หลักการและเหตุผล
การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control)สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุดอย่างเหมาะสมโดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ โดยปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนและวัสดุต่าง ๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ต้นทุนสินค้าคงคลังเป็นต้นทุนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่สามารถมีสินค้าคงคลังบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อการความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้โดยสามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงได้อีกด้วย
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การตรวจสอบ การจัดเก็บในส่วนของกิจกรรมขาเข้า และการหยิบสินค้า บรรจุสินค้า และจัดส่งสินค้าสำหรับกิจกรรมขาออก ให้ผู้รับเพื่อกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ให้คุ้มค่าต่อการลงทุน และให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำอย่างเหมาะสม รวมถึงการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่คลังสินค้า เพื่อให้สามารถรองรับการเป็นคลังสินค้าในยุคใหม่ ด้วยปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น รวมถึงการลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานคลังสินค้า
โดยในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคLogistics 4.0การใช้นวัตกรรมการสื่อสารและควบคุมแบบไร้สายความเร็วสูงในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things)เพื่อเพิ่มคุณค่าการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าและการใช้โปรแกรม AI (Artificial Intelligence)เพื่อการพัฒนาก้าวไปสู่คลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Factor or Warehouse) เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข็งขันได้อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านคลังสินค้า เช่น การลดระยเวลาการรับสินค้า การตรวจสอบสินค้าได้อย่างถูกต้อง การจัดเก็บสินค้าได้อย่างรวดเร็ว การหยิบสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การบรรจุสินค้าและการนำส่งสินค้าได้ตามกำหนด ด้วยหลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และลดความสูญเปล่าในการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าอย่างได้ผล
2. ลดต้นทุนการดำเนินงานด้านคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสม ลดการสูญเสียโอกาสทางการตลาด และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
3. รู้จักการประยุกต์นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในยุค 4.0 มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านคลังสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้อย่างแท้จริง
4. ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังให้เหมาะสม รวมถึงการเติมเต็มสินค้าได้ทันก่อนที่สินค้าจะหมด โดยยังสามารถให้บริการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทันต่อเวลา
เนื้อหาของหลักสูตร
1. ความหมายของการจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง วัตถุประสงค์ คุณค่า และประโยชน์ของการดำเนินงาน
2. การจัดพื้นที่และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
3. บทบาทหน้าที่ของการจัดการคลังสินค้ายุคใหม่
4. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงานคลังสินค้า
5. การเพิ่มรอบการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง(Inventory Turnover)
6. การประยุกต์ใช้JITและระบบ ABC ในการลดปริมาณสินค้าคงคลัง
7. การจัดการและบริหารต้นทุนสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ระบบEOQ (Economic Order Quantity)และการหาจุดสั่งซื้อซ้ำ(Re-order Point)
9. การกำหนดปริมาณสินค้าเผื่อฉุกเฉิน(Safety Stock)
10. เทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้าในแบบDigital Platform 4.0
11. นวัตกรรมAIและIoTเพื่อการจัดการคลังสินค้า
วิธีการสัมมนา การบรรยาย การให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการคลังสินค้า/ ผู้บริหารระดับสูงและกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา 1 วัน จำนวน 6 ชั่วโมง เวลา 9.00- 16.00 น.