วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจหลักการปรับปรุงงานแบบVA/VE
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายแนวขั้นตอนการทำ VA/VEได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ VA/VEในการทำงานของพนักงานในองค์กร
หัวข้อการอบรม
1. ประวัติและความเป็นมาของVE/VA กับการลดต้นทุนโดยกิจกรรมCost DownและCost Reductionต่างกับVE/VAอย่างไร
2. การทำBenchmarking กับการทำTear Downต่างกัน อย่างไร และมีประโยชน์กับการทำVE/VAอย่างไร
3. แก่นแท้ของการทำVE/VA ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ท้าทายและนำไปสู่Maximize Valueคือการใช้สมการ ความสัมพันธ์ของ (V = F/C )
4. เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม VE/VA
5. ขั้นตอนที่สำคัญ7 ขั้นตอนในการดำเนินการกิจกรรมVE/VA
6. ขั้นตอนที่เป็นแก่นแท้สำคัญ 2ขั้นตอนในการทำกิจกรรมVEคือ ขั้นตอนที่3การวิเคราะห์หน้าที่ "Function"ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ คำนาม + คำกริยา กับขั้นตอนที่4การจัดทำแผนงานการปรับปรุง "Kaizen"ของผลิตภัณฑ์
7. คุณค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ VE/VAในแต่ละช่วงเวลาของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
8. ความเชื่อมโยงของโครงสร้างต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับแผนผังของระดับหน้าที่ "Function"ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย
9. Work Shop1 การให้คำนิยามหน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์และวิธีการเขียนแผนผังของ ระดับหน้าที่ "Function"ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย (ขั้นตอนที่3)
10. Work Shop2 ฝึกการใช้ตารางความสัมพันธ์ของหน้าที่"Function"กับต้นทุน พร้อมทั้งกำหนด หน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่3)
11. Work Shop3 ฝึกการจัดทำแผนการปรับปรุงKaizenของหน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์ที่จะทำกิจกรรมKaizen (ขั้นตอนที่4)
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
อบรม 1 วัน จำนวน 6 ชม.
ผู้ที่ควรได้รับการฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างานLine Leaderพนักงานของบริษัทและผู้สนใจทั่วไป