หลักสูตรดังกล่าวนี้จะไขปริศนา นำท่านเข้าสู่การบริหารจัดการ
Outsourcingที่จะทำให้เกิดความปลอดภัย
ลดความเสี่ยงได้ ทั้งในส่วนของกฎหมายคุ้มครองแรงงานและในส่วนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในลักษณะผสมผสานแบบ 2 in 1 ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีOutsourceที่เป็นที่สุดและเป็นต้นแบบแรกที่นายจ้างผู้ประกอบการชนะคดีมาแล้วนั้นมาจากอาจารย์กฤษฎ์
อุทัยรัตน์ เป็นผู้บริหารจัดการคดี เป็นผู้วางรูปแบบการOutsourceมาแต่ต้น จึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรง
ๆ จากฅนที่รู้ปัญหาและคลุกวงใน ในแวดวงการจ้างOutsourceแบบรับเหมาค่าแรงงานรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน
หากสถานประกอบกิจการใดมีการ Outsourceคนมาทำงานให้ ต้องไม่พลาดหลักสูตรนี้ เพราะได้ตกผลึกความคิด ข้อปฏิบัติและมีคำพิพากษาฎีกาวางบรรทัดฐานเรียบร้อยแล้ว เหมาะที่จะนำมาเชื่อมต่อกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรไทยพร้อมกันทุกสถานประกอบการเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2565
Learn More Topics (9.00-16.00น.) · ความหมายของ การจ้างเหมางาน แบบ Outsourcingในแบบฉบับสากล และ แบบฉบับของกฎหมายไทย
· ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของการจ้างเหมาที่เกี่ยวข้อง และการเปรียบเทียบ · ระเบียบ แนวปฏิบัติ เทคนิค และ วิธีการจ้างเหมางาน แบบ Outsourcingที่รัดกุม (เรียนรู้ทั้งที่ทำถูกต้อง และไม่ถูกต้อง ผ่านแนวทางชี้ถูกชี้ผิด ที่ชัดเจน) · ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างเหมางานแบบ Outsourcingรวมทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อนำไปประยุกต์ ปรับใช้ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง หรือ ดำเนินการลดความเสี่ยงจากการถูกวินิจฉัยให้ต้องรับผิดทางแพ่งและทางอาญา โดยไม่จำเป็น · ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร มีกี่ประเภท แบบใดของลูกจ้างผู้รับจ้างและบุคคลที่ผู้รับจ้างส่งเข้ามาปฏิบัติงานกับผู้ว่าจ้าง กรณีใดต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล · การเลือกใช้ฐานกฎหมายทั้ง 7 ฐาน (7 Lawful Basis) ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีแนวทางในการเลือกใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับการ Outsource · สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีและที่ถูกปฏิเสธได้ · ความสัมพันธ์ระหว่างData Controller , Data Processor , Data Subjectใครเป็นใคร ต้องมีแบบฟอร์มหรือลายลักษณ์อักษรหรือไม่ · การนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างผู้รับจ้างและบุคคลที่ผู้รับจ้างส่งเข้ามาปฏิบัติงานกับผู้ว่าจ้างไปเก็บ รวบรวม ใช้และเปิดเผยทำอย่างไร กฎหมายต้องขอความยินยอมเสมอไปหรือไม่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ · อะไรคือการประมวลผลแล้วมีผลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีใดไม่มีผลกระทบ และรูปแบบการประมวลผล · การทำให้สัญญาจ้างเหมาบริการแรงงานที่ถูกตีความว่าลูกจ้างผู้รับเหมาเป็นลูกจ้างของผู้ว่าจ้าง เปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างเหมาแบบจ้างทำของได้อย่างไร · เทคนิคไม่ให้ตีความว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมาเป็นอย่างไร การตีขอบเขตกระบวนการทางธุรกิจ(Business Process Chart : BPC)ทำอย่างไร ให้รัดกุม รอบคอบ แล้วยังสามารถนำไปจ้างเหมาหรือจ้างช่วงในการจ้างทำของได้อย่างแยบยล · กรณีถูกตีความว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา จะต้องรับผิดชอบมากมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของผู้ว่าจ้างที่ให้กับลูกจ้างของตนเอง ข้อสำคัญก็ต้องให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าวนั้น กับลูกจ้างของผู้รับเหมาด้วย โดยเท่าเทียมกัน เสมือนผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา จะมีวิธีการอย่างไรเชิงป้องกัน หรือ หากเกิดขึ้นแล้ว จะแก้ไขได้อย่างไร เพื่อลดผลกระทบที่ตามมาให้น้อยที่สุด · แบบและตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาที่สำคัญ ที่นิยมใช้กัน และข้อพิจารณาสำคัญให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (รวบรวมจากมาตรฐานทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำมาวิเคราะห์ เจาะลึกในการสัมมนา) · การวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของรายละเอียดในสัญญาจ้างเหมาแต่ละลักษณะตามตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาที่สำคัญ · การบริหารจัดการ Outsourceคนงาน ลูกจ้างต่างด้าว · บทลงโทษหากผู้ประกอบการที่เป็นผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างได้กระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล · วงจรชีวิตข้อมูลส่วนบุคคลและการกำจัดทำลาย · ตัวอย่างจริงและกรณีศึกษาสำคัญ · วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เกี่ยวกับการจ้างเหมางานที่เกี่ยวข้อง |
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ผู้บริหาร HRM ผู้จัดการ หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ ทุกสายงานการบังคับบัญชาที่มีการจ้างเหมาทุกประเภท รวมถึงจ้างเหมาโดยนำบุคคลมาทำงานให้ในกิจการ ธุรกิจของผู้ประกอบการและไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวก็ตาม และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านบริห
วิทยากร
คุณกฤษฎ์ อุทัยรัตน์ · นักวิทย์ศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการอันดับ 1 ในประเทศไทย ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงานเมื่อคดีถึงที่สุด · ที่ปรึกษาการบริหารธุรกิจ บริหารคุณภาพ ระบบบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกฎหมาย · ประธานกรรมการบริหารKriszd Quality Innovation InstituteและSCENARIO TECHNOLOGY CO.,LTD. • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง บริษัท กฤษฎ์ ดี วี จำกัด,สถาบันพัฒนานวตกรรม คุณภาพและการบริหารจัดการ และ บริษัท ซีนาริโอ เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด • sCEO (Senior Chief of Executive Officer) - Kriszd D.V. Corporation Limited, KQIG CEO-KQIG "Kriszd Quality Innovation Development Institute" and Scenario technology Corporation Limited • วิทยากรประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ หลักสูตร ผู้บริหารหัวหน้าศาลในศาล ชั้นต้น กระทรวงยุติธรรม • อนุกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงานระดับชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กระทรวงแรงงาน • ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาแรงงาน วิเคราะห์กฎหมายแรงงาน วิเคราะห์การปฏิบัติ ตามนโยบายและกฎหมาย และเป็นผู้ค้นคว้า ศึกษาแนวทางของศาลฎีกาแผนกคดี แรงงานและที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงคดีมากกว่า 90,000 คดี • ผู้เชี่ยวชาญการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริหารธุรกิจ ระบบบริหารคุณภาพ ประสบการณ์ : -ผู้บริหารระดับ CEOsบริษัทจำกัดมหาชนหลายแห่ง -ผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานกลาง กระทรวงยุติธรรม -กรรมการบริหารสายแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
|