ขาดทุนล่วงหน้า ผ่านกรณีศึกษา และ Workshop จริง โดยพิจารณาถึง ยอดขาย กำไร ต้นทุนต่างๆ ประกอบไปด้วย
      - งบประมาณการขาย
      - งบประมาณการผลิต
      - งบประมาณวัตถุดิบทางตรง และแรงงานทางตรง
      - งบประมาณค่าโสหุ้ยการผลิต
      - งบประมาณต้นทุนสินค้าขาย
      - งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
      - งบประมาณประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
    • นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาจัดทำเป็นงบประมาณกำไรขาดทุนของฝ่ายตนเอง หรือบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดทำงบประมาณการเงิน
    • เข้าใจถึง การประมาณการงบประมาณการเงิน อันได้แก่งบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกระแสเงินสดผ่านกรณีศึกษา และ Workshop จริง โดยประกอบไปด้วย
      - งบประมาณจ่ายลงทุน
      - งบประมาณเงินสด
      - งบแสดงฐานะทางการเงินโดยประมาณการ
      - งบกระแสเงินสดโดยประมาณ
4. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน โดยนำเอางบกระแสเงินสดโดยประมาณ มาดำเนินการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการต่างๆ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ผ่าน Workshop ให้สามารถวิเคราะห์และนำเสนอได้จริง
    • อธิบายหลักในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในด้านการเงิน ที่สามารถนำไปใช้ประมาณการเพื่อตัดสินใจในโครงการการเงินได้จริง อันประกอบไปด้วย NPV, IRR และ Payback Period
    • Workshop เพื่อฝึกให้สามารถตัดสินใจโครงการทางการเงินได้ ผ่าน Application ใน Smart Phone (Application สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี และสามารถนำไปใช้งานเพื่อวิเคราะห์ได้)



Key Benefits

1. เพื่อให้ความรู้ ทักษะ สำคัญของผู้บริหาร ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์และการตัดสินใจ
2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทีม บริหารงานและการสร้างคนเก่ง (Develop Talent)
3. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เพื่อการจูงใจและพัฒนาทีมงาน
4.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนงาน การควบคุม และติดตามงาน


คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

ผู้บริหารและนักบริหารด้านการเงิน และงบประมาณ

วิทยากร

ดร.ภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ

- ผู้เชี่ยวชาญ ในคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงิน การธนาคาร สถาบันการเงินและการตลาด ทุน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

- ที่ปรึกษาให้กับองค์กรชั้นนำต่างๆ อาชิเช่น บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น, บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด, บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

- วิทยากรที่ปรึกษาศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด (รัชดาภิเษก)

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

27 มิถุนายน 2562 09.00 - 16.00 น.

จัดโดย

ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic)
เบอร์ติดต่อ : 02-5592146-7, 085-4858825

ค่าธรรมเนียม (FEE)

6,800 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 2142 ครั้ง