การจัดการด้านการวิเคราะห์คุณค่า VE/VA Value Analysis and Value Engineering Management

17 ตุลาคม 2567


 หลักการและเหตุผล

 

ในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น องค์กรสวนใหญ่ได้พัฒนาระบบคุณภาพให้สมํ่าเสมอและมีความต่อเนื่องเป็นเรื่องปกติ แต่ความท้าทายอย่างยิ่งคือการพยายามเพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยให้ต้นทุนตํ่ากว่าคู่แข่ง การเลือกเทคนิคเพิ่มคุณค่าที่มีความหลายหลาย เพื่อนําไปสร้างสรรค์ขึ้นใหม่หรือปรับปรุงงานเดิมตามความเหมาะสมให้สามารถทํางานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นคนในองค์กรจําเป็นต้องมีความรู้หลักการบริหารการจัดการคุณค่า ( Value Management ; VM)อาทิเช่น คุณค่าการทํางาน (Value Functional) ด้วยการแจกแจงหน้าที่และระบุความรับผิดชอบที่เหมาะสมและสามารถลดความสูญเสยในขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ ทั้งยังช่วยลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรหรือต้นทุนให้ใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด และยังสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอีกด้วยดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบในด้านการวิเคราะห์คุณค่า (Value AnalysisและValue Engineering : VA-VE)เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึกของผลิตภัณฑ์หรือการบริการ จึงถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งและถือเป็นเคล็ดลับองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะนําไปสู่ความสำเร็จขององค์กร และจะนํามาซึ่งการลดต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจหลักการปรับปรุงงานแบบVA/VE

2.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายแนวขั้นตอนการทำ VA/VEได้อย่างถูกต้อง

3.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ VA/VEในการทำงานของพนักงานในองค์กร

 

 

หัวข้อการอบรม

1.       ประวัติและความเป็นมาของVE/VA กับการลดต้นทุนโดยกิจกรรมCost DownและCost Reductionต่างกับVE/VAอย่างไร

2.       การทำBenchmarking กับการทำTear Downต่างกัน อย่างไร และมีประโยชน์กับการทำVE/VAอย่างไร

3.       แก่นแท้ของการทำVE/VA ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ท้าทายและนำไปสู่Maximize Valueคือการใช้สมการ ความสัมพันธ์ของ (V = F/C )

4.       เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม VE/VA

5.       ขั้นตอนที่สำคัญ7 ขั้นตอนในการดำเนินการกิจกรรมVE/VA

6.       ขั้นตอนที่เป็นแก่นแท้สำคัญ 2ขั้นตอนในการทำกิจกรรมVEคือ ขั้นตอนที่3การวิเคราะห์หน้าที่ "Function"ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ คำนาม + คำกริยา กับขั้นตอนที่4การจัดทำแผนงานการปรับปรุง "Kaizen"ของผลิตภัณฑ์

7.       คุณค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ VE/VAในแต่ละช่วงเวลาของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

8.       ความเชื่อมโยงของโครงสร้างต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับแผนผังของระดับหน้าที่ "Function"ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย

9.       Work Shop1 การให้คำนิยามหน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์และวิธีการเขียนแผนผังของ ระดับหน้าที่ "Function"ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย (ขั้นตอนที่3)

10.   Work Shop2 ฝึกการใช้ตารางความสัมพันธ์ของหน้าที่"Function"กับต้นทุน พร้อมทั้งกำหนด หน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่3)

11.   Work Shop3 ฝึกการจัดทำแผนการปรับปรุงKaizenของหน้าที่"Function"ของผลิตภัณฑ์ที่จะทำกิจกรรมKaizen (ขั้นตอนที่4)

 

ระยะเวลาในการฝึกอบรม 

อบรม 1 วัน จำนวน 6 ชม.

 

ผู้ที่ควรได้รับการฝึกอบรม

 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างานLine Leaderพนักงานของบริษัทและผู้สนใจทั่วไป

 

 



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

17 ตุลาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 59 ครั้ง